การใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ
เป็นทฤษฎีที่ช่วยในการหาเศษจากการหารของพหุนาม เช่น หากเราต้องการหาเศษจากการหารพหุนาม 2×2−5x+6ด้วย x -33333 – 3 ถ้าเราตั้งหารยาวตรงๆ เพื่อที่จะหาเศษนั้นมันจะยุ่งยากและยาวมาก…เพื่อเลี่ยงความยุ่งยากนี้เราก็มีเครื่องมือๆหนึ่ง….ซึ่งก็คือ ทฤษฎีบทเศษเหลือ เพื่อช่วยในการหาเศษจากการหารพหุนามนั้นเอง
ทฤษฎีบทเศษเหลือ
ถ้าหารพหุนาม p(x) ด้วย x-c เมื่อ c เป็นจำนวนจริง แล้วเศษจาการหารจะเท่ากับ p(c)
ตัวอย่าง 1. จงหาเศษจากการหาร X3 – X2 – X -15 ด้วย X – 3
พิจารณา เนื่องจาก ตัวหารคือ X – 3 อยู่ในรูปของ X – c ซึ่ง c = 3 โดย p(x) = X3 – X2 – X -15
ตัวหาร p(x) ด้วย x – 3 เศษจากการหารจะเท่ากับ p(c) หรือ p(3)
วิธีทำ เศษจากการหาร = p(3) = (33) – (32) – (3) – 15
= 27 – 9 – 3 -15
= 0
แสดงว่า x – 3 เป็นตัวประกอบของ p(x) เพราะเศษจากการหารเป็น 0
ตัวอย่าง 2. กำหนดให้ p(x) = X3 – 6X2 + 11X – 6
จงแสดงว่า X – 4 ไม่เป็นตัวประกอบของ p(x)
พิจารณา X – 4 ไม่เป็นตัวประกอบของ p(x) คือ เศษจากการหาร ≠ 0
วิธีทำ ท.บ. เศษเหลือ
p(4) = (4)3 – 6(4)2 + 11(4) – 6
= 64 – 96 + 44 – 6
= 6
แสดงว่า x – 4 ไม่เป็นตัวประกอบของ p(x) เพราะเศษจากการหารไม่เป็น 0
การหารสังเคราะห์
การหารสังเคราะห์มักใช้ควบคู่กับทฤษฎีบทเศษเหลือ เมื่อหาได้แล้วว่า p(c) นั้นเป็นตัวประกอบของ p(x) (ในบางกรณี)
วิธีการใช้การหารสังเคราะห์ ถ้าต้องการหาร p(x) ด้วย x – c เมื่อ c ≠ 0 ด้วยวิธีการหารสังเคราะห์ จะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. เขียนสัมประสิทธิ์ของพจน์ต่าง ๆ ของ p(x) โดยเขียนเรียงลำดับกำลังของ x จากมากไปหาน้อย และพจน์ใดไม่มีถือว่าสัมประสิทธิ์ของพจน์นั้นเท่ากับ 0
2. เขียน c เป็นตัวหาร
3. จำนวนแรกในแถวที่ 1 ให้ดึงลงมาในแถวที่ 3
4. นำ c คูณกับจำนวนแรกของแถวที่ 3 นำผลคูณที่ได้มาใส่ในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 2
5. บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สอง นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3
6. นำ c มาคูณกับจำนวนในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 3 นำผลคูณใส่ในตำแหน่งที่สามของแถวที่ 2
7. บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สาม นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3
ทำเช่นนี้เรื่อยๆ ไป จนหมดทุกตำแหน่ง แล้วจะได้ว่า
- จำนวนแต่ละจำนวนที่ได้ในแถวที่ 3 (ยกเว้นจำนวนสุดท้าย) เป็นสัมประสิทธิ์ของของผลหาร ซึ่งจะเป็นพหุนามที่มีดีกรีน้อยกว่าดีกรีของ p(x) อยู่ 1
- จำนวนสุดท้ายของแถวที่ 3 เป็นเศษของการหาร
ตัวอย่าง 1 กำหนดให้ p(x) = 2X4 – X3 – X2 + 15X และ p(c) = X + 2
วิธีทำ
|
|
แถวที่ 1 |
|
|
แถวที่ 2 |
|
|
แถวที่ 3 |
ดังนั้น 2X4 – X3 – X2 + 15X = (X + 2)(2X3 + 3X2 – 2X) เศษ 11 |