หลักการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์
1. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, ss, x, sh, ch, zz, และ z ให้เติม es ง่ายเวลาออกเสียง
- bus – buses (รถประจำทาง)
- kiss – kisses (จูบ)
- fox – foxes (สุนขจิ้งจอก)
- brush – brushes (แปรง)
- witch – witches (แม่มด)
- buzz – buzzes (เสียงของผึ้ง)
2. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม es
- buffalo – buffaloes (ควาย)
- mango – mangoes (มะม่วง)
- tomato – tomatoes (มะเขือเทศ)
- potato – potatoes (มันฝรั่ง)
*Remark* …ยกเว้นบางคำที่ข้างหน้า o เป็นพยัญชนะสามารถเติม s ได้เลย นักเรียนจะต้องสังเกตและจดจำคำศัพท์และการใช้ s และ es จากตัวอย่างที่ให้
ตัวอย่าง การเติม s หลังคำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม s ได้เลย
- piano – pianos (เปียโน)
- memo – memos (บันทึกข้อความ)
- solo – solos (การบันเลงเพลงเดี่ยว)
- photo – photos (รูปถ่าย)
3. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย
- radio – radios (วิทยุ)
- bamboo – bamboos (ไม้ไผ่)
4. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
- baby – babies (เด็กทารก)
- copy – copies (สำเนา)
- lady – ladies (สุภาพสตรี/คุณผู้หญิง)
- candy – candies (ลูกกวาด/ลูกอม)
5. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย
- toy – toys (ของเล่น)
- boy – boys (เด็กผู้ชาย)
- day – days (วัน)
- monkey – monkeys (ลิง)
6. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วเติม es
- knife – knives (มีด)
- leaf – leaves (ใบไม้)
- half – halves (ครึ่งหนึ่ง)
- shelf – shelves (ชั้นวางของ)
- wife – wives (ภรรยา)
- thief – thieves (ขโมย)
*Remark* …ยกเว้นบางคำที่ข้างหน้า f เป็นพยัญชนะ ให้เติม s ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ ef เป็น v ก่อน
- gulf – gulfs (อ่าว)
- cliff – cliffs (หน้าผา)
- scarf – scarfs หรือ scarves (ผ้าพันคอ) เมื่อเปลี่ยนเป็นพหูพจน์จะใช้ได้ทั้งสองแบบ
7. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe และหน้า f หรือ fe เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย
- roof – roofs (หลังคา)
- belief – beliefs (ความเชื่อ)
- chief – chiefs (หัวหน้า)
- proof – proofs (หลักฐาน/พิสูจน์)
- grief – griefs (ความเศร้าโศก)
- fife – fifes (ขลุ่ย)
- safe – safes (ตู้นิรภัย)
8. คำนามเอกพจน์เปลี่ยนรูปไปเลย เมื่อเป็นพหูพจน์
- man – men (ผู้ชาย)
- woman – women (ผู้หญิง)
- tooth – teeth (ฝัน)
- ox – oxen (วัวตัวผู้)
- louse -lice (เหา/หมัด)
- child – children (เด็ก)
- mouse – mice (หนู)
- person – people (คน/ประชาชน)
*Remark* …ยกเว้นบางคำที่มาจากภาษาลาตินหรือกรีก จะมีรูปเป็นพหูพจน์ตามภาษษเดิม
- crisis – crises (เหตุฉุกเฉิน)
- basis – bases (หลักสำคัญ/หลักเกณฑ์)
- thesis – theses (ข้อสมมติ/วิทยานิพนธ์)
- analysis – analyses (การวิเคราะห์)
9. คำนามมีรูปเหมือนกันทั้งคำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์
- dear – dear (กวาง)
- fish* – fish (ปลา)
- sheep – sheep (แกะ)
- salmon – salmon (ปลาแซลมอน)
- cod – cod (ปลาคอด)
- trout -trout (ปลาเทราท์)
*Remark* …เราสามารถเติม es หลัง fish เมื่อต้องการจะสื่อ หรือบอกว่ามี ปลาหลายสายพันธุ์
10. คำนามต่อไปนี้เป็นรูปพหูพจน์ แต่ต้องใช้เป็นเอกพจน์เสมอ
- tactics (กลวิธี)
- news (ข่าว)
- headquarters (กองบัญชาการ)
- means (วิธี)
- statistics (สถิติ)
- alms (การให้ทาน)
- folks (สมาชิกในครอบครัว)
- United Nations (สหประชาชาติ)