หลักการของการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ยึดหลักการในเรื่องต่างๆดังนี้
- การศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งถือเสมือนว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่ห้าของการดำรงชีพจึงสมควรใช้การศึกษาเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่จำเป็นต้องแยกชีวิตออกจาการเรียนออกจากชีวิตการทำงาน การศึกษาจึงน่าจะเป็นกระบวนการที่สอดแทรกอยู่ได้ในวิถีการดำเนินชีวิตปกติผู้ที่สนใจสามารถเรียนเมื่อไรก็ได้โดยคำนึงถึงความพร้อม ความถนัด ความต้องการและความสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนเพื่อเป็นอาชีพการงาน
- การให้โอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา เป็นทางเลือกและทางออกไปสู่อุดมคติในการแก้ปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นการกระจายและขยายโอกาสให้ผู้ที่ต้องละทิ้งการศึกษาก่อนจบหลักสูตรหรือผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนและผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมได้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการศึกษาตลอดชีวิต
- ส่งเสริมการศึกษามวลชน เป็นการให้ดารศึกษาแก่มวลชนในระดับต่างๆโดยการใช้สื่อมวลชนหรือสื่ออื่นๆร่วมกันในรูปของสื่อหลายแบบรวมทั้งการใช้สื่ออุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆด้วย
ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล
ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้
1. ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา
2. เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียน ของตนเอง
3. สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก
1) การศึกษาในระบบ การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัด การศึกษาทั่วการศึกษา ในระบบและการศึกษานอกระบบ มีหลายหน่วยงานที่จัดการศึกษาทางไกล ทั้งในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบโดยทั่วไปก็คือการที่ผู้เรียนมาเรียนในชั้นเรียนปกติมีผู้สอนอยู่ในชั้นเรียน สำหรับการศึกษาทางไกลมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ประจันหน้ากัน ผู้สอนจะอยู่ห่างไกลจากชั้นเรียนออกไป การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษา และในระดับอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น
2) การศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบจะเป็นลักษณะของการศึกษาที่ไม่มีเวลาเรียนแน่นอนตายตัว ไม่มีการกำหนดอายุของผู้เรียน ผู้เรียนจะมาเข้าชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้ การเรียนการสอนอาจจะมาพบกัน ณ ศูนย์บริการวิชาการหรืออาจจะเรียนผ่านรายการโทรทัศน์ที่บ้าน จะมีการสอนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็ได้แก่ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดังกล่าวแล้วว่ามีการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่าง ๆ ในแง่มุม ดังนี้
1) ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ
2) สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก
3) ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบของตนเองได้
4) ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ
ข้อจำกัด
1. การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
2.โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนได้อย่างสิ้นเชิง ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่น ๆประกอบด้วย หรือผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือแนะแนวทางหรืออธิบายเพิ่มเติมประกอบการชมรายการหรือ บทเรียนทางโทรทัศน์ด้วย
3.อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสาร เช่นกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย ทำให้ขาดสมาธิในการเรียน
4. การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ ทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
5.จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทำและใช้เทคนิควิธีการในการผลิตรายการที่มีคุณภาพ
E-IT กับ Elearning
การใช้ IT เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะของ e-learning ในยุคปัจจุบันจะมีการใช้อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ทั้งในลักษณะของ Stand Alone และการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย สามารถเชื่อมโยง เข้าสู่อินเตอร์เนต เพื่อค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ นอกจากนั้น e-learning จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ สิ่งต่อไปนี้
1. สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสม (Multimedia) เป็นสื่อที่มีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบทั้งภาพ และเสียง มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้เรียน ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอน ช่วยลดความ ยุ่งยากซับซ้อน ของเนื้อหาวิชาบางตอน ที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม นอกจากนี้สื่อนี้บางส่วนเป็นแบบฝึกหัด ที่จะช่วยทบทวนความรู้ของผู้เรียนด้วย
2. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (Education Resources Sharing) การพัฒนาองค์กรความรู้ บนเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นคลัง ทุกแขนง ที่พร้อมให้จะให้บริการบนเครือข่ายในหลายรูปแบบ
3. การเรียนการสอนทางไกล (Long Distance Learning) การเรียนการสอนทางไกลของวงการศึกษา ไทย ได้มีการวิวัฒนาการตามลำดับก่อนที่จะเป็นรูปแบบของ e-learning ในปัจจุบันนี้โดยมีวิวัฒนาการที่น่า สนใจตามลำดับดังนี้
3.1 การเรียนการสอนทางไปรษณีย์
3.2 การเรียนการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
3.3 การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์ และผ่านเครือข่ายดาวเทียม
3.4 การเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การศึกษาที่นิยมใน