สำหรับหมวกกันน็อคที่ออกแบบและผลิตอย่างได้มาตรฐาน ภายในจะมีโฟม ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหดได้ เมื่อเกิดการชนและกระแทกจากของแข็ง โฟมที่อยู่ภายในหมวกกันน็อคจะถูกอัดกระแทก ยืดเวลาที่ศีรษะใช้ก่อนหยุดเคลื่อนไหวออกไปประมาณ 6 มิลลิวินาที มีผลในการควบคุมพลังงานจากการชน หมวกกันน็อคยังจะกระจายแรงการกระแทกไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น ทำให้แรงกระแทกไม่ไปรวมอยู่ ณ พื้นที่เล็กๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกเท่านั้น ทำให้แรงกระแทกต่อเนื้อสมองลดลง แรงหมุนและความตึงเครียดภายในก็จะลดลงด้วย
นอกจากนั้น หากลองเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างการสวมหมวกกันน็อคกับไม่สวมหมวกแล้วพบว่า การสวมหมวกนิรภัย ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการบาดเจ็บลงได้ประมาณ 72% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง 39% แต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถจักรยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ และลดค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยในการใช้หมวกนิรภัย
1. ไม่มีหมวกนิรภัยใดสามารถปกป้องผู้สวมใส่จากการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยที่แรงกระแทก ทั้งความเร็วสูง และความเร็วต่ำ
2. ใช้หมวกนิรภัยที่กระชับต่อศรีษะ และสายรัดคางจะต้องรัดอยู่บริเวณใต้คางเท่านั้น
3. หมวกนิรภัยได้รับการออกแบบมาเพื่อรับแรงกระแทกได้เพียงครั้งเดียว
4. ทำความสะอาดหมวกนิรภัยด้วยความระมัดระวัง
5. ไม่ทำการดัดแปลงสภาพหมวกนิรภัย
6. ควรดูแลหมวกนิรภัยของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดี
7. จะต้องตรวจสอบหมวกนิรภัยก่อนใช่เสมอ
8. ตรวจสอบแผ่นหน้าหมวกนิรภัยให่อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ
9. ห้ามทำสีใหม่บนหมวกนิรภัย
10. ข้อต้องจำ หมวกนิรภัยจะจำกัดเสียง และลดประสาทการรับรู้ความเปลี่ยนไปของสิ่งแวดล้อม
นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยี KTH ที่สวีเดน ทำแบบจำลองว่าผู้ขี่จักรยานล้มแล้วศีรษะกระแทก เมื่อใส่หมวกกันน็อคและไม่ใส่นั้น ผลที่เกิดขึ้นแตกต่างกันอย่างไร โดยได้เผยแพร่งานวิจัยนี้ในวารสารวิชาการ Accident Analysis & Prevention
มาเดเลน ฟาห์ลสเตดท์ นักวิจัยทำแบบจำลองนี้โดยอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
“เมื่อได้ข้อมูลจากนักวิจัยที่ลูเวน ประเทศเบลเยี่ยม เราได้สร้างไคนีเมติกส์ของอุบัติเหตุจักรยาน 3 ครั้งซึ่งผู้ขับขี่สูญเสียการควบคุม ล้ม และศีรษะกระแทก โดยได้ดูการเคลื่อนไหวของนักปั่นจักรยานในช่วงเกิดอุบัติเหตุ จากนั้นก็ใส่หลักไคนีเมติกส์เข้าไปโดยปรับที่ความเร็วของการปั่นที่แบบจำลองคอมพิวเตอร์” ฟาห์ลสเตดท์ อธิบาย
นักวิจัยได้เปรียบเทียบผลของการจำลองกับภาพสแกนสมองด้วยเครื่องซีทีสแกน เพื่อเปรียบเทียบดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคืออาการเลือดออกในสมอง จากนั้น นักวิจัยได้ศึกษาที่แบบจำลองเพื่อเทียบว่า เมื่อมีหมวกกันน็อคกับไม่มีนั้น จะเกิดอะไรขึ้น
“เราได้เห็นว่าเนื้อเยื่อสมองนั้นถูกยืดไปมากแค่ไหนเมื่อถูกชน และเนื้อเยื่อสมองก็มักจะถูกยืดในบริเวณที่เกิดการกระแทก”
นักวิจัยทำการจำลองการชนทั้ง 3 แบบ และพบว่า หมวกกันน็อคธรรมดา ๆ ก็สามารถลดการยืดของเนื้อเยื่อสมองได้ถึง 33-43 เปอร์เซ็นต์
-ขอบคุณข้อมูล http://nuclear.rmutphysics.com/