จำนวนเชิงซ้อน โดยจะสรุป ประเด็กสำคัญใน เรื่อง ส่วนจริง ส่วนจินตภาพ ในจำนวนเชิงซ้อน และ ความหมายของ i ในจำนวนเชิงซ้อน พร้อมตัวอย่างเสริมความเข้าใจ สั้นๆ เป็นแนวทางสำหรับน้องระดับ ม.5
จำนวนเชิงซ้อน
ในระบบจำนวนจริง สมการพหุนามบางสมการ เช่น x + 1 = 0 ไม่มีคำตอบเนื่องจากกำลังสองของจำนวนจริงใดๆ จะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์เสมอ ในที่นี้เราจะศึกษาวิธีการสร้างระบบจำนวนชนิดใหม่ เพื่อให้หาคำตอบของสมการพหุนามทุกสมการได้เสมอ และเรียกจำนวนในระบบที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ว่าจำนวนเชิงซ้อน ( complex numbers) ซึ้งนอกจากจะปัญหาในเรื่องของการมีคำตอบของสมการพหุนามใดๆ แล้ว ยังสามารถประยุกต์อย่างกว้างขวางกับสาขาต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
1.1 การสร้างจำนวนเชิงซ้อน (Construction Of Complex Numbers) จากที่กล่าวข้างต้นว่า สมการพหุนาม x + 1 = 0 ไม่มีคำตอบเป็นจำนวนจริงแต่นักคณิตศาสตร์ต้องการสร้างระบบจำนวนซึ้งขยายระบบจำนวนจริงออกไปเพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกคำตอบของสมการพหุนามทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงพิจารณาเซตที่มีจำนวนจริงเป็นสับเซต
บทนิยาม จำนวนเชิงซ้อน คือ คู่อันดับ (a,b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงและกำหนดการเท่ากัน
การบวกและการคูณของจำนวนเชิงซ้อน ดังนี้
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน (a,b) และ (c,d)
1. การเท่ากัน
( a , b ) = ( c , d ) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
2. การบวก
( a , b ) + ( c , d ) = ( a + c , b + d )
3 การคูณ
( a , b ) • ( c , d ) = ( ac – bd , ad + bc )
เราอาจเขียนแทน ( a , c ) • ( c , d ) ด้วย ( a , b )( c , d ) ก็ได้ เซตของจำนวนเชิงซ้อน
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ C
บทนิยาม
ให้ z = a + bi = (a,b) ,a , b R , i2 = -1
และ w = c + di = (c,d) , c , d R ( รอเปลี่ยนเครื่องหมายสมาชิก )
- การเท่ากัน
z = w ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
- การบวก
z + w = (a+c) + (b+d)i
= (a+c, b+d)
- การคูณ
zw = (ac – bd) + (ad + bc)i
= (ac – bd, ad + bc)
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวกและผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน (-1,2) และ (3,-4)
วิธีทำ (-1,2)+(3,-4) = (-1 + 3 , 2 – 4)
= (2 , – 2)
(-1,2)(3,-4) = ((-1)3 – 2 (- 4), ( -1 )( -4 ) + 2 • 3)
= (-3 + 8, 4 +6)
= (5, 10)
พิจารณาจำนวนเชิงซ้อนที่อยู่ในรูป ( x , 0 ) จะเห็นว่า
( a , 0 ) + ( b , 0 ) = ( a + b , 0 )
( a , 0 )( b , 0 ) = ( ab – 0 , a0 + 0b ) = ( ab , 0 )
สมการพหุนาม
ถ้า p(x) = anxn + an-1 xn-1 + an-2 x n-2 + ….+ a1x + a0
โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวกและ an , an-1 , an-2 , ….. a1, a0 เป็นจำนวนจริงที่ an 0
แล้ว p(x) จะเป็นพหุนามดีกรี n (n มากกว่าหรือเท่ากับ 1)
ทฤษฎีบทหลักมูลของพีชคณิต
ถ้า P(x) = 0 เป็นสมหารพหุนามดีกรี n (n มากกว่าหรือเท่ากับ1) แล้ว จะมีคำตอบที่เป็นจำนวนเชิงซ้อนอย่างน้อยหนึ่งคำตอบ
ทฤษฎีบท
ถ้า P(x) = 0 เป็นสมหารพหุนามดีกรี n (n มากกว่าหรือเท่ากับ 1) แล้ว จะมีคำตอบทั้งหมด n คำตอบ
(คำตอบอาจซ้ำกันได้)
ทฤษฎีบท
ถ้า P(x) = 0 เป็นสมหารพหุนามดีกรี n (n มากกว่าหรือเท่ากับ 1) และ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนที่เป็นคำตอบของสมการ
แล้ว z จะเป็นคำตอบของสมการด้วย
• 2x +1 = 0 | เป็นสมการพหุนามดีกรี 1 |
• 2x2 –3 x + 1 | เป็นสมการพหุนามดีกรี 2 |
• 3x3 + 2x2 +12x -8 | เป็นสมการพหุนามดีกรี 3 |
ทบทวนการแก้สมการพหุนามอย่างง่าย
สามารถแยกตัวประกอบอย่างง่ายๆ ได้ เช่น ทำให้อยู่ในรูปผลต่างของกำลังสอง ผลบวกของกำลังสาม หรือ ผลต่างของกำลังสาม อันได้แก่สูตร