ดอกเบี้ย คือ เงินซึ่งเป็นค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ฝากเงินหรือการฝากเงิน
ดอกเบี้ย, ตั๋วเงิน
ประเภทของดอกเบี้ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ดอกเบี้ยคงต้น
2. ดอกเบี้ยทบต้น
ดอกเบี้ยคงต้น หมายถึง ดอกเบี้ยที่คิดเงินต้นคงที่ตลอดระยะเวลาของการกู้ยืมเงิน
สูตรในการคำนวณมีดังนี้
I= Pin
เมื่อ I คือ ดอกเบี้ยคงต้น
P คือ เงินต้น
i คือ อัตราดอกเบี้ยต่อหน่วยเวลา
n คือ จำนวนหน่วยเวลา
ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงิน และ เช็ค ที่ใช้ในวงการธุรกิจ นั้น ผู้ถือตั๋วจะได้รับเงิน เต็มตามจำนวนระบุ ไว้ในตั๋วเมื่อตั๋วถึง
กำหนดวันรับ เงิน หากยังไม่ถึงวันถึงกำหนดรับเงิน อาจนาตั๋วเงินฉบับนี้ไปขายให้แก่ สถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่น แต่
จำนวนเงินที่ได้รับจะน้อยกว่าเงินที่ระบุไว้ในตั๋ว เพราะถูกหักดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียม การนำตั๋วไปขายก่อนวันถึงกำหนด
เรียกว่า การขายลดตั๋วเงิน
รายละเอียดต่างๆที่ใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับตั๋วเงิน
1. เงินหน้าตั๋ว คือจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋ว
2. เงินถึงกำหนด คือ วันที่ลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามที่ระบุไว้ในตั๋ว จ่ายเงินให้ผู้ถือตั๋ว
การหาวันถึงกำหนด มี 2 ประการ คือ
1. ถ้าเงินหน้าตั๋วกำหนดเป็นจำนวนวัน ให้เริ่มนับวันที่ถัดจากวันที่ออกตั๋วไปจนครบจำนวนวัน ตามที่กำหนดไว้ในตั๋ว เช่น
ตั๋วเงินลงวันที่ 14 กันยายน 2546 กำหนด 60 วัน หาวันถึงกำหนดได้ ดังนี้
ก.ย.46 ต.ค.46 พ.ย.46
(30-14) = 16 + 31 +13= 60วัน
2. ถ้าเงินหน้าตั๋วกำหนดเป็นเดือน ให้เริ่มนับวันที่เดียวกับวันออกตั๋วของเดือนถัดไป เป็นครบ 1 เดือน
– ตั๋วเงินลงวันที่ 4 สิงหาคม 2546 กำหนด 2 เดือน วันถึงกำหนด คือวันที่ 4 ตุลาคม 2546
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาเงินลดคือสูตร D= Sdn
เมื่อ D คือ เงินลด
S คือ เงินหน้าตั๋ว
d คือ อัตราเงินลด
n คือ ระยะเวลาคิดลด
หุ้นและพันธบัตร
หุ้นและตราสารต่างๆที่มีการซื้อ – ขายในตลาดหลักทรัพย์มีดังนี้้
1.หุ้นสามัญ(Common Share)
2.หุ้นบุริมสิทธิ(Preferred Share)
3. หุ้นกู้(Debenture)
4.พันธบัตรรัฐบาล(Bond)
5.หน่วยลงทุน(Unit Trust)
หุ้นสามัญ หมายถึง หุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการ ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากกิจการจะอยู่ในรูปเงินปันผล
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์มีดังนี้
เงินปันผล
ดอกเบี้ย
กำไรจากการขายหลักทรัพย์
การคำนวณเงินปันผลของหลักทรัพย์ต่าง ๆมีดังนี้
หุ้นบุริมสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิรับเงินปันผลตามเงื่อนไขที่ระบุก่อนหุ้นสามัญ
เงินปันผลต่อหุ้นของหุ้นบุริมสิทธิ อัตราเงินปันผล xx ค่ามูลค่าไว้ที่ตราไว้
2 . หุ้นสามัญ การคำนวณเงินปันผลของผู้ถือหุ้นสามัญ มี 2 กรณีคือ
2.1 บริษัทมีหุ้นสามัญเพียงอย่างเดียว
เงินปันผลต่อหุ้นของหุ้นสามัญเงินปันผลทั้งหมด
จำนวนหุ้นสามัญ
2.2 บริษัทมีทั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
เงินปันผลต่อหุ้นของหุ้นสามัญ=เงินปันผลทั้งหมด-เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ
จำนวนหุ้นสามัญ
|