ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการกําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
- ชื่อผลิตภัณฑ์
- รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
- คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
- ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
ตัวอย่างฉลาก
บนฉลากบรรจุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายที่สื่อความหมายได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ ที่ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Globally Harmonized System of Classifi cation and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National Fire Protection Association Hazard Identifi cation System (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา
ในระบบ GHS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหลี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว
สําหรับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟ สีน้ําเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแทนความ ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามาก และช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายด้านอื่น ๆ
นอกจากฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายต่าง ๆ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ของสารเคมี แล้ว สารเคมีทุกชนิดยังต้องมีเอกสารความปลอดภัย (safety data sheet, SDS) ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียดด้วย
ข้อควรปฎิบัติในการทำปฎิบัติการเคมี
ก่อนทำปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนวิธีการให้เข้าใจ
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีและเทคนิคเครื่องมือต่างๆ
3) แต่งกายให้เหมาะสม
ขณะทำปฎิบัติ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัยสมรักษ์ห้องปฏิบัติการและสวมผ้าปิดปาก
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการ
1.3 ไม่ทำการทดลองเพียงคนเดียว
1.4 ไม่เล่นขณะที่ ทำปฏิบัติการ
1.5 ทำ ตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์มีความร้อน
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
2.1 อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
2.2 เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง
2.3 หันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
2.4 ห้ามชิมสารเคมี
2.5 ห้ามเทน้ำลงกรดต้องให้กรดลงน้ำ
2.6 ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม
2.7 ทำสารเคมีหกให้เช็ด
หลังทำปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
2) ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายเป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำได้เลย
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ก่อนทิ้งในที่จัดเตรียมไว้
4) สารไวไฟ สารประกอบของโลหะเป็น
1.2.อุบัติเหตุจากสารเคมี
สารพิษ สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายหรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแม้เพียงจำนวนเล็กน้อยทำให้เกิดอันตรายได้ หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำด่าง น้ำกรด สารที่ใช้ทำความสะอาดต่าง ๆ และรวมทั้งอาหารและพืชผักที่ปนเปื้อนด้วยสารมีพิษ
cctv อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ ป้องกันได้อย่างไร?
การเข้าสู่ร่างกายของสารมีพิษ ได้ 3 ทาง
– ทางปาก การกินเข้าไป
– ทางจมูก การหายใจเอาสารพิษที่ระเหยหรือเป็นฝุ่นละอองเข้าไป
– ทางผิวหนัง การสัมผัสกับสารพิษทางผิวหนัง หรือการฉีดสารมีพิษเข้าทางกล้ามเนื้อหรือเส้นเลือด
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากสารมีพิษ
อุบัติเหตุจากสารพิษอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
cctv อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ ป้องกันได้อย่างไร?
1. ความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดการหยิบผิด เช่น การหยิบยา
2. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากความไม่รู้
3. การจัดเก็บสารเคมี cctv หรือสารมีพิษต่าง ๆ โดยขาดความเป็นระเบียบ รอบคอบ เช่น อาจจะวางรวมกับของกิน และไม่มีฉลากบอกอย่างละเอียด
วิธีป้องกันอันตรายจากสารมีพิษ
การป้องกันอันตรายจากสารมีพิษนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
cctv อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ ป้องกันได้อย่างไร?
1. ก่อนใช้ยาหรือสารเคมีใด ๆ ควรอ่านฉลากและวิธีการใช้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องเสียก่อน
2. ไม่ควรหยิบยาหรือสารเคมีมาใช้ ขณะเมาสุรา
3. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารมีพิษ
4. เก็บสารมีพิษไว้ในตู้ให้มิดชิด ให้พ้นมือเด็ก และปิดฉลากให้เรียบร้อยถึงวิธีการใช้สารมีพิษนั้นด้วย
5. การใช้ยากันยุง ถ้าจำเป็นควรใช้ในห้องที่มีการระบายอากาศดี หรือในขณะที่ไม่มีคนอยู่ในห้อง
วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสารมีพิษ
cctv อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ ป้องกันได้อย่างไร?
1. เมื่อสารมีพิษเข้าทางปาก ควรทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ รีบทำให้ร่างกายอบอุ่น แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ช่วยเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก แล้วนำส่งโรงพยาบาล
2. เมื่อสารมีพิษเข้าทางจมูก ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ ช่วยให้หายใจได้สะดวก และให้ดมยาดมที่มีกลิ่นฉุนเพื่อกระตุ้นการหายใจ
3. เมื่อมีสารพิษเข้าทางผิวหนัง ควรรีบล้างน้ำสะอาดออกทันทีและนาน ๆ แล้วล้างด้วยสารละลายเช่นโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือน้ำละลายกรดน้ำส้ม ถ้าเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดและลืมตาในน้ำสะอาดนาน ๆ แล้วรีบพบแพทย์ทันที
การกำจัดสารเคมี
ที่มา : scimath.org
และ academic.obec.go.th
..