หลายคนคงเคยได้ยินแต่คำว่า “โรคเบาหวาน” แล้ว “โรคเบาจืด” มันคืออะไร ?กัน โรคเบาจืดคือโรคที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความกระหายน้ำอย่างรุนแรงแม้จะดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็ตาม จนทำให้ซึม ไม่รู้สึกตัว ช็อก หรือหมดสติได้ และมักจะปัสสาวะออกมามากกว่าคนปกติ
ลักษณะของโรคเบาจืดคือ
รักษาไม่หายต้องกินยาไปตลอดชีวิต
จากผลการวิจัยพบว่า โรคเบาจืดนี้สามารถพบเจอได้ในทุกวัย อาจพบได้น้อยแต่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องกินยาไปตลอดชีวิตเพราะยังไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
• โรคเบาจืดมี 4 ชนิด
ได้แก่
1)โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ถือเป็นชนิดที่พบเจอมากที่สุด ซึ่งเกิดจากความเสียหายของต่อมใต้สมอง
2)โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต ซึ่งเกิดจากระบบการทำงานของไตที่ไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูแรติกได้
3)โรคเบาจืดที่เกิดจากกลไกการควบคุมการกระหายน้ำ จึงทำให้เกิดการกระหายน้ำมากกว่าปกติหลายเท่า
4)โรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
ประเภทของการเกิดโรคเบาจืด
เบาจืดเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย ซึ่งจะมีการแบ่งต้นตอออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1.ความผิดปกติของไต (Nephrogenic diabetes insipidus) – เป็นความผิดปกติที่พบได้มากที่สุด
ซึ่งเกิดจากที่ไตไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมน หรือมีการตอบสนองได้น้อย อาจมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการได้รับยารักษาโรคบางชนิด
2.ความผิดปกติที่มาจากสมอง (Central หรือ Neurogenic diabetes insipi dus) – เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติ
ที่พบได้บ่อยไม่แพ้กัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคที่เกิดขึ้นทางสมอง กระทบต่อการทำงานของฮอร์โมน
ทำให้เอดีเอชลดลง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง, การผ่าตัดสมอง, โรคมะเร็งสมอง และอุบัติเหตุทางสมอง เป็นต้น
3.ความผิดปกติจากการตั้งครรภ์ (Gestational diabetes insipidus) – แม้จะเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก
ทว่าก็สามารถเป็นต้นตอทำให้เกิดโรคเบาจืดได้เช่นกัน โยในระหว่างการตั้งครรภ์
รกจะมีการสร้างเอนไซม์ Vasopressinase ขึ้นมา เป็นตัวการเข้าไปทำลายฮอร์โมนเอดีเอช
ปริมาณเอนไซม์ที่ถูกสร้างในปริมาณมากจนเกินสมดุล จะทำให้ไตดูดกลับน้ำเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลงตามมาด้วย
4.ความผิดปกติจากอาการกระหายน้ำ (Dipsogenic diabetes insipidus) – ความผิดปกติในลักษณะนี้
ถือว่าพบได้น้อยมากที่สุดเมื่อเทียบกับความผิดปกติอื่น มาจากการทำงานของสมองในส่วนไฮโปรธาลามัส
ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเอดีเอช และควบคุมการทำงานของจิตใจ เมื่อผู้ป่วยเกิดความผิดปกติ
รู้สึกกระหายน้ำอย่างหนัก ทำให้การดื่มน้ำมากๆ ไปกระตุ้นให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มตามมา
• ทำให้มีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวด
ร่างกายของผู้ป่วยมักจะสูญเสียน้ำมาก จนทำให้รู้สึกกระหายน้ำหนัก หากดื่มทดแทนในส่วนที่เสียไปไม่ทัน อาจเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงจนอาจหมดสติได้ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดบริเวณเอว ท้องน้อย เนื่องจากการคั่งของปัสสาวะ ส่งผลให้อวัยวะโตขึ้น ที่สำคัญยังมีอาการปัสสาวะบ่อยครั้งและ ครั้งละมาก ๆ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล http://www.bioformthailand.com/