ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของ เราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )
และ ยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort’s Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือ
นอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง
องค์ประกอบระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
1. ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ
2. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสง และพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด 9 ดวง จึงเรียกว่า “ ดาวพระเคราะห์” ประกอบด้วย
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ ดาวประจำเมือง” ในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า “ ดาวประกายพรึก”ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 225.60 ล้านกิโลเมตร
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่และหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 722.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1417.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 นิยมเรียกว่า “ ดาวมฤตยู” มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2852.8 ล้านกิโลเมตร
ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก “ ดาวเกตุ” มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4496.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5865.6 ล้านกิโลเมตร
3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส
4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง
(ภาพการเปรียบเทียบขนาดดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยะจักรวาล)
ที่มาของภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec01p02.html