ที่ตั้ง
|
||
ประวัติ | |
ป้อมพระสุเมรสร้างเมื่อ พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันพระนครซึ่งได้สร้างขึ้นทั้งหมดจำนวน 14 ป้อม แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้สร้างวังเจ้านายไว้ที่บริเวณริมป้อมที่สำคัญด้วย สำหรับป้อมพระสุเมรุมีวังริมป้อมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา เพื่อให้มีหน้าที่รักษาพระนครทางด้านปากคลองบางลำพูบน ซึ่งเป็นมุมพระนครด้านเหนือ และวังริมป้อมจักรเพชรเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เพื่อรักษามุมพระนครด้านใต้ | |
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม | |
ป้อมพระสุเมรลักษณะเป็นป้อมก่ออิฐถือปูน ทรงแปดเหลี่ยม หันหน้าออกริมคลองบางลำพู รากฐานของป้อมและกำแพงเป็นฐานแผ่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 2 เมตร วัดจากด้านเหนือไปใต้กว้าง 45 เมตร สูงจากพื้นดินถึงยอดใบเสมาบนป้อม 10.50 เมตร และจากพื้นป้อมชั้นบนถึงหลังคาหอรบ 18.90 เมตร ลักษณะเป็นป้อม 3 ชั้นมีบันไดขึ้นป้อมจากด้านในกำแพงจำนวน 3 บันได มีเชิงเทินและแผงบังปืน |
|
|||
ป้อมชั้นล่างแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีกำแพงใบเสมาชนิดปลายแหลมกั้นระหว่างผนังป้อมชั้นล่างและชั้นบน มีประตูออกไปสู่ส่วนหน้าของป้อม ส่วนหน้าของป้อมชั้นล่างนี้ กำแพงมีใบเสมาชนิดเหลี่ยมขนาดใหญ่ แต่ละเสมาเจาะช่องตีนกาหรือกากบาทเล็กๆหลายช่อง ป้อมชั้นที่สองมีบันไดทางขึ้นอยู่ทางส่วนหลังของป้อม 1 บันได ( 16 ขั้น ) กำแพงของป้อมชั้นที่สองนี้มีใบเสมาชนิดปลายแหลม ต่ำจากใบเสมาลงมาเจาะเป็นช่องโค้งปลายแหลม ( Pointed arch ) ด้านละ 4 ช่องและยังมีช่องตีนกาเล็กๆ เรียงสับหว่างกันอีก 3 แถว |
|
||
ตรงกลางป้อมก่อผนังแบ่งเป็นห้องๆรวม 38 ห้อง เพื่อเก็บกระสุนดินดำและอาวุธ ส่วนหอรบรูปเจ็ดเหลี่ยมและหลังคาป้อมได้พังทลายไประหว่างรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรจึงได้บูรณะขึ้นใหม่เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดยอาศัยรูปถ่ายของเดิมครั้งรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันกรม ศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนป้อมพระสุเมรุพร้อมด้วยปราการเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 | |
การขุดค้น |
จากการขุดตรวจบริเวณโบราณสถานป้อมพระสุเมรุ ปากคลองบางลำพู ในเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างพระที่นั่งสันติไชยปราการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ดำเนินงานโดยบริษัทศิวกรการช่าง จำกัด ภายใต้การควบคุมของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2542 นั้น ได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากที่อาจแยกตามประเภทของวัตถุได้ดังนี้ |
|
ประเภทดินเผา |
|
เศษภาชนะดินเผา ส่วนใหญ่สภาพชำรุดแตกหัก สันนิษฐานว่าถูกนำมาทิ้งเป็นขยะหรือไม่ก็ปนอยู่ในชั้นดินบดอัดเพื่อทำเป็นฐานราก มีทั้งแบบเนื้อดิน ( Earthenware ) และเนื้อแกร่ง (Stoneware ) ประเภท หม้อ อ่าง กระปุก ไห ชาม อ่างใหญ่ และกระถาง นอกจากนี้ยังมีพวกเนื้อกระเบื้อง (Porcelain ) เป็นพวกเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ทีใช้ในราชสำนักอยุธยาและกรุงเทพฯ เครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตั้งแต่ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 – 20 ส่วนเครื่องถ้วยญี่ปุ่นมีพบที่เก่าถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางส่วนเป็นเครื่องถ้วยตะวันตก เช่น เนเธอร์แลนด์ ภาชนะเนื้อกระเบื้องนี้พบตั้งแต่จาน ชาม ถ้วย ช้อน โถ ถ้วยน้ำชาเล็กๆ ไห และฝาปิดภาชนะ การที่เศษภาชนะดินเผาที่พบมีการทับถมปะปนกันสูงมากแสดงถึงการรบกวนจากการทำกิจกรรมในช่วงเวลาต่างๆ |
โอ่ง( ตุ่ม) เป็นตุ่มก้นสอบ ปากแคบ ขนาดโดยเฉลี่ย กว้าง 53-55 เซนติเมตร สูง 55-58 เซนติเมตร พบจากการขุดตรวจสอบอบฐานทางด้านทิศตะวันตกทั้งสิ้น 8 ใบในลักษณะคว่ำลง ภายในว่างเปล่า เรียงในลักษณะสลับฟันปลาซ้อนเป็นชั้นๆแล้วใช้ดินถมอัดแทรกเข้าไป จากนั้นจึงปรับระดับโดยมีการปูอิฐทับที่ระดับ ความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ก่อนที่จะถมอัดดิน แล้วปูอิฐที่ความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดินอีกชั้นหนึ่ง |
|
กระเบื้อง แบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ กระเบื้องหางเหยี่ยว ( กระเบื้องเกล็ดเต่า) กระเบื้องกาบกล้วย ( กระเบื้องกาบ ) กระเบื้องเชิงชาย ซึ่งพบเพียงชิ้นเดียว กระเบื้องเหล่านี้น่าจะรื้อมาจากอยุธยาเพื่อใช้ถมทำฐานรากกำแพงกรุงรัตนโกสินทร์ในช่วง พ.ศ. 2325 นอกจากนี้ก็มีกระเบื้องปูพื้นจากการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524-2525 | |
อิฐ แบ่งได้เป็นอิฐที่สมบูรณ์ใช้สำหรับก่อสร้างตัวป้อม ขนาดโดยเฉลี่ยกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 28 – 30 เซนติเมตร และหนา 5-9 เซนติเมตร และอิฐหัก ซึ่งคงรื้อมาจากอยุธยาเช่นเดียวกับกระเบื้อง ใช้ถมเป็นฐานรากของตัวป้อม | |
พระพิมพ์ พบพระพิมพ์แบบเนื้อชินทำเลียนแบบพระกำแพงเจ็ด แต่น่าจะเป็นของสมัยปัจจุบันมากกว่า | |
ประเภทโลหะ |
|
ส่วนใหญ่ชำรุด ไม่สามารถระบุประโยชน์ใช้งานได้ บางชิ้นเป็นชิ้นส่วนเครื่องเรือน บ้างก็เป็นเข็มขัดรัดสายไฟ กระทั่งปลอกรัดสายยางขนาดใหญ่ก็ได้พบด้วย | |
ประเภทกระดูกสัตว์และเปลือกหอย | |
กระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีจำนวนน้อยมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกระดูกซึ่งคนที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในช่วงรัชกาลที่ 7 นำมาประกอบอาหาร ส่วนเปลือกหอยพบเพียง 2 ชิ้น เป็นหอยแครงและหอยเบี้ยขาว | |
ประเภทไม้ |
|
โบราณวัตถุประเภทนี้มักพบในชั้นดินระดับความลึก 20 – 40 เซนติเมตรจากผิวดิน ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นคอนกรีตปูกระเบื้องจากการบูรณะในปี พ.ศ. 2524 – 2525 สภาพเป็นชิ้นไม้มีร่องรอยเผาไหม้ ชั้นดินในบริเวณที่พบจะมีสีดำ มีส่วนผสมของเถ้าถ่านเหมือนกันแทบทุกจุดในบริเวณชานป้อมชั้นที่หนึ่ง จึงอาจนำมาเชื่อมโยงกับหลักฐานเอกสาร ที่กล่าวถึง เหตุการณ์ไฟไหม้ป้อมพระสุเมรุใน พ.ศ. 2514 ได้ | |
ประเภทปูน |
|
เป็นปูนที่ใช้ในการสออิฐและฉาบผนังในช่วงการก่อสร้างและซ่อมแซม กับทั้งเศษปูนเก่าที่ใช้บดอัดทำฐานราก | |
ประเภทแก้ว |
|
พบชิ้นส่วนเครื่องแก้วสีชาและสีเขียว สันนิษฐานว่าเป็นขวดที่นำเข้าจากต่างประเทศ |
ข้อสรุปจากการขุดตรวจ |
|
การขุดตรวจมีจุดมุ่งหมายหลักในการตรวจสอบระบบโครงสร้างฐานราก และสืบทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าโบราณวัตถุที่ขุดพบดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะไม่สามารถบอกลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพื้นที่โบราณสถานป้อมพระสุเมรุได้ แต่ก็ได้พบหลักฐานการบูรณะซ้อนทับเป็นฐานบัวสามแนวที่หลุมขุดตรวจตรงมุมป้อมทิศตะวันตกดังนี้ | |
ฐานบัวชั้นแรก อยู่ลึก 100เซนติเมตร เป็นรูปบัวคว่ำ ฉาบปูนเรียบ น่าจะเป็นฐานของตัวป้อมเดิมเมื่อแรกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 | |
ฐานบัวชั้นที่สอง อยู่ลึก 50 เซนติเมตร เป็นรูปบัวคว่ำฉาบปูนเรียบเช่นเดียวกันแต่ก่อปิดทับซ้อนบนฐานชั้นแรก ดังนั้นจึงควรเป็นการซ่อมบูรณะสมัยรัชกาลที่ 7 ในพ.ศ. 2471 | |
ฐานบัวชั้นที่สาม อยู่ที่ระดับพื้นดินปกติ เป็นงานบูรณะเมื่อพ.ศ. 2525 | |
นอกจากนี้ การขุดตรวจยังทำให้ทราบถึงระบบการทำฐานรากของป้อม ว่ามีทั้งแบบถมอัดด้วยอิฐหัก คล้ายกับที่เคยพบตรงแนวกำแพงเมืองเก่า ริมคลองคูเมืองเดิม วิธีนี้กระทำโดยก่อกำแพงขนานกันขึ้นสองด้าน จากนั้นถมอัดเศษอิฐหักลงไป ชั้นล่างใช้อิฐขนาดเล็กส่วนชั้นบนใช้อิฐขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่นหนาแข็งแรง ส่วนฐานรากอีกแบบหนึ่งคือ แบบถมโปร่ง กระทำโดยนำตุ่มสามโคกวางคว่ำสลับกันแล้วถมดินอัดลงไปในช่องว่างเพื่อลดน้ำหนักกดทับรอบๆตัวป้อม |
|
เทคนิคแบบถมโปร่งนี้เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการก่อสร้างภูเขาทองในพ.ศ. 2407 ครั้งนั้นใช้ตุ่มสามโคกวางคว่ำแล้วอัดด้วยดินเป็นชั้นๆ นอกจากนี้ยังปรากฏที่วิหารวัดราชประดิษฐ์และวัดราชบพิธแต่เปลี่ยนไปใช้ไหซองแทนตุ่มสามโคก จากการคำนวณน้ำหนักเทียบกับการอัดดินเปล่าๆพบว่าระบบถมโปร่งช่วยลดน้ำหนักลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว |
|
ในส่วนของพื้นป้อม สมัยแรกเริ่มน่าจะเป็นพื้นปูอิฐ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นพื้นไม้กระดานวางบนตอม่อก่ออิฐถือปูน สำหรับพื้นของชานป้อมชั้นที่2 รวมทั้งหอรบชั้นที่ 3 นั้นน่าจะเป็นไม้ เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 และในพ.ศ. 2525 ก็ได้ทำการบูรณะจนกระทั่งมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน |
|
เอกสารอ้างอิง |
|
เทพชู ทับทอง. กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ 200 ปี. กรุงเทพฯ : เทพพิทักษ์การพิมพ์, 2524 |