ผู้คนมากมายเคยชินกับการดำรงชีวิตอย่างเป็นทุกข์รูปแบบต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสาเหตุจากความคิดเชิงลบ ความคิดที่นำมาซึ่งอารมณ์เชิงลบต่างๆ อันได้แก่ ความวิตกกังวล ความเหงา เบื่อ ซึมเศร้า โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ ผิวหวัง ขุ่นมัวและอารมณ์ไม่สบายใจอื่นๆ ขณะที่คิดเรื่องทุกข์ใจ คลื่นสมองก็จะมีความถี่สูง ยุ่งเหยิง พร้อมกันกับที่สมองหลั่งสารแห่งความทุกข์และความเครียดออกมาทำให้สุขภาพกาย และจิตใจยิ่งทรุดโทรมลง ในทางตรงกันข้าม
ความคิดเชิงบวกจะทำให้มีความสุข เบิกบาน และสงบใจ ไม่ว้าวุ่นใจ อันเกิดจากความคิดที่เป็นระบบ ระเบียบและถูกต้อง ถูกทาง คนเราอาจไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมากนักในเรื่องความคิดเชิงบวก แต่การฝึกความคิดเชิงบวก นับได้ว่ามีคุณอนันต์ต่อสุขภาพและผลงานที่สร้างสรรค์ ดังเช่น ศาสดาเอกต่างๆ และอัจฉริยะบุคคลทั้งหลายล้วนมีความมั่นใจในความคิดเชิงบวก นอกจากนั้นหลักฐานทางวิทยศาสตร์พบว่า คลื่นสมองก็มีลักษณะความถี่ต่ำลงไม่ยุ่งเหยิง และสมองก็หลั่งสารแห่งความสุขและสงบ มีผลที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจอย่างมาก
ความคิดเชิงลบมักเกิดอย่างอัตโนมัติ เพราะเป็นความคิดที่คุ้นเคยมาก่อนอาจเลียนแบบวิธีคิดจากบุคคลสำคัญในวัยเด็ก เช่น พ่อแม่ ครู ญาติและเพื่อน หรือเลียนแบบจากละครทีวี บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย เช่น รู้สึกว่าไม่มีใครรักตนเอง ตนเองขี้เหร่ พิการ ฯลฯ วิธีคิดได้เกิดขึ้นซ้ำๆ จนสลัดออกได้ยาก ความคิดเชิงลบมีได้หลายรูปแบบ ทั้งสังเกตุเห็นได้ชัดเจน และแบบที่แยบยล จนบางครั้งเราอาจไม่ทันก็ได้ แต่สุดท้ายจะลงเอยด้วยความว้าวุ่นใจ และทุกข์ใจนั่นเอง ความคิดเชิงลบ อาจเป็นลักษณะเพ่งโทษผู้อื่น โดยตั้งคำถามในใจกับตนเองว่า ทำไมเขาจึงไม่ดีกับเรา ทำไมเขาต้องทำอย่างนั้น คิดแบบนี้จะเป็นการเพ่งโทษผู้อื่น ก็เพราะเราจะคิดไปเองว่าเราถูกต้อง ผู้อื่นผิด ขณะคิดไปกลับไม่โปร่งสบาย แต่อาจโกรธ เคียดแค้น ไม่พอใจ ผู้อื่นได้ บางครั้งความคิดเชิงลบ เป็นลักษณะโทษตนเอง ตำหนิตนเอง โดยตั้งคำถามว่า ทำไมต้องเป็นเรา เราไม่ดีต่างๆ นานา โชคชะตาไม่ปราณีเรา เราเป็นคนมีเวรมีกรรม เราเป็นคนโชคร้ายเสมอ ฯลฯ การคิดลัษณะนี้ถึงได้ว่าเป็นการทรมาน และเบียดเบียนจิตใจของตนเองให้เป็นทุกข์ ให้เศร้าหมอง ขมขื่น เจ็บปวดและกระวนกระวาย สำหรับผู้ที่วิตกกังวลจนเป็นนิสัยก็จะมีความคิดเชิงลบ แบบหวาดกลัวไปต่างๆ นานา โดยเฉพาะเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่กลัวกันมากนัก เช่น กลัวคนปฎิเสธ เป็นห่วงญาติจะเกิดเหตุจนเป็นทุกข์ ฯลฯ ความกลัวเหล่านี้ ทำให้ไม่เป็นตัวของตัวเอง และขาดความมั่นใจในตนเองได้ ตรงกันข้ามผู้ที่อยู่ในกระแสความคิดเชิงบวก ก็จะมองข้ามปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ไปได้ ปัญหาสำคัญก็จะหาทางแก้ไขได้ แทนที่จะนั่งกลุ้มโดยไม่คิดแก้ไข หรือหาข้อสรุปที่เหมาะสมกับปัญหาที่เผชิญอยู่ มองเห็นส่วนดีๆ ของชีวิตอย่างมีทักษะ ดึงเอาสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตของตนเอง หรือดึงตนเองไปอยู่ในสิ่งดีๆ แนวทางแก้ไขความคิดเชิงลบ จงตั้งสติให้มั่นเมื่อใดที่ความคิดเชิงลบปรากฏออกมาไม่ว่าในความคิดคำพูด หรือการกระทำของเรา สังเกตุให้ได้แล้วดึงกลับเข้ากระแสความคิดเชิงบวก ฝึกจนเกิดทักษะ ยิ่งฝึกยิ่งใช้ความคิเชิงบวกมากเท่่าไร ความสามารถและทักษะจะปรากฏเด่นชัดขึ้นในแนวทางที่ถูกต้อง จนสามารถรักษาจิตใจให้มั่นคงได้ดีกว่าเดิม ความคิดเชิงบวกจะทำให้เราเลือกสิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิตเริ่มตั้งแต่อิริยาบถที่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน ไม่นั่งๆ นอนๆ จนสุขภาพทรุดโทรม มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากนั้น เลือกทำกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพ และความภาคภูมิใจของตนเอง ได้แก่ กีฬา ดนตรี ศิลปะ งานฝีมือ เรียนภาษาต่างประเทศ กิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยเหลือผู้อื่น และมีกลุ่มญาติมิตรที่คอยให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ขอบคุณแหล่งข้อม๔ล
https://vibhavadi.com/