กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือสนองความหรือสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่สามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการนั้น ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยี
ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ เป็นขั้นตอนการระบุและกำหนดขอบเขตของปัญหาหรือความต้องการ เพื่อให้มองเห็นเป้าหมายในการทำงาน
2.การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ หรือวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้ได้มากที่สุดจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น ถ่ายเอกสารจากหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้อื่น ระดมสมองกับเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
3.การเลือกวิธีการ เป็นขั้นตอนการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ดีที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
4.การออกแบบและปฏิบัติการ เป็นขั้นตอนการถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เลือกไว้ออกมาเป็นภาพร่าง3มิติ หรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้ หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ รวมถึงการลงมือแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
5.การทดสอบ เป็นขั้นตอนการทดลองใช้ผลงานหรือวิธีการที่ได้จากการลงมือแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการว่าใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร
6.การปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขผลงานหรือวิธีการแก้ปัญหาหรอสนองความต้องการที่ใช้ไม่ได้หรือบกพร่อง หากไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ต้องกลับไปขั้นตอนการเลือกวิธีการใหม่อีกครั้ง
7.การประเมินผล เป็นขั้นตอนการพิจารณาผลงานหรือวิธีการที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วว่าสามารถบรรลุเป้าหมาย คือ แก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้หรือไม่ มีประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่าย ปลอดภัยต่อผู้ใช้หรือสิ่งแวดล้อม ทนทาน และสวยงานหรือไม่ หากยังไม่ดัพอก็ต้องปรับปรุงแก้ไขไปจนกว่าจะได้ผลงานหรือวิธีที่ดีที่สุด
กระบวนการเทคโนโลยีในแต่ละประเทศอาจมีจำนวนขั้นตอนไม่เท่ากัน แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการให้ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การประยุกต์การออกแบบเทคโนโลยีเพื่อชีวิต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อชีวิต เป็นแนวทางการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จึงมีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วในการใช้ชีวิตประจำวัน
การออกแบบเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต
มนุษย์ต้องอาศัยปัจจัย4 ในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ดังนั้นจึงมีการนำเทคโนโลยเข้ามาตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต เช่น การสร้างเครื่องจักรสำหรับทำการเกษตร เพื่อสร้างอาหาร ทำให้ประหยัดแรงงานและได้ผลผลิตที่มากขึ้น
การจัดแบ่งระดับของเทคโนโลยีตามความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา แบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ
1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน (Basic Technology)
เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน (Basic Technology) เป็นเทคโนโลยีในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการยังชีพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมพื้นบ้าน เช่น คันไถ คราด มีด พร้า จอบ เสียม อวน แห เบ็ด เรือพาย หม้อ ไห โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมถึงการคิดหาวิธีการถนอมอาหารและแปรรูปอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานาน เช่น การตากแห้ง การทำเค็ม การหมัก การดอง ฯลฯ ตลอดจนการคิดค้นสูตรยาสมุนไพรต่างๆ เทคโนโลยีพื้นบ้านจึงจัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีพื้นบ้านส่วนมากไม่ต้องใช้ความรู้หรือประสบการณ์เฉพาะด้าน ส่วนใหญ่เกิดจากการสังเกต จดจำและฝึกหัดจนเกิดประสบการณ์ตรง
การแปรรูปและการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภค เช่น การหมัก การดอง การทำเค็ม ฯลฯ เป็นเทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน
2. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
เทคโนโลยีระดับกลาง เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความรู้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหามากขึ้น มีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ีมีกลไกซับซ้อนมากขึ้น เช่น การใช้เครื่องจักรทำงานแทนคน การใช้เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน การใช้อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เครื่องพ่นยาอัตโนมัติ รถแทรกเตอร์ รถตัดหญ้า นอกจากนี้ ผู้ปฏิบ้ติงานก็จะต้องมีความรู้ มีทักษะและประสบการณ์มากขึ้น
การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น รถแทรกเตอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับกลาง
3. เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
เทคโนโลยีระดับสูง เป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ขั้นสูง มีการใช้ระบบฐานข้อมูลและการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตลอดจนมีการศึกษาวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีระดับนี้ เช่น อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค อุปกรณ์และวิธีการในการตัดแต่งพันธุกรรมพืช ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ดาวเทียม หุ่นยนต์ และเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
ที่มา : http://krusomchai.net/wbi.html
และ https://occupationandtechnologym3.wordpress.com/