รวมพระราชวังที่เปิดเข้าชมในไทย
1.วังบางขุนพรหม
พระราชวัง บางขุนพรหมวังบางขุนพรหม ตั้งอยู่ที่ 273 ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ โดยในสมัยก่อนวังบางขุนพรหมเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดาค่ะ นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญต่าง ๆ เป็นสถานที่ที่ไว้จัดงานสโมสรสันนิบาต รวมไปถึงเป็นที่จัดงานสังสรรค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นสถานที่สำหรับให้ครูชาวต่างประเทศใช้จัดสอนหนังสือให้กับพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีชื่อเรียกกันในสมัยนั่นว่า “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้”
วังบางขุนพรหมก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ ผสมกับศิลปะแบบบาร็อก ภายในวังบางขุนพรหม ประกอบด้วยห้องสำคัญต่าง ๆ หลายห้อง อาทิ ห้องสีชมพู ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นห้องที่มีความงดงามมากที่สุด ตกแต่งด้วยโทนสีชมพู พร้อมเฟอร์นิเจอร์สไตล์ยุโรป โดยในอดีตใช้สำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต นอกจากนั้นยังมีห้องสีน้ำเงิน, ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์, ห้องประชุมเล็ก, ห้องเปิดโลกเงินตราไทย, ห้องธนบัตรไทย, ห้องธนบัตรต่างประเทศ, ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
💰 ค่าบริการเวลาทำการการเดินทางพักที่ไหนดี?ข้อควรปฏิบัติ
ไม่เสียค่าเข้าชม
2.วังสวนผักกาด
พระราชวังสวนผักกาด 01พระราชวังสวนผักกาด 02
ภาพจาก :www.museumsiam.org
วังสวนผักกาด ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ แต่เดิมเป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) โดยใช้ประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุภายในวังค่ะ โดยหลังจากที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ซึ่งเป็นพระชายา ได้มอบวังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดค่ะ ภายในวังสวนผักกาดจะมีอาคารและบ้านหลายหลัง โดยมีทั้งหอเขียนลายรดน้ำและตำหนักไทยโบราณ ซึ่งภายในมีวัตถุโบราณต่าง ๆ มากมาย ทั้งภาพเขียน เงินตราโบราณรูปปั้น การจัดแสดงพระรูปของราชวงศ์ไทย เครื่องดนตรีไทยของทูลกระหม่อมบริพัตรฯ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ เสด็จในกรมฯ ฯลฯ
💰ค่าบริการเวลาทำการการเดินทางพักที่ไหนดี?ข้อควรปฏิบัติ
คนไทย 50 บาท / ชาวต่างชาติ 100 บาท
3.พระราชวังพญาไท
พระราชวังพญาไท ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นและได้พระราชทานนามว่า “พระตำหนักพญาไท” หรือ “วังพญาไท” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาเป็น “พระราชวังพญาไท”
จุดเด่นของพระราชวังพญาไทอยู่ที่พระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งเป็นเพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่ง มียอดโดมสูงเด่นเป็นสง่าไว้สำหรับชักธงมหาราชในขณะที่องค์พระประมุขประทับอยู่ในพระราชวัง โดยสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างโกธิคกับโรมาเนสก์ นอกจากนั้นบริเวณพระราชวังพญาไท ยังประกอบไปด้วยพระที่นั่งและอาคารสำคัญอื่น ๆ อีก ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน, พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส, พระที่นั่งเทวราชสภารมย์, พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์, พระตำหนักเมขลารูจี, อาคารเทียบรถพระที่นั่ง, สวนโรมัน, ศาลท้าวหิรัญพนาสูร และพระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฎราชไม่เสียค่าเข้าชม
4.พระราชวังบางปะอิน
พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรมของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาค่ะ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองไป พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้าง และได้กลับมาสวยงามและเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เนื่องจากสุนทรภู่ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี และได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท ซึ่งต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้มีการเริ่มการบูรณะพระราชวังบางปะอิน จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ขึ้น โดยมีการสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ อาทิ พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์, พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร, หอวิฑูรทัศนา, พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ, พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, หอเหมมณเฑียรเทวราช ฯลฯ
💰 ค่าบริการเวลาทำการการเดินทางพักที่ไหนดี?ข้อควรปฏิบัติ
ชาวต่างชาติ 100 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก นักเรียน นิสิตนักศึกษา (ต้องใส่เครื่องแบบและมีบัตรประจำตัวนักเรียน) 20 บาท / พระภิกษุ สามเณร ไม่เสียค่าเข้าชม โดยเปิดจำหน่ายบัตร ตั้งแต่ 08.00 – 15.30 น.
4.เขาวัง
ปิดท้ายกันที่เขาวังหรืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี ตั้งอยู่ที่ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี เป็นพระราชวังฤดูร้อนที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยพระองค์ได้ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ดูแลในการสร้างวังที่ประทับบนยอดเขา เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์นีโอคลาสสิกผสมกับจีน โดยมีพระที่นั่ง วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ โดยแต่ละแห่งจะตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้
– ยอดเขาด้านทิศตะวันออก : บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดมหาสมณาราม บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้ววัดประจำพระนครคีรี
– ยอดเขากลาง : เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมเพชรและเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน โดยสามารถมองเห็นพระที่นั่งต่าง ๆ ได้
– ยอดเขาด้านทิศตะวันตก : เป็นที่ตั้งของพระราชวังอันซึ่งเป็นที่ประทับ ได้แก่ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งราชธรรมสภา พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งสันถาคารสถาน หอชัชวาลเวียงชัย หอพิมานเพชรมเหศวร์ หอจตุเวทปริตพัจน์ ศาลาทัศนานักขัตฤกษ์ ฯลฯ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://travelblog.expedia.co.th/