หม่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus sp. ชื่อภาษาอังกฤษคือ White Mulberry, Mulberry Tree และมีชื่อภาษาท้องถิ่นได้แก่ หม่อน, มอน (อีสาน), ซึมเฮียะ (จีน) อยู่ในวงศ์ Moraceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหม่อน เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง
การขยายพันธุ์หม่อน นิยมใช้วิธีการปักชำกิ่งมากที่สุด เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถให้ต้นหม่อน และใบหม่อนที่สมบูรณ์เต็มที่ได้ กิ่งพันธุ์หม่อนที่ใช้ในการปักชำ ควรเป็นกิ่งแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป จนถึง 2 ปี
1.ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ แต่ผลไม้ดีอย่างมัลเบอร์รีนั้นก็มีคุณสมบัติช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดมีการผกผันได้ โดยจะชะลอการย่อยของคาร์โบไฮเดรต ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่เกิดการผกผันจนส่งผลกระทบกับร่างกายได้นั่นเอง
2.ช่วยลดคอเลสเตอรอล
ไขมันภายในร่างกายอย่างคอเลสเตอรอลนั้นจำเป็นอย่างมากทีเดียวที่เราจะต้องคอยควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปกติ เพราะปล่อยให้ร่างกายมีปริมาณไขมันดังกล่าวมากเกินไปก็ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การทานมัลเบอร์รีจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ลงได้ ทั้งยังสามารถกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) เข้ามาแทนที่ได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นนะคะ มันยังช่วยลดไขมันที่พอกพูนอยู่ในตับให้น้อยลงได้อีกด้วย
วิธีการนำไปใช้ประโยชน์
- การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง
- การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน
- ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
- หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.sanook.com/women/80093/
และ https://www.scimath.org/article-science/item/9114-mulberry