การให้เหตุผล
(1) การให้เหตุผลแบบอุปนัย
(2) การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด
ตัวอย่างที่1
เหตุ 1.สัตว์เลี้ยงทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
2. แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
ผล แมวทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
ตัวอย่างที่ 2
เหตุ 1. นักเรียน ม.4ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
2. สมชายเป็นนักเรียนชั้น ม.4
ผล สมชายแต่งกายถูกระเบียบ
ตัวอย่างที่ 3
เหตุ 1.วันที่มีฝนตกทั้งวันจะมีท้องฟ้ามืดครึ้มทุกวัน
2. วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม
ผลวันนี้ฝนตกทั้งวัน
จากตัวอย่างจะเห็นว่าการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาสิ่งข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น จะเรียกว่าผล การสรุปผลจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
เป็นการสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล
ข้อจำกัดของการให้เหตุผลแบบนิรนัย
1.การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการให้เหตุผลที่มีขนาดใหญ่ซึ่งกำหนด เป็นการวางนัยทั่วไปและมีเหตุรองเป็น เหตุการณ์เฉพาะเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ดังนั้นเหตุจะเป็นข้อความหรือสมมุติฐานฐานใด ๆ ที่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงในชีวิตประจำวันก็ได้ แต่ถ้าข้อความนั้นไม่จริงก็จะทำให้เกิดข้อเสียหายแก่ข้อสรุป เนื่องจากเหตุผลแบบนิรนัยจะสรุปผลในขอบเขตของเหตุที่กำหนดไว้เท่านั้น
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัยไม่สามารถสรุปผลตามที่คาดหวังไว้ได้ต้องสรุปให้เป็นไปตามเหตุการณ์ต่าง ๆที่กำหนดไว้เท่านั้น ดังเช่น
เหตุ 1. นกทุกชนิดบินได้
2. เพนกวิน เป็นนกชนิดหนึ่ง
ผลสรุป นกเพนกวินบินได้
3.เมื่อเราใช้วิธีการให้เหตุผลแบบนิรนัยเพียงอย่างเดียวจะทำให้วิทยาการต่าง ๆก้าวหน้าได้อย่างช้ามากหรือไม่ก้าวหน้าเลยเพราะว่าความรู้ทั่วไปที่จะมาเป็นการวางนัยทั่วไปจะใช้เวลาที่ยาวนานมากเพราะเป็นความรู้ที่ถูกต้องจากผู้รู้ในสมัยก่อนๆ ซึ่งมีอยู่ไม่มากนักการใช้ความรู้ที่มีอยู่แบบเดิมมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่เพิ่มเติมนั้นจะเป็นผลให้ไม่เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการหรือก้าวหน้าได้อย่างช้ามาก
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย
ตัวอย่างที่ 1 เหตุ 1. สัตว์ทุกชนิดต้องตาย
2. มนุษย์เป็นสัตว์
3. ดำเป็นมนุษย์
ผลสรุป ดำต้องตาย
ตัวอย่างที่ 2 เหตุ 1. จำนวนที่หารด้วย 2 ไม่ลงตัว เรียกว่า จำนวนคี่
2. X เป็นจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว
ผลสรุป x ไม่เป็นจำนวนคี่
ตัวอย่างที่ 3 เหตุ 1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีน ทุกคนเป็นโรคคอพอก
2. เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากทะเลทุกคนขาดสารไอโอดีน
3. หมู่บ้าน ก อยู่ห่างไกลจากทะเล
4. เด็กชายต้น อยู่ในหมู่บ้าน ก
ผลสรุป เด็กชายต้นเป็นโรคคอพอก
ตัวอย่างที่ 4 เหตุ 1. รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานมีขนาดเท่ากัน 2 มุม
2. รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากัน 2 มุม
ผลสรุป รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว