จำนวนเชิงซ้อน ม.5
นิยามของจำนวนเชิงซ้อน
1. จำนวนเชิงซ้อน คือ คู่อันดับ (a,b) เมื่อ a และ b นั้นเป็นสมาชิกของจำนวนจริงซึ่งการบวก การคูณและการเท่ากันของจำนวนเชิงซ้อนนั้นกำหนดดังนี้
กำหนดให้ a,b,c,d เป็นจำนวนจริงใดๆ
1) (a,b)=(c,d)(a,b)=(c,d) ก็ต่อเมื่อ a=ca=c และ b=db=d
2) (a,b)+(c,d)=(a+c,b+d)(a,b)+(c,d)=(a+c,b+d)
3) (a,b)⋅(c,d)=(ac−bd,ad+bc)(a,b)⋅(c,d)=(ac−bd,ad+bc)
2. กำหนดจำนวนเชิงซ้อน z=(a,b) เมื่อ a,b เป็นจำนวนจริง
เรียก a ว่าส่วนจริง (real part) เขียนแทนด้วย Re(z)
เรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (imaginary part) เขียนแทนด้วย Im(z)
บทนิยาม
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z = (a , b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง
เรียก a ว่าส่วนจริง (real part) ของ z และแทนด้วย Re(z)
เรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (imaginary part) ของ z และแทนด้วย Im(x)
จากบทนิยามนี้ อาจกล่าวได้ว่า จำนวนจริงก็คือ จำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจินตภาพเป็นศูนย์ จำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจริงเป็นศูนย์ แต่ส่วนจินตภาพไม่ใช่ศูนย์ เรียกว่า จำนวนจินตภาพแท้ (purely imaginary number)
ต่อไปพิจารณาจำนวนเชิงซ้อน (0, 1)
(0, 1) (0, 1) = (0 – 1, 0+0) = ( – 1, 0)
ซึ่งจำนวนเชิงซ้อน ( – 1 , 0) คือจำนวนจริง – 1 นั่นเอง เขียนแทนจำนวนเชิงซ้อน (0, 1) ด้วยสัญลักษณ์ i จะได้ว่า
I2 = -1
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน (a , b) ใดๆ
(a , b) = (a , 0) + (0, b)
= (a, 0) +(b, 0) (0, 1)
= a + bi
ฉะนั้น จำนวนเชิงซ้อน (a, b) สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ a+ bi
กำหนดสัญลักษณ์ของจำนวนเชิงซ้อนในรูป a + bi เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง ทำให้การคำนวณเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อนสามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้สมบัติต่างๆ เกี่ยวกับการบวกและการคูณ เช่นเดียวกับสมบัติของการบวกและคูณของจำนวนจริง และมีข้อมูลตกลงว่า I2 = -1 เช่น
(a + bi) + (c + di) = (a+c)+(bi+di)
= (a+c) + (b+d)i
(a + bi)(c +di) = a(c+di)+bi(c+di)
= ac + adi + bci + bdi2
= (ac – bd) + (ad+bc)i
a + bi = c+ di ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = b
ต่อไป เมื่อกล่าวว่า z = a + bi เป็นจำนวนเชิงซ้อน จะถือว่า a และ b เป็นจำนวนจริงโดยไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวกและผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน 3+ 2i และ 1 – i
วิธีทำ (3+ 2i) + (1 – i) = (3+1) + (2 – 1) i
= 4 + i
(3+2i) (1 – i) = 3(1 – i)+2i(1 – i)
= 3 – 3i + 2i + 2i2
= (3+2) + ( – 3+2) i
= 5 – i
ตัวอย่างที่ 3 จงหาจำนวนจริง a , b ทีทำให้ (a+2i) + ( – 1+2bi) = 3 + 8i
วิธีทำ เนื่องจาก (a + 2i) + ( – 1 + 2bi) = (a – 1) + (2+ 2b)i
ฉะนั้น a – 1 = 3 และ 2 + 2b = 8
ดังนั้น a = 4 และ b = 3
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลคูณ 1+ i , 2+ i และ – 1 + 3i
วิธีทำ (1+ i)(2+i)( – 1+3i) = [(2 – 1) + (1 + 2 ) i ] ( – 1 +3i)
= (1 + 3i) ( – 1 + 3i)
= ( – 1 – 9)+(3 – 3) i
= – 10 + 0i
= – 10
ข้อสังเกต เมื่อกำหนด i0 = 1แล้ว จะได้ สำหรับ m I+ {0}
I4m = 1, i4m + 1 = I , i4m + 2 = -1, i4m + 3 = i
สมบัติที่เกี่ยวกับการบวกและการคูณของจำนวนเชิงซ้อน
ถ้า Z1 , Z2 , Z3 ,เป็นจำนวนเชิงซ้อน แล้วจะได้ว่า
1. Z1 + Z2 = Z2 + Z1 และ Z1Z2 = Z2Z1 (สมบัติการสลับที่)
2. Z1 + (Z2 + Z3) = (Z1+Z2) + Z3 และ Z1(Z2Z3) = (Z1Z2) Z3 (สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม)
3. Z1(Z2 + Z3) = Z1Z2 + Z1Z3 (สมบัติการแจกแจง)
สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
สมบัติของพีชคณิตนั้นจะมีนอกจากการบวกเเละการคูณ โดยจะมีหัวข้อใหญ่ๆดังต่อไปนี้
(a, b) + (0 , 0) = (a+0, b+0) = (a, b)
ทำนองเดียวกัน (0 , 0) + (a, b) = (a, b)
ดังนั้น (0 , 0) เป็นเอกลักษณ์การบวกในระบบจำนวนเชิงซ้อน
หากลองพิสูจน์อีกรูปเเบบนั่นคือ (a, b) + ( – a, – b) = (a – a, b – b) = (0, 0)
และ ( – a, – b) + (a , b) = (0 , 0)
ดังนั้น ( – a, – b) เป็นตัวผกผันการบวกของ (a , b)
หรือ – a – bi เป็นตัวผกผันการบวกของ a + bi
ตัวผกผันการบวกของจำนวนเชิงซ้อน z เขียนแทนด้วย – z
ฉะนั้น – (a +bi) = – a – bi หรือเป็นการกระจายการลบนั่นเอง
ตัวอย่าง
ตัวผกผันการบวกของ ( – 8 , 2) คือ (8, – 2)
ตัวผกผันการบวกของ -4+3i คือ 4 – 3i
ตัวผกผันการบวกของ 2 – 3i คือ – 2+ 3i
ซึ่งจากบทข้างต้นนั้น เราจะนิยามการลบกันของจำนวนเชิงซ้อน ดังนี้
z – w = z + ( – w) สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z, w ใดๆ