แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
การค้นพบอิเล็กตรอนโดยการทดลองของทอมสัน
19.2.1 การค้นพบอิเล็กตรอนโดยการทดลองของทอมสัน
เจ เจ ทอมสัน (J.J. Thomson) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2440 ใช้หลอดรังสีแคโทดหาอัตราส่วนประจุต่อมวล (q/m) ของอนุภาคได้เท่ากับ 1.76 X 10 11 คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม ซึ่งการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีมวลและอิเล็กตรอน คือ ส่วนประกอบที่สำคัญของอะตอม
สรุปผลการทดลองของ Thomson
1. ทอมสันได้ทำการทดลองโดยจัดขนาดและทิศทางของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กให้เท่ากัน จนกระทั่งรังสีแคโทดวิ่งเป็นเส้นตรง ดังรูป 19.4
FE = FB
qE = qvB
รูป 19.4 แนวทางการเคลื่อนที่ของอนุภาครังสีแคโทดในบริเวณที่มีสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเท่ากัน
2. ทอมสันตัดสนามไฟฟ้าออกเหลือแต่สนามแม่เหล็กปรากฏว่ารังสีแคโทดวิ่งเป็นเส้นโค้งรัศมี R
ดังรูป 19.5
FB = FC
รูป 19.5 แนวทางการเคลื่อนที่ของอนุภาครังสีแคโทด ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก
ถ้ามีการเร่งประจุด้วยความต่างศักย์ หาประจุต่อมวลจาก
Ek = EP
mv2 = qV
ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด
จากผลการทดลองทำให้ทอมสันได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของรังสีแคโทดดังนี้
1. รังสีแคโทดเดินทางเป็นเส้นตรง
2. มีประจุลบ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
3. มีค่าประจุต่อมวลคงที่
ทอมสันพบว่าอะตอมทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบและเรียกอนุภาคนี้ว่า“อิเล็กตรอน(e-)”
การค้นพบโปรตอน
ออยเกน โกลด์ชไตน์
http://class407mst.blogspot.com/2012/01/eugen-goldstein.html
ได้ทำการทดลองโดยเจาะรูที่ขั้วแคโทดในหลอดรังสีแคโทดพบว่า เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดรังสีแคโทดจะมีอนุภาคชนิดหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดผ่านรูของขั้วแคโทดและทำให้ฉากด้านหลังขั้วแคโทดเรืองแสงได้
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/chemical4_2/Lesson1/Lesson1.php
สมบัติรังสีบวกมีดังนี้
1. เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังขั้วแคโทด
2. เมื่อผ่านรังสีนี้ไปยังสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รังสีนี้เบี่ยงเบนไปหาขั้วลบแสดงว่ารังสีนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก
3. มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สในหลอด และถ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจนรังสีนี้จะมีอัตราส่วนประจุต่อมวลสูงสุดเรียกอนุภาคบวกนี้ว่า “โปรตอน”
4. มีมวลมากกว่ารังสีแคโทดเนื่องจากความเร็วในการเคลื่อนที่ต่ำกว่ารังสีแคโทด
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/228/FG05_06.jpg
จากข้อมูลทั้งหมดทอมสันได้เสนอแบบจำลองอะตอมดังนี้
อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกและอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้านั่นคือ มีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
LordErnest Rutherford นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-chemistry1/atomic_structure/rutherford.htm
ศึกษาทดลองยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทองคำบาง
ปรากฏผลการทดลองดังนี้
1. อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง
2. อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง
3. อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
http://thn2434555chemisty.blogspot.com/2016/08/blog-post_2.html
อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่มีมวลมากและมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส
การค้นพบนิวตรอน
เซอร์เจมส์ แชดวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
http://chemistryprc1.wixsite.com/atom404/rutherford
ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปที่แผ่นบางของเบริลเลียมและพิสูจน์ได้ว่าภายในนิวเคลียสยังมีอนุภาคอีก ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าอยู่ด้วยและเรียกอนุภาคนี้ว่า “นิวตรอน(Neutron)” จากการค้นพบนิวตรอนทำให้ทราบว่าภายในอะตอมประกอบด้วยอนุภาค 3 ชนิดคือ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน
แบบจำลองอะตอมภายหลังการค้นพบนิวตรอน
https://jakkapech5652.files.wordpress.com/2014/02/snap9.jpg
อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ตรงกลางอะตอมเรียกว่านิวเคลียสและมีอิเล็กตรอนซึ่งมีจำนวนเท่ากับโปรตอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส
แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่า อิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นทั้งอนุภาคและคลื่น
เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอมจึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้แต่มีโอกาสที่
จะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสบางบริเวณเท่านั้น
แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
https://jakkapech5652.files.wordpress.com/2014/02/untitled5.gif
อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่กลุ่มหมอกทึบ แสดงว่า
มีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่มีกลุ่มหมอกจาง
ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์
ไอโซโทป(Isotope)หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน แต่มีเลขมวลต่างกัน
หรืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
ตัวอย่างไอโซโทปเช่น ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทปคือ
ไอโซโทน(Isotone)หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมและ
เลขมวลต่างกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
ตัวอย่างไอโซโทนเช่น
ไอโซบาร์(Isobar)หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกัน แต่มีเลขมวลเท่ากัน
ตัวอย่างไอโซบาร์เช่น