ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ร้ายแรงในโลก
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลกทางธรรมชาติในโลกการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติหรือจากการกระท าของมนุษย์ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆของโลกอาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวลมนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งเป็น
อันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลกต่างๆ เพื่อจะได้ปรับวิถึชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในขณะนี้
ภัยพิบัติทางธรรมชาติภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดอันตราย
และเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ คือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เช่น การเกิดแผ่นดินถล่ม อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ เช่น วาตภัย ภาวะโลกร้อน ลูกเห็บ
ฟ้าผ่า เป็นต้น
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว (Earthquake) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แผ่นดินมีการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรงบางอย่างที่อยู่ใต้พื้นโลก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นของแผ่นดินไหวจะกระจายไปสู่บริเวณส่วนต่างๆ ของ
โลก และถ้าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเป็นไปอย่างรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างออกไปไกลนับหมื่นกิโลเมตรก็สามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้
1) ปัจจัยที่ท าให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้จุดใดจุดหนึ่นบนผิวโลก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของความเครียดภายในเปลือกโลกใน
รูปแบบของการเลื่อนตัวของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน
2) สถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว ในปัจจุบันได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของโลกบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยมีศูนย์กลางการเกิดตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวรอยต่อของ
แผ่นเปลือกโลกทั้งหลายในประเทศไทยการเกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวค่อนข้างน้อยและได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ห่างไกลจากแนวแผ่นเปลือกโลกและแนวภูเขาไฟ แม้ประเทศไทยจะมีรอยต่อเลื่อน
มีพลังในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้แต่เป็นรอยเลื่อนขนาดเล็กส่วนใหญ่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะอยู่บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ทางตอนใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของประเทศลาว
3) ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้น (ขนาดปานกลาง 4-6 ริกเตอร์ ขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์) จะเกิดรอยร้าวของอาคารและสิ่งของตกลงพื้นหรือแกว่ง แต่ถ้าขนาด
ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คือ ตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดความรุนแรงมาก คือ อาคารที่ไม่แข็งแรงจะพัง
ทรุดถล่ม มีผู้เสียชีวิตมาก กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และมีขนาดตั้งแต่ 7.5 ริกเตอร์ขึ้นไปส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามินอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจจะท าให้พื้นที่บริเวณเชิงเขาที่ลาดชันเกิด
ดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนแถบเขาและอาจเกิดแผ่นดินแยกกันพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยกรมทรัพยากรธรณีได้จัดท าแผนที่แสดงบริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยและแสดงความ
เสี่ยงของโอกาศการเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดความเสียหายตามมาตราอันดับขั้นรุนแรงของแผ่นดินไหวเรียกว่า”มาตราเมร์กัลป์ลี”(Mercalli scaie) ดังนี้
1. เขตความรุนแรงน้อย สภาพของแผ่นดินไหวจะสามารถตรวจจับความสั่นสะเทือนระดับ I-II เมร์กัลป์
ลี โดยเครื่องตรวจรับความสั่นสะเทือน คนไม่สามารถรู้สึกได้ พบได้บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของถาคตะวันออกเฉีง
เหนือและภาคตะวันออก
2. เขตความรุนแรงพอประมาณ สภาพของแผ่นดินไหวคนสามารถรู้สึกได้ และเครื่องตรวจจับความ
สั่นสะเทือนจะอยู่ในระดับ III-IV เมร์กัลป์ลี พบได้บริเวณภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบนภาคตะวันออก และ
ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป
3. เขตที่มีความรุนแรงน้อย-ปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ ระดับความสั่นสะเทือน V-VI
เมร์กัลป์ลี บ้านสั่นสะเทือน ต้นไม่สั่น สิ่งปลูกสร้างที่ออกแบบไม่ดีอาจพังได้ พบบริเวณภาคเหนือ ขอบภาค
กลางด้านทิศตะวันตก กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้
4. เขตที่มีความรุนแรงปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ สิ่งของในห้องตกหล่น ตึกร้าว
ระดับความสั่นสะเทือน VII-VIII เมร์กัลป์ลี ท าให้สิ่งก่อสร้างเสียหาย บริเวณที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ภาคเหนือ
และภาคตะวันตกที่มีชายแดนติดต่อกับสหภาพพม่าจนถึงจังหวัดกาญจนบุรี
4) การระวังภัยจากแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ แต่บริเวณใดที่เป็นจุดเสี่ยง
ต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงเป็นเพียงการลดความสูญเสียเท่านั้น
ข้อปฎิบัติในการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้
1. บุคคลที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ควรจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรคไว้ให้
พร้อม
2. ขณะเกิดเหตุห้ามใช้ลิฟต์เพราะไฟฟ้าอาจดับได้ และควรมุดลงใต้โตะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของร่วง
หล่นทับ
3. หากอยู่ภาคนอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า ก าแพง และอาคารสูง หายอยู่ใกล้ชายฝั่ง
ทะเลให้รีบขึ้นที่สูงที่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
4. ควรออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างให้สามารถรับแรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
5. ควรมีการฝึกซ้อมการหลบภัยแผ่นดินไหวแต่ละชุมชนหรือหน่วงงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
1.2 ภูเขาไฟปะทุ
ภูเขาไฟ (Volcano) เป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืด แก๊ส และเถ้าธุลี ภูเขาไฟจากใต้เปลือก
โลกแล้วปรากฎตัวเป็นสภาพภูมิประเทศ ภูเขาไฟมีทั้งที่ดับแล้วและที่ยังมีพลังอยู่ ภูเขาไฟที่ดับแล้วเป็นภูเขาไฟ
ที่เกิดขึ้นนานมาก อาจเป็นหลายแสนล้านปี หินหนืดที่ไหลออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นโลก ส่วน
ภูเขาไฟที่ยังมีพลังเป็นภูเขาไฟที่มีการปะทุ หรือดับชั่วคราว ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มอดแล้วนานนับพันปี อาจจะปะทุ
ใหม่ได้อีก ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1.300 ลูก และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วจ านวนมากที่
กลายเป็นภูเขาที่ส าคัญ
1) ปัจจัยที่ท าให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ ดังนี้
1.1) การปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าถ่านจากได้เปลือกโลก การปะทุมักมีสัณญาณบอกเหตุให้รู้
ล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหวในบริเวณรอบๆ ภูเขาไฟเกิดการสั่นสะเทือน มีเสียงคล้ายฟ้าร้อง เสียงที่ดังนั้นเกิด
จากการเคลื่อนไหวของแมกมา แก๊สต่างๆ และไอน้ าที่ถูกอัดไว้ เมื่อเกิดการปะทุ ลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง เถ้า
ถ่านภูเขาไฟ จะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟหรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ หรือตามรอย
แตกแยกของภูเขาไฟ แมกมาเมื่อขึ้นสู่ผิวโลกจะเรียกวา “ลาวา” (Lava) ลาวาที่ออกสู่พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูง
ถึง 1.200 ⁰ C ไหลไปตามความลาดเอียงของพื้นที่
1.2) การปะทุของหินหนืดหรือแมกมา ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลก
ตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจ านวนมากขึ้น และขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ
กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง
2) สถานการณ์การเกิดภูเขาไฟปะทุในย่านภูเขาไฟของโลกยังมีปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุอยู่ต่อเนื่อง ซึ่ง
เป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าภายในเปลือกโลกยังมีมวลหินหนืดหลอมละลายอยู่อีกและพยายามหาทางระบายความร้อน
ดังกล่าว ตัวอย่างการปะทุของภูเขาไฟใน พ.ศ.2552-2553 ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น ภูเขาไฟมาโยนใน
ประเทศฟิลิปปินส์ได้พ่นเศษเถ้าถ่านสู่ท้องฟ้า ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการอพยพประชาชน
ออกนอกพื้นที่แต่ปรากฏว่าเขาไฟไม่ปะทุ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเตอร์เรียลบาในประเทศ
คอสตาริกา ได้พ่นหมอกควันและปะทุลาวาร้อนท าให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น ส่งผลให้ประขาขนจ านวนมากต้อง
อพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และนับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา
ประเทศอินโดนีเซีย ได้ปะทุอย่างรุนแรงหลายครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน ต้องมีการอพยพ
ประชาชนราว 90.000 คนออกพื้นที่เสี่ยงภัย และมีทรัพย์สินเสียหายจ านวนมาก
ภูเขาไฟกระจัดกระจายยอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก บ้างก็เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วบ้างก็เป็นภูเขาไฟที่
รอวันปะทุ จากข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาระบุว่าโลกมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงกว่า 4.500 เมตร อยู่ถึง
14 แห่ง ดังต่อไปนี้
ส่วนในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ไฟรูปโล่ (Shield Volcano) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีความลาดชันน้อยประมาณ 4-10 องศา ภูเขาไฟแบบนี้เกิด
เนื่องจากการไหลลามของลาวาแบบบะซอลต์ซึ่งค่อนข้างเหลวและไหลง่าย จึงไหลแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้าง
หากมีการปะทุขึ้นก็จะไม่รุนแรง
ภูเขาไฟในหลายภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว พบได้ในจังหวัด ดังต่อไปนี้
3) ผลกระทบที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ
1. ท าให้เกิดแรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหววเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหว
ติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ได้
2. การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลมาจากปากปล่องภูเขาไฟและเคลื่อนที่เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อ
ชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันและเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
3. การเกิดฝุ่นภูเข้าไฟ เถ้า มูล ภูเขาไฟ ปะทุขึ้นสู่บรรยากาศครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ
และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟปะทุหลายพันกิโลเมตร ท าให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ า ใน
แหล่งน้ ากินน้ าใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ าท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟ
เหล่านั้น
4. เกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเกิดการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องทะเล คลื่นนี้อาจโถม
เข้าฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป
4) การระวังภัยที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุสามารถท าได้ดังนี้
1. ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่
โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง
ให้ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะต้องมีการอพยพหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนไม่อยากอพยพจนกว่าจะมีการปะทุ
และผู้คนจะกลับมาอยู่บ้านของตนได้เร็วที่สุดเมื่อใด
2. การพยากรณ์ควรเริ่มต้นด้วยการสังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักภูเขาไฟวิทยา
ที่มีประสบการณ์อย่าจริงจัง เพราะภูเขาไฟไม่ปะทุบ่อยนัก ประชาชน 2-3 พันล้านคนของโลกอาจไม่รู้ว่าได้ตั้ง
ถิ่นฐานอยู่บนเชิงภูเขาไฟที่ดับหรือไม่ดับก็ตาม ดังนั้นการเตือนภัยล่วงหน้าจะช่วยลดจ านวนคนที่ตกเป็นเหยื่อ
ของภูเขาไฟก็ได้ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ว่าภูเขาไฟอยู่ที่ไหน จะปะทุเมื่อไร จะคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินได้
อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
3. การให้ความรู้แก่ประชาชน ท าได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อ
ประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ นับว่าการเตือนภัยจากภูเขาไฟปะทุมีความส าเร็จไปครึ่งทาง
แล้ว ดีกว่าให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น