อีกทั้งยังมีการเสวนาหัวข้อ “ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน” โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท แฮนอัพ เน็ทเวิร์ค จำกัด หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบมุ่งเป้า และตัวแทนพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัตตานี และนราธิวาส รวมไปถึงการนำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน อาทิ เทคโนโลยี “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เทคโนโลยี “ระบบอบแห้งชนิดการแผ่รังสีความร้อนของเซรามิก” และเทคโนโลยี “ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบบอลลูนด้วยผ้าใบโพลีเอสเตอร์
ท้ายสุด สนช. ได้ประกาศเปิดตัวรับสมัครโครงการ “หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ระยะที่ 2” ใน 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แต่ ชุมชนจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ชุมชนเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และชุมชนแม่เหาะ อำเภอสะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรับสมัครตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2562 – 31 พฤษภาคม 2562
ซึ่งนวัตกรรมตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จไประดับหนึ่งก็คือ เทคโนโลยี “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เทคโนโลยี “ระบบอบแห้งชนิดการแผ่รังสีความร้อนของเซรามิก” และเทคโนโลยี “ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบบอลลูนด้วยผ้าใบโพลีเอสเตอร์ และที่เป็นโครงการในการดำเนินงานต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนการนำนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมการตลาดสำหรับสินค้าชุมชน นวัตกรรมการเงิน นวัตกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร นวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมพลังงานทดแทน นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ และนวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรม เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาความยากจนในสังคมไทยสอดคล้องกับบริบททางสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ นั่นก็คือการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม และถึงแม้ว่าเรากำลังจะผันตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม แต่ก็ยังคงเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรอยู่ดี ดังนั้นเทคโนโลยีส่วนใหญ่ก็จะถูกออกแบบและสร้างสรรค์มาเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรเสียส่วนใหญ่
แต่เป็นสัญญาณที่ดีว่าการแก้ไขปัญหาความจนด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมีแนวโน้มไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น โครงการต่าง ๆ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องก็หมายถึงโครงการก่อนหน้าประสบความสำเร็จ ผู้เขียนเองก็หวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่า การแก้ไขปัญหานี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ซึ่งจะส่งผลถึงความสำเร็จในระดับประเทศได้อย่างแน่นอน
แหล่งที่มา
บลูชิพ online. เอ็นไอเอ นำนวัตกรรม แก้เหลื่อมล้ำนำร่อง 6 หมู่บ้าน. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://www.bluechipthai.com/news-เอ็นไอเอ_นำนวัตกรรม_แก้เหลื่อมล้ำนำร่อง_6_หมู่บ้าน-31363935
NIA ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม จัดงานสัมมนาเรื่อง “นวัตกรรมกับการแก้ปัญหาความยากจน” . สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://www.nia.or.th/Social26-04
และ https://www.scimath.org/