ข้อสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็นข้อสอบ 3 ส่วน ดังนี้
TPAT21 ทัศนศิลป์ 100 คะแนน ประกอบด้วย
พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 60 คะแนน
- หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
- การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
- ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 40 คะแนน
- การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
- การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
- ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน
TPAT21 ทัศนศิลป์ 100 คะแนน ประกอบด้วย
พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 60 คะแนน
- หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
- การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
- ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 40 คะแนน
- การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
- การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
- ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน
-
TPAT22 ดนตรี 100 คะแนน ประกอบด้วย
องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 50 คะแนน
- จังหวะ (Rhythm)
- ทํานอง (Melody)
- เสียงประสาน (Harmony)
- รูปพรรณ (Texture)
- สีสันของเสียง (Tone Color)
- ลักษณะของเสียง
- รูปแบบ (Form)
บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 50 คะแนน
- ประวัติและวรรณคดีดนตรี
- เครื่องดนตรีและแหล่งกําเนิดของเสียง
- ระดับของการฟัง
- หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
- ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต
50 ข้อ -
TPAT23 นาฏศิลป์ 100 คะแนน ประกอบด้วย
พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
- การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
- พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย
การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 30 คะแนน
- อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
- อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
- การสื่อความหมาย
- การแสดงออกทางสีหน้าแววตา
หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 30 คะแนน
- ทิศทาง
- ระดับ
- ขนาด
- การใช้พื้นที่ในการแสดง
- การเคลื่อนที่และแปรแถว
ปฏิภาณไหวพริบสําหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 20 คะแนน
- การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
- การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง
50 ข้อ -
การคิดคะแนนรวม
คะแนนรวม คำนวณจากการเฉลี่ยทั้งสามส่วน เต็ม 100 คะแนน
และคณะน่าเรียนต่อสำหรับเด็กสายศิลป์มีดังนี้
1. คณะนิติศาสตร์
คณะนี้จะเน้นไปที่การอ่าน จำหลักกฎหมายการใช้เหตุผล การวิเคราะห์และตีความทางด้านกฎหมาย แต่ควรเน้นภาษาอังกฤษไว้ด้วยเพราะจะต้องได้ใช้
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม
2. คณะเศรษฐศาสตร์
คณะนี้เรียกว่าเป็นสายตรงของศิลป์คำนวนเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นคณะที่ต้องคำนวนกันเยอะมากๆ ภาษาอังกฤษก็ได้ใช้แน่นอนทั้งเรียนและทำงาน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
3. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อีกคณะคณะที่เป็นสายตรงของศิลป์คำนวน เพราะเป็นคณะที่แทบจะไม่ต้องเรียนวิทย์เลย ดังนั้นจึงต้องมีทักษะด้านการคำนวนและภาษาอังกฤษแน่นๆ
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
4. คณะอักษรศาสตร์
คณะนี้โดยเฉพาะสายภาษาที่ 3 นั้น พื้นฐานทางด้านภาษาเหล่านี้จำเป็นมาก
แนะนำให้เรียน : ศิลป์ภาษา
5. คณะรัฐศาสตร์
คณะสายตรงของศิลป์สังคม เพราะเน้นการอ่าน การทำความเข้าใจเยอะมาก และภาษาอังกฤษก็ยังจำเป็นมากๆ เช่นกัน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม-ศิลป์คำนวน
6. นิเทศศาสตร์
คณะนี้จะเป็นการใช้ความสามารถส่วนตัวเป้นส่วนใหญ่ ดังนั้นจะเรียนศิลป์อะไรก็ได้ วิชาเดียวที่ได้ใช้แน่นอนคือภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือเรามีความสามารถอะไร
แนะนำให้เรียน : ศิลป์อะไรก็ได้
7. คณะบริหารธุรกิจ
คณะตรงสายของศิลป์คำนวน ไม่ต้องกังวลเรื่องวิทยาศาสตร์เลย เน้นการคำนวนและภาษา
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
8. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะเหมือนกับการเรียนศิลปะ เป็นทักษะส่วนตัวที่เกิดจากความถนัดและการฝึกฝน ดังนั้นจะเรียนศิลป์อะไรก็ได้ แต่อยากให้เน้นไปทางภาษาอังกฤษ เพราะต้องใช้สอบเข้า
แนะนำให้เรียน : ศิลป์อะไรก็ได้
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะนี้อาจจะเข้าไม่ได้ทุกสาขานะ เพราะบางสาขาต้องใช้วิทย์ด้วย แต่สำหรับบางสาขอของศิลป์คำนวนก็สามารถเข้าเรียนได้
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
10. คณะสังคมสงเคราะห์
คณะนี้หลักๆ คือการอ่าน การคิดวิเคราะห์ มากกว่าการคำนวน และภาษาอังกฤษก็ยังจำเป็น
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม
11. คณะการจัดการ
อีกคณะของสายบริหาร จะคล้ายๆกับคณะบริหารธุรกิจ ในการเรียนจะเจอการคำนวนเป็นส่วนใหญ่ พื้นฐานจากศิลป์คำนวนจึงช่วยได้
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
เป็นคณะที่เหมือนกับนิเทศ อยู่ที่ว่าเรามีความสามารถอะไร อาศัยศักยภาพส่วนตัวมากกว่าความสามารถด้านวิชาการ
แนะนำให้เรียน : ศิลป์อะไรก็ได้
13. คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์
เป็นคณะที่ใช้ความสามารถด้านศิลปะร่วมกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจะมาจากสายไหนก็ได้
แนะนำให้เรียน : ศิลป์อะไรก็ได
14. คณะศิลปศาสตร์
อีกคณะสายตรงของศิลป์ภาษา โดยเฉพาะสาขาที่เป็นด้านภาษาต่างประเทศหรือภาษาที่ 3 ถ้าไม่มีพื้นฐานลำบากแน่นอน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์ภาษา
เช่นเดียวกับคณะอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะถ้าเลือกภาษาต่างประเทศ ควรจะมีพื้นฐาน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์ภาษา
16. คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
เป็นคณะที่เกี่ยวข้องกับครู ซึ่งจะเรียนศิลป์อะไรนั้นก็ตามแต่วิชาที่อยากสอบ
แนะนำให้เรียน : ศิลป์ตามสาขา
17. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
คณะนี้จะมี 2 ด้าน คือด้านการจัดการและการบริการ ซึ่งด้านการบริหารจัดการจะใช้คณิตศาสตร์ ส่วนการบริการจะใช้ด้านภาษา
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม-ศิลป์คำนวน
18. คณะวิจิตรศิลป์
คณะศิลปะการออกแบบ ซึ่งไม่ว่าจะมาจากศิลปือะไรก็เหมือนเริ่มใหม่หมด ดังนั้นก็อยู่ที่ความรักในศิลปะของตัวผู้เรียน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์อะไรก็ได้
คณะนี้อาจจะดูเหมือนไปทางด้านสังคม แต่แนะนำให้เรียนศิลป์ภาษา เพราะโดยหลักแล้ว คณะนี้จะมีสาขาภาษาต่างประเทศให้เลือกเยอะ
แนะนำให้เรียน : ศิลป์ภาษา
20. คณะมัณฑนศิลป์
เกือบจะทุกสาขาของคณะนี้ จะเน้นไปที่การออกแบบ ดังนั้นไม่ว่าจะเรียนศิลป์อะไร ทักษะในการออกแบบก็ยังค่อนข้างจะเป็นความสามารถเฉพาะตัว
แนะนำให้เรียน : ศอลป์อะไรก็ได้
21. คณะดุริยางคศิลป์
คณะนี้ไม่ต้องใช้ความสามารถด้านการคำนวนเลย ความสามารถด้านภาษาก้เช่นกัน เน้นการฝึกเครื่องดนตรีที่ชอบจะดีกว่า
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม
22. คณะโลจิสติกส์
เป้นอีกคณะที่ใช้การคำนวนเป็นหลักในการช่วยคำนวนการขนส่ง ซึ่งตรงกับสายศิลป์คำนวน
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
23. คณะสังคมศาสตร์
คณะนี้เน้นศิลป์สังคมเป็นหลัก แต่ก็ต้องมีความรู้เรื่องภาษาไว้ด้วย เพาะเป็นหนึ่งในคะแนนที่สำคัญในการเข้าเรียน ยิ่งเก่งเยะอ ยิ่งมีตัวเลือกเยอะ
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม
เป็นคณะที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเป็นหลัก ดังนั้นพื้นฐานการคำนวนและภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นมาก
แนะนำให้เรียน : ศิลป์คำนวน
25. คณะรัฐประศาสนศาสตร์
อีกหนึ่งคณะโดยตรงของศิลป์สังคม เน้นการจัดการงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาครัฐ ศิลป์สังคมและการคำนวนจึงมีความจำเป็น
แนะนำให้เรียน : ศิลป์สังคม-ศิลป์คำนวน