นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า การค้นพบครั้งสำคัญนี้มาจากการใช้ข้อมูลการสำรวจของอุปกรณ์เรดาร์มาร์ซิส(MARSIS) บนยาน “มาร์ส เอ็กซ์เพรส” ของสำนักงานอวกาศยุโรป (หรือ ESA) ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวอังคาร ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2546
อุปกรณ์ชื่อว่า “MARSIS” ทำงานคล้ายกับเรดาร์ คือ การส่งคลื่นวิทยุไปยังตำแหน่งเป้าหมาย และเมื่อคลื่นดังกล่าวสะท้อนกลับมาจะสามารถระบุสภาพของสสารบริเวณนั้นได้ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการค้นหาธารน้ำแข็งใต้ผิวโลก หมายความว่า เรายังไม่ได้เจอน้ำที่เป็นของเหลวจริง ๆ แต่เจอหลักฐานที่บ่งชี้ว่า อาจมีทะเลสาบขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้พื้นผิวดาว
อย่างไรก็ดี ยังคงมีการถกเถียงกันในผลการวิจัยครั้งนี้ เนื่องจากดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ตายแล้ว กล่าวคือ แก่นกลางที่เป็นแหล่งผลิตความร้อนใต้พื้นผิวดาวได้เย็นตัวลงไปนานแล้ว จึงไม่น่ามีความร้อนเพียงพอให้น้ำคงสภาพเป็นของเหลวได้ ทำให้ต้องรอลุ้นยานเพอร์เซเวียแรนส์ ที่นาซ่าปล่อยออกจากฐานปล่อยจรวดแหลมคานาเวรัล ในรัฐฟลอริดาเมื่อวันที 30 ก.ค. 63 เพื่อปฏิบัติภารกิจศึกษาทางธรณีวิทยาและชีวดาราศาสตร์บนดาวอังคาร ในโครงการ MARS 2020 ของนาซาโดยจะลงจอด บริเวณหลุมอุกกาบาตเจเซโร ซึ่งเป็นจุดที่นักวิทยาศาสตร์ของนาซา คาดว่าเคยเป็นแหล่งน้ำมาก่อน และเชื่อว่าน่าจะมีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่เคยอยู่บนดาวอังคาร
ปัจจุบัน ยานเพอร์เซเวียแรนส์ มีกำหนดถึงดาวอังคาร ในวันที่ 18 ก.พ. 2564 ซึ่งตอนนี้ เหลือประมาณ 187 ล้านไมล์ หรือประมาณ 300 ล้านกิโลเมตร จากระยะทางรวม 470 ล้านกิโลเมตร
ความคืบหน้าทางฟากฝั่งของ ยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-1 ของ กรมการบินอวกาศแห่งชาติจีนจนถึงขณะนี้ ได้บินอยู่ในวงโคจรที่กำหนด ห่างจากโลกประมาณ 24.10 ล้านกิโลเมตร ระยะทางบินประมาณ 188 ล้านกิโลเมตร ซึ่งถือว่าใกล้ดาวอังคารมากกว่าของ นาซ่า ระบบต่างๆ ของเทียนเวิ่น-1 ทำงานด้วยดี ศูนย์ควบคุมสื่อสารและสถานีติดตามในภาคพื้นดินต่างๆ ทำงานเป็นปกติ หลังจากก่อนหน้านี้ระบบได้ปรับแก้ วงโคจรระหว่างเดินทางมาแล้ว2ครั้ง
มีการตีพิมพ์รายงานการวิจัยดังกล่าวในวารสาร Nature Astronomy โดยระบุว่าผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากภารกิจสำรวจดาวอังคารตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ่งบอกชัดว่าแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์บนดาวอังคารทั้งหมดนั้น มีไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันบรรยากาศของดาวอังคาร ซึ่งคิดเป็นเพียง 0.6% ของความดันบรรยากาศบนโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้
- พบ “ทะเลสาบ” ใต้ผืนน้ำแข็งดาวอังคารเป็นครั้งแรก
- พบสารอินทรีย์ที่ซับซ้อนบนดาวอังคาร ชี้อาจเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตได้
- นาซาสร้างฝูงผึ้งหุ่นยนต์ใช้บินสำรวจดาวอังคาร
ผลการวิจัยครั้งนี้เท่ากับดับความฝันของนายอีลอน มัสก์ นักธุรกิจผู้บุกเบิกโครงการขนส่งอวกาศคนสำคัญ ซึ่งเคยประกาศไว้ครั้งแรกเมื่อปี 2015 ว่าเขามีแผนการให้มนุษย์ย้ายถิ่นฐานไปยังดาวอังคาร โดยวิธีที่เร็วที่สุดในการทำให้คนเราอาศัยอยู่บนดาวแห่งนี้ได้ คือต้องสร้างชั้นบรรยากาศที่คล้ายคลึงกับโลกขึ้นมา
ขอบคุณข้อมูล https://www.tnnthailand.com