ในการเสนอแนะหรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมา ฉะนั้น จึงใช้รูปประโยคต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ประโยคคำสั่ง (Command) ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวนแบบกันเอง โดยไม่ต้องการคำตอบ เป็นความประสงค์ของผู้พูดเป็นหลัก มีโครงสร้างดังนี้ Let’s……… (…………กันเถอะ)
ตัวอย่าง
Let’s go for a walk. ไปเดินเล่นกันเถอะ
Let’s play football after class. เลิกเรียนแล้วเล่นฟุตบอลกันเถอะ
Let’s do homework right now. บัดนี้ มาทำการบ้านกันเถอะ
Let’s have coffee. ดื่มกาแฟกันเถอะ
Let’s not tell him the news. เราอย่าบอกข่าวเขานะ
2. ประโยคบอกเล่า (Statement) ประโยคบอกเล่าจะมีความหมาย ในทางเสนอแนะมากกว่า เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถือเป็นการเสนอแนะโดยตรง โดยมีโครงสร้างดังนี้ I suggest we should…….. (ฉันขอเสนอว่า เราควร……) advise (แนะนำว่า) propose We should……..(เราควร……) ought to…………. ตัวอย่าง
I suggest that we should come early tomorrow. ฉันขอเสนอแนะว่า เราควรมาแต่เช้า วันพรุ่งนี้
I advise we should take jogging in the morning. ฉันขอแนะนำว่า เราควรวิ่งออกกำลังในตอนเช้า
I propose that we should go to the seaside next Sunday. ฉันขอเสนอว่า เราควรไปชายทะเลกัน วันอาทิตย์หน้า
I suggest we should not go into that place. ฉันขอเสนอแนะว่า เราไม่ควรเข้าไปที่นั่น
I advise we not be late for the meeting. ฉันแนะว่า เราไม่ควรไปประชุมสาย
We should reach there before six. เราควรถึงที่นั่นก่อน 6 โมง
We should not miss such a good chance. เราไม่ควรพลาดโอกาสดีๆ เช่นนั้น
3. ประโยคคำถาม (Question) การชักชวน เสนอแนะที่ใช้รูปคำถาม ถือเป็นการเสนอแนะชักชวนโดยอ้อม แสดงถึงการเกรงใจ ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย นิยมใช้มาก ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้ Yes/No Question : Shall we…………? เรา………กันดีไหม
Wh- Question : Why don’t we………..? เรา .. … กันไหม
How about……….? …………….ดีไหม Indirect
Question : I wonder if we ฉันไม่ทราบว่า เรา………….ไหม
ตัวอย่าง Shall we go shopping after class? หลังเลิกเรียนแล้ว เราไปหาซื้อของกันไหม
Shall we watch TV. right now? ตอนนี้ เราดูทีวีกันไหม
Shall we have some drinks? เรามาดื่มเครื่องดื่มกันดีไหม
Why don’t we do exercises together? เราทำแบบฝึกหัดด้วยกันไหม
Why don’t we set the table? เรามาจัดโต๊ะกันดีไหม
How about having a party tonight? คืนนี้จัดงานเลี้ยงกันไหม
How about playing tennis this evening? เย็นนี้ เล่นเทนนิสกันไหม
I wonder if we should go there early. ฉันไม่ทราบว่า เราควรไปที่นั่นกันแต่เช้าไหม
I wonder if we should talk to him like that. ฉันไม่ทราบว่า เราควรพูดกับเขาเช่นนั้นไหม
การตอบรับ (Accepting) การตอบรับการชักชวนหรือการเสนอแนะนั้น ใช้ได้หลายคำ ดังนี้
All right. ตกลง O.K. ตกลง Sure ได้เลย Yes, let’s ได้, เชิญเลย Why not ได้เลย/ทำไมจะไม่ได้ That’s a good idea. เป็นความคิดที่ดี That’s very good. / Very good. ดีมากเลย การตอบปฏิเสธ (Refusing) ถ้าไม่เห็นด้วยหรือปฏิเสธการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้นก็ใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธแบบสุภาพ แล้วจึงตามด้วยเหตุผลที่ปฏิเสธนั้น มีดังนี้
I’m sorry I’m not well. ขอโทษ ฉันไม่สบาย
I’m afraid…………. ฉันเกรงว่า…………. I wish I could but……………… ฉันอยากจะ……. แต่ว่า…………. I don’t think so. ฉันคิดว่า คงไม่ That’s a good idea but……… เป็นความคิดที่ดี แต่ว่า…………… ข้อสังเกต
-Shall I………… ใช้สำหรับเสนอตัว ส่วน Shall we ใช้สำหรับ เสนอแนะชักชวน
-Why don’t we มีความหมายเป็นได้ทั้งถามธรรมดาและการ ชักชวนก็ได้ ส่วนจะให้มีความหมายอย่างไรนั้น ก็อยู่ที่สถานการณ์นั้นๆ
ตัวอย่าง
ถามธรรมดา | ชักชวนเสนอแนะ |
Why don’t we like him? ทำไมพวกเราจึงไม่ชอบเขา | Why don’t we go to see him? พวกเราไปเยี่ยมเขากันไหม |
Why don’t we learn Thai? ทำไมเราไม่เรียนภาษาไทย | Why don’t we learn Thai? ทำไมพวกเราจึงไม่เรียนภาษาไทยกันล่ะ (เราเรียนภาษาไทยกันดีไหม) |
How about ตามด้วยกริยาเติม ing (Gerund) มีความหมายเป็น การชักชวนแบบกันเอง ถ้าตามด้วยคำนาม มีความหมายเป็นคำถามธรรมดา เช่น
ชักชวน | ถามธรรมดา |
How about learning Thai? เรียนภาษาไทยกันไหม | How about Thai language? ภาษาไทยเป็นยังไง |
How about doing exercises? ทำแบบฝึกหัดกันไหม | How about exercises? แบบฝึกหัดเป็นยังไง |
-Let me ใช้สำหรับขออนุญาตและเสนอตัวส่วน Let’s (Let us) ใช้สำหรับการชักชวน
-ในประโยคที่ตามหลังกริยาเกี่ยวกับการเสนอแนะ หรือแนะนำ อาจละ should ได้คงไว้แต่ infinitive ที่ตามมา ประโยคในความหมายเช่นนี้ เรียกว่า Subjunctive Mood เช่น I suggest we (should) be on time. ฉันขอเสนอแนะว่า เราควรจะมาตรงเวลา I advise that we (should) not eat too much. ฉันขอแนะนำว่า เราไม่ควรรับประทานมากเกินไป
ขอบคุณข้อมูล http://www.engisfun.com/