เส้นทางสายไหม (Silk Road) เส้นทางสายไหมไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางการค้า
จีนในยุคราชวงศ์ฮั่น (202BC-220AD) ถือว่าตนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ มีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตจรดภูเขาสูง ทะเลทรายและมหาสมุทร
แต่ก็ยังมีชนเผ่าต่างๆอยู่รอบ ที่จีนต้องสู้รบเพื่อป้องกันดินแดน ศัตรูตัวร้ายของจีนคือเผ่าซ่งหนู อาศัยอยู่แถบทุ่งหญ้ารอยต่อกับทะเลทรายโกบีคือพื้นที่มองโกเลียในปัจจุบัน พวกนี้เป็นชนเผ่าเร่รอน บางคนว่าคือมองโกเลียเผ่านึงที่เคยยิ่งใหญ่เป็นเอเชียกลุ่มแรกที่เคยไปรบชนะประเทศยุโรปแถบลุ่มแม่น้ำดานูบ และคาบสมุทรบอลข่าน โดยผู้นำที่มีฝีมือคือ Attila the Hun (434-453AD)
“เส้นทางสายไหม” ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามเส้นทางการค้า “ผ้าไหม” ซึ่งเป็นสิ่งทอที่ทำหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่มห่ม สิ่งแสดงให้เห็นถึงความทันสมัย รสนิยม ความสร้างสรรค์ แต่ทว่าระหว่างทางนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ผ้าไหมเท่านั้น สมัยก่อนขุนนางหรือชนชั้นสูงจะรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าของผ้าไหม แต่การใช้เครื่องปั้นดินเผาจีน (กังไส) ใบชา องุ่น วอลนัท ทับทิม ปวยเล้ง ฯลฯ ของมีราคาพวกนี้เป็นของฟุ่มเฟือยที่เชิดหน้าชูตา แสดงฐานะทางสังคมของผู้ใช้
และในทางกลับกัน ของที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนแท้ๆ เช่นเครื่องดนตรีจีน ผีผา ซอสามสาย และอีกหลายชนิดได้รับอิทธิพลจากประเทศอื่นๆ ในเส้นทางสายไหม สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยืนยันการแลกเปลี่ยนและการหลอมรวมทางวัฒนธรรมได้อย่างดี
บรรพบุรุษที่ดำรงชีวิตอยู่บนผืนแผ่นดินไทยนี้ เริ่มดำเนินการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและพาณิชยกรรมกับโลกภายนอกผ่านทางบกและทางทะเลมาช้านานแล้ว จากการค้นพบทางโบราณคดีปรากฏว่า เส้นทางสายไหมทางทะเลระหว่างไทยกับจีนและอินเดีย เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 400-300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวโรมันได้พบและเข้าใจกฎของลมมรสุมบนมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้กับการเดินเรือข้ามมหาสมุทรอย่างมาก พ่อค้าต่างชาติพากันหลั่งไหลเข้ามาในไทยที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไทยก็ได้รับอิทธิพลจากทั้งจีนและอินเดียด้วย บทความนี้จะอภิปรายประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับไทย จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของประเทศทั้งสองและหลักฐานมรดกทางวัฒนธรรมและทางวัตถุ ดังเช่น ซากโบราณสถานในประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ปรากฏว่า ประวัติศาสตร์นี้ได้แสดงบทบาทสำคัญในเส้นทางสายไหม
คำว่า “เส้นทางสายไหม” หรือ “Silk Road” เพิ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการในกลางศตวรรษที่ 19 โดยนักปราชญ์ชาวเยอรมัน ชื่อว่า Baron Ferdinand von Richthofen เขาเป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับ ถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่น อย่างเส้นทางหยก เส้นทางอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น
วัฒนธรรมคือการแสดงออกถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และค่านิยม การค้าขายจึงนำมาซึ่งการสร้างนวัตกรรมและการผสมผสานทางความคิด ดังนั้น ผ้าไหมจึงไม่ใช่แค่มีประโยชน์ในฐานะเครื่องนุ่งห่ม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการแต่งกาย วัฒนธรรมการบริโภค และสุนทรียศาสตร์
“ผ้าไหม” เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยของชาวโรมัน ราคา 1 ปอนด์ เท่ากับทองคำ 12 ตำลึง ในยุคนั้น หญิงสาวโรมันที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าไหมไปตามที่ต่างๆ มักถูกตำหนิและมีความเห็นแย้งว่า หญิงสาวในชุดผ้าไหมลื่นนุ่มบอบบางนั้น เป็น “การแต่งกายไม่เหมาะสม” โดยให้เหตุผลว่า “หากเสื้อผ้านั้นไม่สามารถปกปิดร่างกายได้ สิ่งนั้นสมควรเรียกว่าเสื้อผ้าได้อีกหรือ?”
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่าง และความนิยมในผ้าไหมจีนของหญิงสาววัยรุ่นโรมันในสมัยนั้น
การแลกเปลี่ยนบนเส้นทางสายไหมสามารถ “ข้าม” ได้ (แทบ) ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ระบอบการปกครอง หรือแม้แต่ค่านิยม ช่วยเสริมสร้างความแตกต่างลงไปในวัฒนธรรมท้องถิ่น ถือเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สำหรับนิทรรศการ “อารยธรรมเดินทางบนเส้นทางสายไหม-รหัสลับแห่งความรัก” ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้หญิงจีนที่มีต่อความงาม สตรีชาวจีนแต่ละคนก็มีความใฝ่ฝันและความคิดที่มีต่อความงามแตกต่างกัน มีความหลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ของจีนให้ชาวโลกรับรู้ ช่วยเติมแต่งให้เส้นทางสายไหมมีชีวิตชีวา โดยอาจสรุปได้ว่าการเข้าถึงใจในระดับประชาชนคือหัวใจสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในยุคใหม่นี้
เส้นทางนี้ เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอันหรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล สินค้าที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าไหมจีน, แก้ว, เพชรพลอย, เครื่องเคลือบดินเผา, พรม เป็นต้น แต่เส้นทางนี้ก็ได้ถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงคราม
เส้นทางสายไหมเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วยเส้นทางสายไหม
เส้นทางที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อย ๆ นั้นหมายถึงเส้นทางบกที่ จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้น เริ่มต้นจากเมืองฉางอาน ทางทิศตะวันออกจนถึงกรุงโรม ทางทิศตะวันตก เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแยกสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือ
เส้นทางทิศใต้
จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวน ผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่น ไปถึงต้าเย่ซื่อ(แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ(คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน)ซี่งอยู่ทางตะวันตก สุดท้ายไปถึงอาณาจักรโรมัน
ส่วนเส้นทางทิศเหนือ
จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวน ผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่น ผ่านต้าหว่าน คางจวี (อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสาย
สายหนึ่งคือ“เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้”
เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี จนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วิน ไปถึงมอพาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อจากนั้น เลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน
เส้นทางสายไหมสายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก
เมื่อปี 1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปี ได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้น มีไม้เท้าทองที่ยาว142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ”ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหมสายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อน
เส้นทางสายไหมอีกสายหนึ่งคือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย(ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา (ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก
เส้นทางเส้นนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหมทางทะเล”
วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกเป็นต้นยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล”สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน“
เส้นทางสายไหมทางทะเล”ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น“เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โค โปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้
เส้นทางสายไหมเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของแหล่งอารยธรรมโบราณหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย จีน โรมัน เปอร์เซีย และอินเดีย
สำหรับการเดินทางทางทะเล เส้นทางสายไหมยังขยายไปยังญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อิตาลี โปรตุเกส และสวีเดน เป็นต้น
-ขอบคุณข้อมูล http://thai.cri.cn/