COVID-19 เป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ทุกองค์กร รวมถึงภาคการศึกษาจำเป็นต้องเพิ่งพาเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทำงานหลัก ในเมื่อจำเป็นต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นออนไลน์ คณาจารย์และคุณครูหลายท่านก็ต้องการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนแบบออนไลน์
1. เตรียมแผนการเอาไว้ล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
แน่นอนว่าในการเรียนการสอนที่เราไม่คุ้นชินนักย่อมสามารถเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงหรือปัญหาต่างๆที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะด้วยความไม่พร้อมของอุปกรณ์ หรือเครือข่าย ความหนาแน่นของจำนวนผู้ใช้งาน จนทำให้ไม่ว่าจะค้าง หรือไหนจะหลุด ไหนจะติดจะขัด เสียงไม่มา ภาพไม่มี
ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ล่วงหน้าและตระเตรียมแผนการเอาไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในฐานะครูอาจารย์ทุกท่านคงทราบ ดีว่าการเสียเวลาไป 1 หรือ 2 คาบ
2. แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจ่อของนักเรียน
ในประเทศจีนนั้นก็ไม่ได้ต่างไปจากบ้านเรามากนัก พวกเขาเองก็มีเนื้อหาที่ต้องทำการเรียนการสอนที่เข้มข้นตลอดทั้งคาบเรียน แต่เมื่อพวกเขาต้องทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งปัญหาที่มักพบคือไม่สามารถควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ และเด็กๆมักจะเกิดอาการสติหลุดลอยอยู่บ่อยครั้ง และวิธีแก้ที่ดูเหมือนจะได้ผลดี นั่นก็คือการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ ประมาณ 20-25 นาที
3. ใช้เสียงสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
เราอาจเคยควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ด้วยอวัจนภาษาต่างๆและคณาจารย์ทุกท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโทนเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก แต่ยิ่งเมื่อต้องมาสอนในชั้นเรียนออนไลน์แล้ว เสียงนั้นกลับยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเมื่อทุกท่านอยู่หลังหน้าจอ อวัจนภาษาต่างๆก็แทบจะหมดความสำคัญ ดังนั้นส่วนที่เป็นคีย์เวิร์ดหรือเนื้อหาสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำ ทุกท่านควรลองพูดให้ช้าลง หรือพูดซ้ำบ่อยครั้งขึ้น
4. เสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน
หากเทียบกับการเรียนการสอนในรูปแบบปกติแล้ว การเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้นควบคุมได้ยากกว่ามาก จึงมักพบเห็นผู้เรียนไม่เข้าร่วมชั้นเรียน ดังนั้นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ประสบผลสำเร็จคือการเรียนรู้เชิงรุกนอกห้องเรียน ซึ่งมีวิธีการหลากหลาย เช่น แบบฝึกหัด หรือการบ้าน การทำโครงงาน โครงการ เป็นต้น
5. บูรณาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการเรียนการสอนรูปแบบปกติ การสนทนาโต้ตอบกันระหว่างคุณครูกับนักเรียนคงเป็นเรื่องปรกติ แต่สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ยาก ด้วยข้อจำกัดของการแทรกซ้อนของเสียงที่จะทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนดูปั่นป่วนไปหมด เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ทางสถานศึกษาควรจัดแบ่งการเรียนการสอนออกเป็นสองระยะ หนึ่งคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบออนไลน์
6. เปิดใจรับฟัง เข้าใจปัญหา มีความยืดหยุ่น เนื่องด้วยแต่ละครอบครัวมีเงื่อนไขและความต้องการไม่เหมือนกัน โรงเรียนจึงต้องเปิดใจรับฟังและตั้งคำถามถึงสิ่งที่เป็นปัญหาของการเรียนรู้ของเด็กและความต้องการของพ่อแม่ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถสร้างระบบการเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพสูงสุด
7. กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องโดยยังรักษาความสุขของทุกคนในครอบครัว สถานการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ปกติ โรงเรียนจึงควรกำหนดรายละเอียดในการสอนออนไลน์โดยมุ่งเน้นทั้งการพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องและให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขไปพร้อมๆ กัน โดยหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเครียดทั้งต่อเด็กและผู้ปกครอง
8. Sharing คือสิ่งสำคัญ เน้นการ Sharing องค์ความรู้และประสบการณ์จากบุคลากรภายในและภายนอกโรงเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างแท้จริง
9. ทลายข้อจำกัดในทุกๆ ด้าน โรงเรียนควรพยายามทำความเข้าใจในข้อจำกัดต่างๆ อาทิ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียน และลดความยุ่งยากในการจัดหาของผู้ปกครอง ทั้งในเรื่องอุปกรณ์ IT การสอนวิธีการใช้งาน และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนสำหรับเด็กๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กๆ ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด และเป็นการลดภาระของผู้ปกครอง
10. การสอนสดมากที่สุดแม้จะต้องทำงานหนักมากขึ้น สิ่งสำคัญคือการให้เด็กเป็นศูนย์กลางทั้งหมดของการออกแบบการเรียนรู้ และเด็กๆ จะใส่ใจพร้อมเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้รับการอธิบายจากครูเป็นกลุ่มเล็กๆ ดังนั้น โรงเรียนจึงควรแบ่งห้องเรียนใหญ่เป็นห้องย่อย เพื่อให้สามารถสอนสดและสามารถสร้างความมีส่วนร่วมไปจนถึงรู้ได้ถึงพัฒนาการนักเรียนของเขาได้อย่างใกล้ชิด ยกตัวอย่างเช่น ที่ King’s Bangkok คุณครูจะต้องทำงานหนักมากเนื่องจากต้องสอนในบทเรียนเดิมๆ ถึง 3-4 รอบ และยังจะต้องตรวจการบ้านทุกคนภายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะได้รับการดูแลที่สามารถพัฒนาพวกเขาได้จริงๆ
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th และ https://www.posttoday.com/