การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้แกนตั้งฉาก 2 แกน มีแกนตั้ง แทนปริมาตรของข้อมูลในแต่ละประเภท ชนิด หรือกลุ่ม และแกนนอนแทนรายการที่จะนำเสนอ ใช้จุดตัดที่อยู่ระหว่างแนวเส้นที่ลากจากแกนตั้งและแกนนอนเป็นจุดแสดงข้อมูล
วิธีการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้น
กำหนดแกนที่ตั้งฉากกัน 1 คู่ โดยกำหนดให้แกนนอนแทนรายการที่จะนำเสนอ และแกนตั้งแทนปริมาณของข้อมูล โดยกำหนดมาตราส่วนแทนปริมาณของข้อมูลตามความเหมาะสม
- ระบุชื่อกราฟไว้ด้านบนและแหล่งที่มาไว้ด้านล่างของกราฟ
- หาจุดตัดของแนวตั้งฉากที่ลากจากแกนนอนซึ่งแทนรายการที่จะนำเสนอ และแกนตั้ง ซึ่งแทนปริมาณของข้อมูลเป็นคู่ ๆ จนครบทุกคู่ จากนั้นใช้จุดตัดเป็นจุดแสดงตำแหน่งของข้อมูล
- ลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดเหล่านั้น จะได้เส้นกราฟแสดงข้อมูลตามที่ต้องการ
- กรณีที่มีข้อมูลมากกว่า 1 ชุด การนำเสนอข้อมูลจะใช้ลักษณะของเส้นที่แตกต่างกัน และต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าเส้นกราฟลักษณะใดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
5.ในกรณีข้อมูลแต่ละรายการมีจำนวนมากและใกล้เคียงกัน นักเรียนสามารถย่นระยะเส้นบอกปริมาณได้ โดยใช้เส้นหยัก เพื่อแสดงการละข้อมูลในช่วงนั้น
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
สามารถนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง
การวัดผลและประเมินผล
1. วิธีการ
1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
1.2 ตรวจใบงาน
2. เครื่องมือ
2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2.2 แบบบันทึกการตรวจใบงาน
3. เกณฑ์
3.1 สังเกตพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป
การอ่านกราฟเส้น
วิธีการอ่านกราฟเส้นให้ดูตำแหน่งของจุดบนกราฟว่าตรงกับค่าใดบนแกนตั้ง และแกนนอน หากเป็นกราฟเส้นที่มีข้อมูล 2 จำนวน ต้องระบุชื่อข้อมูลขนกราฟเส้นให้ชัดเจน
ใช้ข้อมูลจากกราฟตอบคำถามต่อไปนี้
- ราคาส้มเขียวหวานเปรียบเทียบในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์เป็นอย่างไร
ตอบ ราคาส้มเขียวหวานของเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2556 มีราคาสูงกว่า ปีพ.ศ. 2557
- เดือนใดที่ราคาส้มเขียวหวานแตกต่างกันมากที่สุดและแตกต่างกันกี่บาท
ตอบ เดือนกุมภาพันธ์ แตกต่างกัน 5 บาท
- แนวโน้มราคาส้มเขียวหวานใน พ.ศ. ใดที่มีราคาสูงกว่า
ตอบ ปี พ.ศ. 2556
ตัวอย่างอื่นๆสำหรับการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้น
การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้นเหมาะกับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพราะลักษณะของเส้นกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอย่างชัดเจน การอ่านกราฟเส้นต้องอ่านให้สัมพันธ์กับแกนตั้งและแกนนอน จึงควรทำความเข้าใจกับความหมายของแกนตั้งและแกนนอนก่อน
ข้อมูลชุดนี้วางปีพ.ศ.บนแกนนอนโดยเรียงจากมากไปน้อย (2558 – 2554) เพราะโดยธรรมชาติคนส่วนใหญ่สนใจข้อมูลของปีล่าสุดมากกว่าข้อมูลของปีที่ผ่านมา จึงวางข้อมูลของปีล่าสุดไว้ก่อน
ถ้าต้องการดูแนวโน้มของข้อมูล ต้องอ่านเส้นกราฟจากขวาไปซ้าย
(จากปีพ.ศ. 2554 ไปปี พ.ศ. 2558)
จากปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2558 เส้นกราฟสูงขึ้น แสดงว่ารายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกปี
เส้นค่าใช้จ่ายจากปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2557 เป็นกราฟที่พุ่งขึ้นข้างบน (จากขวาไปซ้าย)
จากปี พ.ศ. 2557 ไปปี พ.ศ. 2558 ค่าใช้จ่ายลดลง
2 ภาพแรกแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรายได้และค่าใช้จ่าย
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลอย่างไรต่อกำไร ?
ถ้าต้องการดูกำไรของแต่ละปี ต้องนำเส้นกราฟของรายได้(เส้นสีน้ำเงิน) และ ค่าใช้จ่าย(เส้นสีแดง) มาไว้ในภาพเดียวกัน
ช่วงที่เส้นสีน้ำเงินอยู่เหนือเส้นสีแดงคือช่วงที่เกษตรมีกำไร (รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย)
ได้แก่ปีพ.ศ. 2554, 2555 และ 2558
ช่วงที่เส้นสีน้ำเงินอยู่ใต้เส้นสีแดงคือช่วงที่เกษตรขาดทุน (รายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย)
ได้แก่ปีพ.ศ. 2557
ปีพ.ศ.2556 เส้นสีน้ำเงินและเส้นสีแดงตัดกัน หมายถึงเท่าทุน (ไม่กำไร และไม่ขาดทุน)
จุดตัดของเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีแดง เป็นจุดที่ 2 เส้นอยู่ในระดับเดียวกัน (รายได้ = ค่าใช้จ่าย)
-ขอบคุณข้อมูล https://nockacademy.com/