ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ
ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น 2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยกาศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date)
การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date)
การความหมายข้อมูล (interpretation of data )
ในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล วึ่งมีหลายวิธีเพราะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมข้อมูลเหล่านี้ย่อมใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จำเป็นจะต้องมีการนำมาจัดใหม่ให้ดูง่ายหรือเป็นระเบียบ การจัดข้อมูลใหม่อาจใช้ตาราง กราฟ หรือรูปภาพขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสนอข้อมูล
ขอบข่ายของสถิติ
1. สถิติเชิงพรรณนา เป็นสถิติที่ว่าด้วยการบรรยายถึงกระบวนการต่างๆทางสถิติ รวมถึง การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย เช่น การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ความแปรปรวน เป็นต้น สถิตินี้เมื่อได้ผลจากการศึกษาแล้วสามารถอธิบายได้เพียงคุณลักษณะของสิ่งที่ศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆได้
2. สถิติอ้างอิง เป็นสถิติที่ว่าด้วยการสรุปผลในสิ่งที่ศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมาสรุปผลข้อมูลเกี่ยวกับประชากร โดยใช้ทฤษฎีทางสถิติ
ข้อมูลทางสถิติ
ข้อมูล หมายถึง ข้อความจริงที่อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ ข้อความจริงที่ปรากฏ ให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ แสง สี เสียง รส นอกจากนี้ข้อเท็จจริงอาจจะอยู่ในรูปของคุณสมบัติเป็นน้ำหนัก แรง อุณหภูมิ จำนวน
ข้อมูลดิบ หมายถึง วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ สถานการณ์ ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติอยู่ในสภาพเดิม มีความอิสระเป็นเอกเทศในตัวมันเองยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง ไม่ได้ถูกนำไป แปรรูปหรือประยุกต์ใช้กับงานใด ๆ
ประเภทของข้อมูล
จำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวม
1. ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลโดยตรง โดยที่ข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทำได้ 2 วิธี คือ การสำมะโน (census) และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (sample survey)
2. ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้จากข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งอาจเป็นการเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบริหารหน่วยงานนั้น ๆ หรือเก็บไว้ใช้ในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆของหน่วยงานหรือสังคมโดยส่วนรวม แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ คือ รายงานต่าง ๆของหน่วยราชการและองค์การของรัฐบาล รายงานและบทความจากหนังสือ หรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน
จำแนกตามลักษณะของข้อมูล
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขบอกปริมาณ สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เช่น จำนวนเงิน ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน เป็นต้น
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่บอกคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่น เพศ ศาสนาที่นับถือ ประเภทกีฬา เป็นต้น
ตัวอย่าง ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลชนิดใด
ที่ ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ
1 อายุ √
2 คะแนนสอบ √
3 ศาสนา √
4 จำนวนเงิน √
5 ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน √
6 เพศ √
7 ประเภทกีฬา √
ระเบียบวิธีการทางสถิติ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่คลอบคลุมตั้งแต่เรื่องการกำหนดประเด็นปัญหา เขียนข้อคำถามการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการแปลความหมายข้อมูล เพื่อตอบประเด็นปัญหาที่กำหนดและคำถาม ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่มีเหตุผลและมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง เป็นขั้นตอนที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถิติ เป็นการเก็บรวบรวมเอาผลที่ได้จากการวัดหรือการนับมาไว้ข้อมูล อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง หรือข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้จากข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด การกำหนดว่าข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้าง โดยการศึกษาและวิเคราะห์จากวัตถุประสงค์หรือปัญหาของสิ่งที่สนใจ หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา
2. กำหนดแหล่งข้อมูล การกำหนดว่าแหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลเป็นใครอยู่ที่ไหน มีขอบเขตเท่าไร
ที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจน
3. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร หมายถึง สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษา ซึ่งไม่ได้หมายถึงคนเพียงอย่างเดียว ประชากรอาจจะเป็นสิ่งของ เวลา สถานที่ เช่นถ้าสนใจว่าความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้ง ประชากร คือคนไทยทุกคน หรือถ้าสนใจอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ประชากร คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อนั้นทุกเครื่อง แต่การเก็บข้อมูลกับประชากรทุกหน่วยอาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมากและบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด การเลือกศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เรียกว่ากลุ่มตัวอย่าง
3.2 กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของประชากร การที่กลุ่มตัวอย่างจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร เพื่อการอ้างอิงไปยังประชากรอย่างน่าเชื่อถือได้นั้น จะต้องมีการเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม
4. เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมโดยทั่วๆ ไป อาจแบ่งวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ออกได้เป็น 4 วิธี ตามลักษณะของวิธีการที่ปฏิบัติ ดังนี้
4.1 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนประวัติ เป็นการเก็บข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ มีความเชื่อถือสูง โดยต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ข้อมูลในทะเบียนประวัติเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
4.2 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสอบถามทางไปรษณีย์หรือทางโทรศัพท์ อาจทำการสำมะโน หรือการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง การสำมะโน
4.3 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง การได้ข้อมูลจากการทดลอง ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมได้
4.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต เป็นการเก็บข้อมูลจากการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างใส่ใจและมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น
ขั้นตอนการดำเนินงานทางสถิติ
ขอบข่ายของระเบียบวิธีทางสถิติ จะเกี่ยวข้องกับการด าเนินงานใน 4 ขั ้นตอนหลัก คือ
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) การน าเสนอข้อมูล
(Data Presentation)และการตีความหมายข้อมูล (Data Interpretation)
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็ นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อน ามา
วิเคราะห์ ซึ่งอาจจะประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และเป็ นข้อมูลทั ้งเชิงคุณภาพและเชิง
ปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถเก็บได้จาก
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานทะเบียนหรือการบันทึก
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการส ารวจได้แก่
2.1 การส ามะโน (Census) เป็ นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยใน
ประชากรที่ท าการศึกษา
2.2 การสำรวจตัวอย่าง (Sample Survey) เป็ นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพี
ยงบางหน่วยของประชากร เพื่อที่จะได้ตัวแทนที่ดีของประชากร เป็นการประหยัดเวลาและ
ค่าใช้จ่าย แต่ถ้าตัวอย่างที่เลือกมาไม่เป็ นตัวแทนที่ดีหรือมีขนาดน้อยเกินไปก็จะเกิดความ
คลาดเคลื่อนได้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถท าได้
หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ (Interview) การส่งไปรษณีย์ (Mail) การตอบแบบสอบถาม โทรศัพท์
การชั่ง ตวง วัด นับ การสังเกต
1.4 มาตรการวัด
ในการเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ จะต้องเข้าใจข้อมูลที่เก็บมาได้ ซึ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นั้นอาจมีลักษณะต่างกันเพื่อการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการประมวลผล ซึ่งสามารถจัดระดับของข้อมูลได้ 4 ระดับ ตามวิธีการวัดค่าตังต่อไปนี้
1.4.1 มาตรานามบัญญัติ (Norminal Scale)
มาตรานามบัญญัติ (Norminal Scale) เป็นระดับของข้อมูลที่ได้จากวัดแบบง่ายที่สุดคือ เป็นการแบ่งแยกประชากรที่จะศึกษาออกเป็นกลุ่มหรือเป็นพวก โดยแต่ละกลุ่มและแต่ละพวกมีความเท่าเทียมกัน เช่น
แบ่งประชากร โดยใช้เพศเป็นตัวแบ่ง คือ ชายและหญิง
แบ่งประชากร โดยใช้ภาคเป็นตัวแบ่ง คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มแยกออกจากกันและกันแสดงถึงความแตกต่างของประชากร ในการนำไปใช้อาจกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนกลุ่ม เช่น ถ้าเป็นเพศชาย กำหนดให้เป็น M เพศหญิง กำหนดให้เป็น Fหรือการกำหนดเบอร์ให้กลับนักฟุตบอล ผู้รักษาประตูเป็น 1 กองหน้าเป็น 2, 3, ฯลฯ ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นเพียงชื่อที่แทนกลุ่มเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้
1.4.2 มาตราเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
มาตราเรียงลำดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับของข้อมูลที่กำหนดรายละเอียดของการวัดเพิ่มขึ้นจากระดับนามบัญญัติ กล่าวคือ นอกจากจะแบ่งแยกข้อมูลอออกเป็นกลุ่มแล้ว ยังสามารหาระดับความแตกต่างระหว่างกลุ่มได้ด้วย ซึ่งระบบการวัดแบบนี้ใช้หลักของความมากกว่า ความน้อยกว่า เช่น การแบ่งประชากรโดยใช้ความคิดเห็น ซึ่งอาจมีระดับต่างๆ เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่มีความเห็น ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การแบ่งสินค้าโดยใช้คุณภาพของสินค้า คือ ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง
จากตัวอย่างดังกล่าว สามารถบอกความแตกต่างของแต่ละกลุ่มข้อมูลได้โดยจัดอันดับของข้อมูล แต่ไม่สามารถกำหนดปริมาณความน้อยกว่าหรือมากกว่าออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ เช่น สามารถบอกได้ว่าสินค้าที่มีคุณภาพนั้นย่อมจะดีกว่าสินค้าพอใช้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าดีกว่าเป็นตัวเลขเท่าไร การใช้ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆ กำหนดอันดับความมากกว่าหรือน้อยกว่า จะไม่มีผลต่อข้อมูล เช่น การให้ร้อยตรีติดดาว 1ดวง ร้อยโทติดดาว 2 ดวง และร้อยเอกติดดาว 3 ดวง อาจกำหนดใหม่ให้ร้อยเอกติดดาว 1 ดวง ร้อยโทติดดาว2 ดวง และร้อยตรีติดดาว 3 ดวง โดยที่อันดับก่อน และหลังย่อมไม่เปลี่ยนแปลง ตัวเลขที่แทนข้อมูลระดับนี้ยังไมสามารถนำมาคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้
1.4.3 มาตราอันตรภาค (Intervel Scale)
มาตราอันตรภาค (Intervel Scale) เป็นระดับของข้อมูลที่มีคุณสมบัติที่เพิ่มเติมจากการวัดระดับเรียงระดับ กล่าวคือ สามารถกำหนดปริมาณของความแตกต่างระหว่างอันดับได้ เพราะการวัดแบบนี้หน่วยของการวัดมีลักษณะคงที่ซึ่งเป็นมาตรฐานในการกำหนดค่าเป็นตัวเลข เช่น ระดับอุณหภูมิ สามารถบอกได้ว่าอุณหภูมิ 30 องศา ร้อนกว่าอุณหภูมิ 20 องศา อยู่ 10 องศา แต่การวัดระดับนี้จุดเริ่มต้นถือวาไม่เป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ไม่มีศูนย์สัมบูรณ์ (Absolute Zero) ซึ่งความหมายของศูนย์ในระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีค่า การวัดระดับนี้เป็นเพียงแต่ทราบระดับเปรียบเทียบเท่านั้น เช่น ในการวักอุณหภูมิถ้าใช้ระบบฟาเรนไฮต์จะเริ่มจาก 32 องศา แต่ถ้าใช้ระดับเซลเซียสจะเริ่มจาก 0 จะเห็นได้ว่าการกำหนดจุดเริ่มต้นนั้นเป็นการกำหนดตามใจชอบ ไม่มีจุดเริ่มต้นทีเป็นธรรมชาติ ถึงแม้ว่าการกไหนจุดเริ่มต้นไม่เหมือนกัน แต่ถ้าหน่วยของการวัดมีมาตรฐานคงที่แล้ว การเปรียบเทียบกลับกันก็อาจทำได้ ดังตารางที่ 1.1
ตารางที่ 1.1 การเปรียบเทียบจำนวนองศาของเซลเซียสกับฟาเรนไฮต์
ชนิดองศา
|
จำนวนองศา
|
เซลเซียส
|
0
|
10
|
30
|
100
|
ฟาเรนไฮต์
|
32
|
50
|
86
|
212
|
ไม่ว่าจะใช้ระบบใด ผลต่างของการเปรียบเทียบอัตราส่วนยังคงเป็น 2 แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะไม่เท่ากันตัวเลขที่ได้จากการวัดระดับชั้นสามารถนำมาบวกลบกันได้
1.4.4 มาตรฐานอัตราส่วน (Ratio Scale)
มาตรฐานส่วน Ratio Scale เป็นระดับของข้อมูลที่ถือว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดและเป็นการวัดระดับสูงสุดมีจุดเริ่มต้นเป็นธรรมชาติ คือ มีศูนย์แท้ที่หมายความถึงการไม่มีค่า เช่น น้ำหนัก ส่วนสุง อายุ ฯลฯ ข้อมูลบางชนิดไม่สามารถวัดได้ถึงระดับนี้ เช่น ข้อมูลทางพฤติกรรม ทัศนคติ ข้อมูลในระดับนี้สามารถนำไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้
1.5 ระเบียบวิธีทางสถิติ
ระเบียบวิธีทางสถิติ เป็นการศึกษาถึงขั้นตอนวิธีการดำเนินการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.5.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อความหรือตัวเลขที่ต้องการจากประชากรที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามความต้องการ เช่น
จะศึกษาจำนวนชาวเขาที่มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ต้องรวบรวมตัวเลขจำนวนชาวเขาที่มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น การเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกได้เป็น 4 วิธีการที่สำคัญ ดังนี้
1.การเก็บรวบรวมจากทะเบียนประวัติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่ เช่น จากกองทะเบียนกรมตำรวจจากทะเบียนประวัติคนไข้ของโรงพยาบาลต่างๆ
2. การเก็บรวบรวมโดยวิธีการสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ ซึ่งผู้ทำการสำรวจได้จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า โดยสามารถทำได้ 4 วิธี คือ
(1) การสำรวจโดยการสำสัมภาษณ์ ผู้สำรวจต้องออกไปสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล
(2) การสำรวจโดยการสร้างแบบสอบถาม ผู้สำรวจเป็นผู้ส่งแบบสอบ การสำรวจโดยการสร้างแบบสอบถาม ผู้สำรวจเป็นผู้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อตอบคำถามแล้วส่งกลับคืนมายังผู้ทำการสำรวจ
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลจากการทดลอง เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนการสอบสมรรถภาพของนักเรียนในด้านพลศึกษา เช่น การวิ่ง การกระโดด การทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น
(4) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีนี้ ผู้ทำการสำรวจต้องทำการบันทึกข้อมูลที่สนใจจากการสังเกต เช่น จดบันทึกรถยนต์ที่ผ่านสี่แยกปทุมวัน เป็นต้น
1.5.2 การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data)
การนำเสนอข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่รวบรวมมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้เรียบร้อย ง่ายต่อการเข้าใจและสะดวกในการวิเคราะห์ และตีความหมาย วิธีการนำเสนอข้อมูลมี 2 วิธี ดังนี้
1 การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน InformaPresentation คือ การนำเสนอข้อมูลไม่มีกฎเกณฑ์หรือแบบอย่างแน่นอนที่ใช้กันมี 2 วิธี คือ
(1) การนำเสนอในรูปบทความ Text Presentationเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบบรรยายรูปสั้นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับข้อมูลที่ไม่มากจนเกินไป เช่น ปริมาณไม้ชนิดต่างๆ ที่สำคัญซึ่งผลิตได้ในปี2521 จากกรมป่าไม้ มีดังนี้ ไม้สัก ผลิตได้ 112,270 ลูกบาศก์เมตร ไม้ยาง 476,988 ลูกบาศก์เมตรไม้อื่น 019,499 ลูกบาศก์เมตร
(2) การนำเสนอในรูปข้อความกึ่งตาราง Semi-Presentation เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยแยกตัวเลขและบทความ เพื่อให้มองเห็นการเปรียบเทียบได้ชัดเจน เช่น ปริมาณไม้ชนิดต่างๆสำคัญซึ่งผลิตได้ในปี2521 จากกรมป่าไม้ มีดังนี้
ชนิดของไม้
|
ผลผลิต (ลบ.ชม.)
|
ไม้สัก
|
112,270
|
ไม้ยาง
|
476,988
|
ไม้อื่นๆ
|
2,019,449
|
2. การนำเสนออย่างเป็นแบบแผน FomalPresentation คือ การเสนอข้อมูลตามกฎเกณฑ์หรือแบบอย่างที่กำหนดไว้ ได้แก่ การนำเสนอในรูปต่างๆ ดังนี้
(1) การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปที่อ่านความหมายได้ทั้งแนวนอน แถว หรือ Row และแนวดิ่ง สดมภ์ หรือ Column ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการวิเคราะห์
องค์ประกอบของตารางสถิติโดยทั่วไป มีดังนี้
(ก) หมายเลขตารางที่แสดงลำดับตารางในกรณีที่มีตารางสถิติมากกว่าหนึ่งตาราง
(ข) ชื่อเรื่อง อยู่แถวเดียวกับหมายเลขตาราง ชื่อเรื่องต้องสั้นกะทัดรัดและได้ใจความสมบูรณ์
(ค) หมายเหตุคำนำ เป็นข้อความที่อยู่ได้ชื่อเรื่อง ซึ่งเป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจตารางยิ่งขึ้น
(ง) ต้นขั้ว ประกอบด้วย หัวขั้วและตัวขั้ว หัวขั้วจะอธิบายถึงตัวขั้วต่างๆ และตัวขั้วแต่ละอันจะอธิบายถึงข้อมูลที่ปรากฏในแต่ละแถวตามแนวนอน
(จ) หัวเรื่อง ประกอบด้วย หัวสดมภ์ จะมีหัวสดมภ์อันเดียวหรือหลายอันก็ได้และภายในหัวสดมภ์แต่ละอันอาจแบ่งให้ย่อยลงไปอีกก็ได้หัวเรื่องจะอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในแต่ละสดมภ์ตามแนวตั้ง
(ฉ) ตัวเรื่อง ประกอบด้วย ข้อมูลที่เป็นตัวเลข
(ช) หมายเหตุล่าง เป็นคำอธิบายข้อความบางตอนในตารางให้ชัดเจนขึ้น
(ซ) หมายเหตุแหล่งที่มา เป็นเหตุที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลที่มานั้นได้มาจากไหน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้
(2) การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิและแผนภาพต่างๆ
แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) คือแผนภูมิที่ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งอาจอยู่ในแนวตั้งก็ได้ โดยเรียกสี่เหลี่ยมผืนผ้าว่าแท่งความสูง และความกว้างของแต่ละแท่งจะต้องไดสัดส่วนกับขนาดของข้อมูล และความกว้างของทุกๆแท่งจะต้องเท่ากันทั้งหมด
แผนภูมิแท่งแบ่งออกเป็น 6 ชนิดคือ
(ก) แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยว คือ แผนภูมิแท่งที่แสดงลักษณะของข้อมูลเพียงชุดเดียว
(ข) แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน คือ แผนภูมิที่แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะของข้อมูลตั้งแต่ชุดขึ้นไป
(ค) แผนภูมิแท่งส่วนประกอบ คือแผนภูมิแท่งที่ใช้แสดงรายละเอียดส่วนย่อยของข้อมูลที่นำเสนอ
(ง) แผนภูมิแท่งบวก – ลบ คือ แผนภูมิแท่งที่ใช้กับข้อมูลซึ่งมีค่าบวกและค่าลบ
(จ) แผนภูมิแท่งซ้อนกัน คือ แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน เพียงแต่ให้เห็นแท่งสี่เหลี่ยมแต่ละแท่งซ้อนเหลี่ยมกัน ทั้งนี้เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการนำเสนอด้วย
(ฉ) แผนภูมิแท่งพีระมิด คือ แผนภูมิแท่งเรียงซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
1.5.3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อข้อมูลถูกนำเสนอแล้วโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการอ่านและการวิเคราะห์แล้ว หลังจากขั้นตอนของการวางแผนจะศึกษาอะไรก็จะทำการวิเคราะห์ในสิ่งที่ต้องการศึกษานั้นในขั้นตอนตอนนี้
1.5.4 การแปลความหมายของข้อมูล (Interpretation of Data)
การแปลความหมายของข้อมูล (Interpretation of Data) เป็นขั้นตอนของการแปลความหมาย ผลการวิเคราะห์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและเพื่อให้ได้ข้อยุติที่อาจเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นไป