การใช้ Do, Does, Did และ Done
Verb To Do ในแต่ละ Tenses (กรณีที่ Do เป็นกริยาหลัก)
ประธาน |
Present Tense |
Past Tense |
Prefect Tense |
Continuous Tense |
I, You, We, They | do | did | have/had done | are/were doing |
He, She, It, John, Sarah, a dog (เอกพจน์บุรุษที่ 3) |
does | did | has/had done | is/was doing |
Done คือ Past Participle (Verb 3) ของ Do (Past Participle คือคำกริยาช่อง 3 ที่ใช้ใน Prefect Tense)
I have done all the hard work. (ฉันทำงานหนักมาตลอด)
Tom has done the artwork. (ทอมทำงานด้านศิลปะ)
บางครั้งเราก็ใช้ Verb to do แทนที่คำกริยาเมื่อมีความหมายที่ชัดเจน และส่วนใหญ่จะใช้ในการพูดอย่างไม่เป็นทางการ
I’ll do the bathroom if you do the lawns. (ฉันจะทำความสะอาดห้องน้ำถ้าคุณตัดหญ้าที่สนามหญ้า)
do ในประโยคนี้ตัวแรกแทนกริยา clean (ทำความสะอาด) และตัวที่สองแทนกริยา mow (ตัดหญ้า)
Have you done the dishes yet? (คุณล้างจานหรือยัง)
done ในประโยคนี้แทนกริยา washed (ล้าง)
การใช้ Auxiliary verb
Auxiliary Verb
Auxiliary Verb คือ “กริยานุเคราะห์” ( บางครั้งก็เรียกกริยาช่วย ( Helping Verb ) บ้าง , กริยาพิเศษ ( Anomalous Verb ) เหตุที่ได้เรียกว่า เป็นกริยานุเคราะห์หรือกริยาช่วยนั้น ก็เพราะว่ากริยาเหล่านี้ ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นมาลา ( Mood ) วาจก ( Voice ) และกาล ( Tense )
Auxiliary Verb มีอยู่ทั้งหมด 24 ตัว คือ
Verb to be = is , am , are , was , were | Verb to do= need |
Verb to have = has , have , had | Verb to do= dare |
Verb to do = do , does , did | Verb to do= ought to |
Verb to do = will , would | Verb to do= used to |
Verb to do= shall , should | Verb to do= had better |
Verb to do= can , could | Verb to do= would rather |
Verb to do= have to ( ที่มีความหมายเท่ากับ must ) | Verb to do= shoud ( ที่มีความหมายเท่ากับ ought to ) |
1. หน้าที่ของ Verb to be ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้
1.1 วางไว้หน้ากริยาตัวที่เติม ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous Tense ซึ่งแปลว่า “กำลัง” ทุกครั้ง เช่น
We are learning English
( เรากำลังเรียนภาษาอังกฤษ )
1.2 วางไว้หน้ากริยาช่อง 3 ( เฉพาะสกรรมกริยา ) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก ( Passive Voice ) แปลว่า “ถูก” เช่น
John was punished by the teacher yesterday.
( จอห์นถูกทำโทษโดยคุณครูเมื่อวานนี้ )
1.3 วางไว้หน้ากริยาสภาวมาลา ( Infinitive ) มีสำเนียงแปลว่า “จะ , จะต้อง” แสดงถึงหน้าที่ที่ต้องกระทำ , แผนการ , การเตรียมการ , คำสั่ง , คำขอร้อง หรือความเป็นไปได้ เช่น
He is to stay here till I come back.
( เขาจะต้องอยู่ที่นี่จนกว่าฉันจะกลับมา )
1.4 ประโยคคำสั่ง , อวยพร , ที่นำหน้าประโยคด้วย Adjective ( คุณศัพท์ ) ต้องใช้ Be นำหน้าเสมอ เช่น
Be quite. The baby is sleeping.
( เงียบหน่อย ทารกกำลังนอกหลับอยู่ )
1.5 ใช้นำหน้าสำนวน about to + Verb ช่อง 1 มีสำเนียงแปลว่า “กำลังจะ” แสดงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เช่น
They are about to start their jouney this week.
( พวกเขากำลังจะออกเดินทางกันสัปดาห์นี้ )
1.6 ใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก ( Principal Verb ) ในประโยคได้กรณีนี้ในประโยคนั้นจะไม่มี Verb ตัวอื่นเข้ามาร่วมอยู่กับ Verb to be เช่น
Jean is always a good girl.
( จีนเป็นเด็กหญิงดีเสมอ )
การใช้ have to , have got to , had better
have to แปลว่า “ต้อง , จำเป็นต้อง” ( = must ) ใช้แสดงถึงพันธะหน้าที่ภารกิจจำเป็นที่ต้องกระทำ หลัง have to ต้องใช้กริยาช่อง 1 ตลอดไป เช่น
I have to leave now.
( ฉันจำเป็นต้องไปเดี๋ยวนี้ )
George has to go to school from Monday to Friday.
( จอร์จจะต้องไปเรียนหนังสือตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ )
อนึ่ง ประโยคบอกเล่าที่มี have to เมื่อทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธต้องใช้ Verb to do เข้ามาช่วย จะเอา have ( หรือ has ) ขึ้นไปไว้ต้นประโยคเมื่อเป็นคำถาม หรือเติม not หลัง have , has เมื่อต้องการให้เป็นปฏิเสธไม่ได้
ตัวอย่างเช่น :
ถูก : Do I have to leave now?
( ผมจำเป็นต้องไปเดี๋ยวนี้หรือ )
ผิด : Have I to leave now?
ถูก : I don’t have to leave now.
( ผมไม่จำเป็นต้องไปเดี๋ยวนี้ )
ผิด : I haven’t leave now.
ถูก : Does he have to go to work?
( เขาจะต้องไปทำงานหรือ? )
ผิด : Has he to go to work?
หมายเหตุ : have to ใช้ได้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันและอนาคตรูปอดีตของ have to คือ had to
Have got to คำแปลเช่นเดียวกับ have to นำมาใช้ในภาษาพูดแทน have to คือ had to หรือ has เข้ากับสรรพนามเสมอ หรือย่อเข้ากับ not เมื่อประโยคนั้นเป็นปฏิเสธ กรณีทำเป็นคำถาม ให้เอา have หรือ has ในคำว่า have ( หรือ has ) got to ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้
ตัวอย่างเช่น :
Affirmative ( บอกเล่า )
He’s got to go.
I’ve got to do.
Negative ( ปฏิเสธ )
He hasn’t got to go.
I haven’t got to do.
Interrogative ( คำถาม )
Has he got to go?
Have I got to do?
had better ( ให้รวมถึง had rather, had sooner ) แปลว่า “ควรจะ…ดีกว่า” หลัง had better ตามด้วย Verb ช่อง 1( เป็น Infinitive Without “to” ) ใช้ในกรณีที่คิดว่าจะเป็นการดีที่จะกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือเหมาะสมที่จะประกอบกิจนั้น ๆ ในเวลานั้น แม้จะมีรูปเป็นอดีต ( Past ) แต่ความหมายเป็นปัจจุบัน ( Present ) โดยปกติเวลาพูดหรือเขียนมักจะย่อ had เป็น ‘d เข้ากับตัวประธานเสมอ ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกบุรุษ
ตัวอย่างเช่น :
You had better start your trip tomorrow.
( = You’d better start your trip tomorrow. )
( คุณควรจะเริ่มการเดินทางของคุณวันพรุ่งนี้ดีกว่า )
I had better go home now.
( = I’d better to go home now. )
( ฉันควรจะกลับบ้านเดี๋ยวนี้ดีกว่า )
ข้อสังเกต : start และ go เป็น Infinitive Without “to”
ประโยคบอกเล่าที่มี had better นั้นเมื่อทำเป็นปฏิเสธให้เติม not หลัง better เท่านั้น อย่าวางหลัง had เป็นอันขาด ส่วนคำถามให้เอาเฉพาะ had ตัวเดียววางไว้ต้นประโยค
ตัวอย่างเช่น :
ประโยคบอกเล่า
ถูก : She had better stay home alone.
( หล่อนควรจะพักอยู่ที่บ้านตามลำพัง )
ประโยคปฏิเสธ
ถูก : She had had not stay home alone.
( หล่อนไม่ควรพักอยู่ที่บ้านตามลำพัง )
ผิด : She had not better stay home alone.
ประโยคคำถาม
ถูก : Had she better stay home alone?
( หล่อนควรจะพักอยู่ที่บ้านตามลำพังหรือ? )
ผิด : Did she have better stay home alone?
3. หน้าที่ของ Verb to do Verb to do ได้แก่ do , does , did เมื่อนำมาใช้เป็นกริยาช่วย ( Helping – Verb ) ไม่มีสำเนียงแปล และเมื่อไปช่วยกริยาตัวใด Verb ที่ตามหลัง do , does , did ไม่ต้องมี to นำหน้า เพราะเป็น Infinitive Without “to” do , does ใช้กับการกระทำที่เป็นปัจจุบัน ( แต่ต่างพจน์กัน ) did ใช้กับการกระทำที่เป็นอดีต ( ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ ) ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ช่วยหรือใช้จริงได้ดังต่อไปนี้
3.1 ช่วยทำประโยคบอกเล่า ( Affirmative ) ให้เป็นประโยคคำถาม ( Interrogative ) หรือประโยคปฏิเสธ ( Negative ) ในกรณีที่ประโยคเหล่านั้นต้องตรงตามหลักทฤษฎีที่ว่า
Verb to have ไม่มี
Verb to be ไม่อยู่
Verb to do มาช่วย
หรือมี will , would , shall , should , can , could , may , might , must อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้ Verb to do มาช่วย
Verb to do มี 3 ตัว จะนำมาใช้ต่างกัน เช่น
เอกพจน์ ใช้ does
พหูพจน์ ใช้ do
I , They , We , You ใช้ do เหมือนกัน
กริยาสำคัญไม่ต้องเติม s ( ed , ing )
ตัวอย่างใช้ do มาช่วย
ประโยคบอกเล่า :
You speak Japanese to your friend.
( คุณพูดภาษาญี่ปุ่นกับเพื่อนของคุณ )
ประโยคคำถาม :
ถูก : Do you speak Japanese to your friend?
( คุณพูดภาษาญี่ปุ่นกับเพื่อนของคุณหรือ? )
ผิด : Are you speak Japanese to your friend?
ตัวอย่างใช้ does มาช่วย
ประโยคบอกเล่า :
He opens the door by himself.
( เขาเปิดประตูด้วยตนเอง )
ประโยคคำถาม :
ถูก : Does he open the door by himself?
( เขาเปิดประตูด้วยตัวเขาเองหรือ? )
ผิด : Is he opens the door by himself?
ประโยคปฏิเสธ :
ถูก : He doesn’t ( หรือ does not ) open the door by himself.
( เขาไม่ได้เปิดประตูด้วยตัวเอง )
ผิด : He is not opens the door by himself.
ตัวอย่างใช้ did มาช่วย
ประโยคบอกเล่า :
She went to Hong Kong last week.
( หล่อนไปฮ่องกงสัปดาห์ที่แล้ว )
ประโยคคำถาม :
ถูก : Did she go to Hong Kong last week?
( หล่อนไปฮ่องกงสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือ? )
ผิด : Was she went to Hong Kong last week?
ประโยคปฏิเสธ :
ถูก : She didn’t ( หรือ did not ) go to Hong Kong.
( หล่อนไม่ได้ไปฮ่องกง )
ผิด : She wasn’t went to Hong Kong.
3.2 ใช้แทนกริยาตัวอื่นที่อยู่ในประโยคเดียวกัน เพื่อต้องการมิให้กริยาตัวเดิมนั้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ เช่น
Billy likes badminton and so does Tim.
( บิลลี่ชอบแบดมินตันและทิมก็ชอบเหมือนกัน )
You speak Thai and I do too.
( คุณพูดไทยและฉันก็เช่นกัน )
Linda worked yesterday but I didn’t.
( ลินดาทำงานเมื่อวานนี้ แต่ฉันไม่ทำ )
ข้อสังเกต : does , do didn’t ทั้ง 3 คำไปแทนกริยา likes, speak และ worked ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อต้องการมิให้ใช้กริยา 3 คำนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ
3.3 ใช้สนับสนุนกริยาตัวอื่น เพื่อให้เกิดความสำคัญกับกริยาตัวนั้นว่า จะต้องทำเช่นนั้นจริง ๆ หรือเกิดขึ้นจริง ๆ โดยให้เรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปเน้นอีกทีหนึ่งเช่น
I do go and see you tomorrow.
( ฉันจะไปพบคุณให้ได้วันพรุ่งนี้ )
Sam does write to me.
( แซมเขียนจดหมายถึงผมจริง ๆ )
They did live there two years ago.
( พวกเขาได้อยู่นั้นจริง ๆ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา )
Do come with us.
( ไปกับเราให้ได้นะ )
ข้อสังเกต : do , does , did เรียงไว้หน้ากริยาใดจะเน้นกริยาตัวนั้นให้มีน้ำหนักการกระทำขึ้นมาจริง ๆ
3.4 ใช้แทนกริยาหลักในประโยคคำตอบแบบสั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้นำเอากริยาหลังในประโยคคำถามนั้น มากล่าวซ้ำในประโยคคำตอบ เช่น
Do you smoke? Yes, I do
( คุณสูบบุหรี่หรือ? ) ( ใช่ ฉันสูบ )
Did he ride a bicycle to school? Yes, he did.
( เขาขี่จักรยานไปโรงเรียนหรือ? ) ( ใช่ เขาขี่ )
3.5 ใช้แทนกริยาหลักในประโยคทั้งที่เห็นด้วย ( agreement ) หรือไม่เห็นด้วย ( disagreement ) ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเอากริยาหลักในประโยคนำกล่าวข้างหน้า มาพูดอีกเป็นครั้งที่ 2 เช่น
เห็นด้วย :
Tom speaks a lot. Yes, he does.
( ทอมพูดมากจัง ) ( ใช่ เขาพูดมาก )
She sang well. Yes, she did.
( หล่อนร้องเพลงได้ไพเราะดี ) ( ใช่ หล่อนร้องได้ไพเราะ )
ไม่เห็นด้วย :
You eat too much. No, I don’t.
( คุณกินมากเกินไป ) ( ไม่ ฉันไม่ได้กินมากเลย )
3.6 Verb to do ถ้านำมาใช้อย่างกริยาหลัก ( Principal Verb ) ทั่ว ๆ ไป จะแปลว่า “ทำ” ดังนั้น เป็นคำถามหรือปฏิเสธต้องเอา Verb to do ( ที่เป็นกริยาช่วย ) มาช่วย do ( ที่เป็นกริยาแท้อีกทีหนึ่ง ) ตามหลักทฤษฎีที่ว่า…
เมื่อ Do แปลว่า “ทำ” จะต้องนำ do มาช่วยเพื่อช่วยให้เป็นคำถามและปฏิเสธ เช่น
ประโยคบอกเล่า
You do your homework every day.
( คุณทำการบ้านทุก ๆ วัน )
ประโยคคำถาม
Do you do your homework every day?
( คุณทำการบ้านของคุณทุก ๆ วันหรือ? )
ข้อสังเกต : Do ตัวที่ 1 เป็นกริยาช่วย มาช่วยให้เป็นคำถามไม่มีคำแปล do ตัวที่ 2 เป็นกริยาแท้ กริยาใหญ่ กริยาหลัก จะเรียกอย่างไรได้ทั้งนั้น มีคำแปลว่า “ทำ”
ประโยคปฏิเสธ
You don’t do your homework every day.
( คุณไม่ได้ทำการบ้านของคุณทุก ๆ วันหรอก )
ข้อสังเกต : do ตัวแรก ( ในคำ don’t ) เป็นกริยาช่วย มาช่วยให้เป็นประโยคปฏิเสธไม่มีคำแปล do ตัวหลังเป็นกริยาแท้ แปลว่า “ทำ” ที่ควรระวังคือ เมื่อทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธ อย่าได้นำ do ที่ปรากฏอยู่ในประโยคบอกเล่านั้นขึ้นไปไว้ต้นประโยคหรือเติม not ลงข้างหลัง do อย่างเด็ดขาด เช่น
I do my work in Bangkok.
ประโยคคำถาม
ผิด : Do I my work in Bangkok?
ถูก : Do I do my work in Bangkok?
ประโยคปฏิเสธ
ผิด : I do not my work in Bangkok. ( หรือ don’t )
ถูก : I don’t ( หรือ do not ) do my work in Bangkok.
ประโยคบอกเล่า
She does her homework.
( หล่อนทำการบ้านของหล่อน )
ประโยคคำถาม
Does she do her homework?
( หล่อนทำการบ้านของหล่อนหรือ? )
ข้อสังเกต : อย่าใช้ Does she her homework? โดยการนำเอา does ที่เป็นกริยาขึ้นไปไว้ต้นประโยค
ประโยคปฏิเสธ
She doesn’t ( หรือ does not ) do her homework.
( หล่อนไม่ได้ทำการบ้านของหล่อน )
ข้อสังเกต : อย่าใช้ she does not her homework.
3.7 ใช้แทนกริยาแท้ในประโยคคำถามที่เป็น Tag Questions เช่น
Sam lives here, doesn’t he?
( แซมอาศัยอยู่ที่นี่ ไม่ใช่หรือ? )
ข้อสังเกต : อย่าใช้ Sam lives here, doesn’t he live here?
We don’t drink whisky, do we?
( พวกเราไม่ดื่มสุรา ใช่ไหม? )
ข้อสังเกต : We don’t drink whisky, do we drink whisky?
He ate rice, didn’t he?
( เขากินข้าว ไม่ใช่หรือ? )
ข้อสังเกต : อย่าใช้ He ate rice, didn’t he eat rice?
4. การใช้ Will, Would, Shall, Should
Will, Shall, Would, Should ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้
4.1 Will แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อบอกความเป็นอนาคตกาล ( Future Tense ) และใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 2 ( คือ you ) และบุรุษที่ 3 ( คือ He , She , It , They ) ตลอดถึงนามเอกพจน์ พหูพจน์ ทั่วไปที่มาเป็นประธานได้ทั้งนั้น เช่น
He will meet his friend at the train station.
( เขาจะไปพบเพื่อนของเขาที่สถานีรถไฟ )
4.2 Shall แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อให้เป็นอนาคตกาล ( Future Tense ) เช่นเดียวกับ will และให้ใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 1 ( คือ I , We เท่านั้น ) เช่น
I shall start my journey tomorrow.
( ฉันจะออกเดินทางวันพรุ่งนี้ )
หมายเหตุ : will และ shall หากใช้สลับกันกับบุรุษที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือใช้ will กับ I , We และใช้ Shall กับ he , she , it , they ตลอดถึงนามทั่วไปที่มาเป็นประธานแล้ว ย่อมมีความหมายพิเศษขึ้น ผิดไปจากการใช้แบบปกติ เพราะนั่นแสดงถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกระทำการนั้น ๆ แสดงถึงความมั่นสัญญา , แสดงการข่มขู่ แล้วแต่กรณีไป เช่น
I will try to do it again.
( ฉันจะพยายามทำอีกครั้ง ) ( แสดงความตั้งใจ )
If you work well, you shall have higher wages.
( ถ้าคุณทำงานดี คุณก็จะได้รับค่าจ้างสูงขึ้นอีก ) ( คำสัญญา )
ประโยคตัวอย่างข้างบนนี้ จะเห็นว่าใช้ will , shall สลับบุรุษกันทั้งนี้ก็เพื่อแสดงถึงความตั้งใจแน่วแน่, การให้คำมั่นสัญญา, การข่มขู่ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วเฉพาะ Shall ยังใช้ได้กับทุกบุรุษอีกด้วย เมื่อไปเป็นกริยาพิเศษแสดงถึงวัตถุประสงค์ใน วิเศษณานุประโยค ( Adverb Clause of Purpose ) ที่มีคำสันธาน so that หรือ in order that เช่น
John comes hers so that he shall see his father.
( จอห์นมาที่นี่ก็เผื่อว่าจะได้พบกับคุณพ่อของเขา )
4.3 Would แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยให้กับกริยาตัวอื่นได้ต่อไปนี้
( a ) ใช้เป็นอดีตของ will ในประโยคที่เปลี่ยนมาจาก
Indirect Speech เช่น
She said, “I will do it again.”
( หล่อนพูดว่า “ดิฉันจะทำอีกครั้ง” )
( b ) ใช้ในประโยคเงื่อนไข ( Conditional Sentence ) เช่น
If I were you, I would try to do.
( ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะพยายามทำให้ได้ )
( c ) ใช้เป็นกริยาช่วยร่วมกับ like ในสำนวนการพูดเพื่อความสุภาพ ซึ่งมีความหมายว่า “อยากจะ, อยากให้” กรณีเช่นนี้ would ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกบุรุษ และมีความเป็นปัจจุบันกาลด้วย อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นอดีต เช่น
Jim would like to study music.
( จิมอยากเรียนวิชาดนตรี )
( d ) ให้ใช้ would ( แทน will ตลอดไป ) เมื่อผู้พูดไม่แน่ใจคือ ยังสงวนท่าทีเพื่อรอดูปฏิกิริยาของผู้ที่ตนพูดด้วยว่าจะเป็นหรือทำอย่างที่ชักนำหรือไม่ และตามกฎข้อนี้มักใช้ในคำถามเพื่อความสุภาพ เช่น
Would you have some cold drinks?
( คุณจะเอาเครื่องดื่มเย็น ๆ ไหม? )
( e ) ในประโยคคำถามที่มีกริยา mind , please เข้ามาร่วมเพื่อความสุภาพในการถามหรืออกคำสั่ง และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาอีกโสดหนึ่ง ต้องใช้ Would นำหน้าคำถามหรือคำสั่งนั้น ๆ ตลอดไป เช่น
Would you mind if I smoke? Of course not.
( คุณจะรังเกียจไหมถ้าฉันจะสูบบุหรี่? )
( ไม่รังเกียจหรอก )
( f ) ใช้ในสำนวนการพูดว่า “ควรจะ…ดีกว่า , สมัครใจที่จะ…ดีกว่า” ควบกับ better หรือ rather ใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ เช่น
Which would you rather have, beer or coffee?
( คุณอยากจะดื่มอะไรมากกว่า เบียร์หรือกาแฟ? )
ข้อสังเกต : บางครั้งหลัง better หรือ rather จะมี than มาต่อท้ายอีกก็ได้ เช่น
She would rather walk than run.
( เธออยากจะเดินไปมากกว่าวิ่ง )
4.4 Should แปลว่า “จะ” มีหลักการใช้ดังต่อไปนี้
( a ) ใช้เป็นรูปอดีต ( Past Tense ) ของ Shall ในประโยค Indirect Speech เช่น
He said to me, “You will be able to do it.”
( เขาพูดกับฉันว่า “คุณจะต้องสามารถทำมันได้” )
( b ) ในประโยคที่เป็นอนาคตกาล ( Future Tense ) ถ้าผู้พูดยังมีความสงสัย ไม่แน่ใจ หรือยังเป็นการคาดหมายอยู่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้น ต้องใช้ should ตลอดไป ( ไม่นิยมใช้ shall ) เช่น
They should be there by 3 o’clock, I think.
( ฉันคิดว่า พวกเขาจะต้องไปถึงที่นั่นในเวลาบ่าย 3 โมง )
( c ) should เมื่อแปลว่า “ควรจะ” คือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ ใช้แสดงถึงหน้าที่ที่จะต้องกระทำการให้คำแนะนำ ( duty , obligation หรือ advice ) ซึ่งมีความหมายเท่ากับ ought to โดยเฉพาะภาษาพูดจะใช้ should แทน ought to เช่น
You should go on a diet.
( คุณควรลดอาหารบ้าง )
( d ) ใช้ should have + Verb ช่อง 3 กับอดีตกาลที่ไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งได้ผ่านพ้นมาแล้ว เช่น
John should have studied hard before the examination. ( but he didn’t. )
( จอห์นควรจะได้เรียนอย่างหนักก่อนที่จะสอบ )
( e ) ใช้ should แทน might กับทุกประธานได้ ในประโยคที่แสดงความมุ่งหมาย โดยมีสันธาน so that, in order that นำหน้าประโยคของมัน เช่น
I helped him very much so that he should ( might ) succed.
( ฉันได้ช่วยเขาอย่างมากทีเดียว ดังนั้นเขาควรสำเร็จ )
( f ) ใช้ should ในประโยคที่ตามหลัง lest , for fear that ตลอดไป เช่น
Bill studied harder lest he should fail.
( บิลเรียนหนักยิ่งขึ้น เผื่อว่าจะได้ไม่ต้องสอบตก )
4.5 Can แปลว่า “สามารถ” เป็นกริยา Anomalous Verb ( กริยาพิเศษ ) ได้เพียงอย่างเดียว รูปอดีตของ can คือ could กริยาตัวอื่นที่ตามหลัง can เป็น Infinitive Without “to” และนอกจากนี้แล้ว can ยังใช้ได้กับทุกประธานและทุกพจน์อีกด้วย ซึ่งมีวิธีใช้ได้ดังต่อไปนี้
( a ) ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธะอื่น ๆ เช่น
I can see you tomorrow at 7 o’clock.
( พรุ่งนี้ฉันพบคุณได้เวลา 7 นาฬิกา )
( b ) ใช้แสดงภาวะการรับรู้ซึ่งมิอาจควบคุมได้ เช่น
I can see. ( hear , remember , etc.)
( ฉันสามารถเห็น ) ( ได้ยิน , จำได้ เป็นต้น )
( c ) ใช้แสดงถึงสิ่งที่ผู้พูดพูดนั้นเป็นความจริง หรือเป็นไปได้อย่างแน่นอน โดยปราศจากข้อสงสัย เช่น
This can be the answer, I think.
( ฉันคิดว่า นี่คือคำตอบที่ถูกต้อง )
( d ) ใช้แสดงถึงความสามารถหรือการอนุญาต เช่น
I can drive very far from here.
( ฉันสามารถขับรถไปได้ไกลจากที่นี่ )
( e ) ใช้แสดงถึงพละกำลัง การฝึกหัดและการเรียนรู้ เช่น
Can you lift that table?
( คุณสามารถยกโต๊ะตัวนั้นได้ไหม? )
4.6 Could แปลว่า “สามารถ” เป็นรูปอดีตของ can ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกตัวประธาน กริยาตัวอื่นที่ตามหลังเป็น Infinitive Without “to” ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ดังต่อไปนี้
( a ) ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธะอื่น ๆ ได้ แต่มีความแน่นอนน้อยกว่า Can เช่น
She could see me tomorrow at 7 o’clock, perhaps.
( พรุ่งนี้เวลา 7 นาฬิกา หล่อนจะพบผมก็ได้ )
( b ) ใช้เป็นอดีตของ Can ในประโยค Indirect Speech ( ที่เปลี่ยนมาจาก Direct Speech ) เช่น
Direct :
She said, “I can go there alone?”
( หล่อนพูดว่า “ดิฉันสามารถไปที่นั่นคนเดียวได้? )
She said that she could go there alone.
( หล่อนพูดว่าหล่อนสามารถไปที่นั่นคนเดียวได้ )
( c ) ใช้แสดงถึงความสามารถที่ได้กระทำในอดีต เช่น
I could speak Chinese perfectly ten years ago.
( ผมสามารถพูดภาษาจีนได้ดี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา )
( d ) ใช้เพื่อขออนุญาตกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับคู่สนทนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่เราพูดด้วย เช่น
Could I borrow your pen, please?
( ฉันขอยืมปากกาของคุณหน่อยได้ไหมครับ? )
( e ) could ที่นำมาใช้ในรูป could + have + Verb ช่อง 3 เพื่อแสดงถึงความสามารถหรือความเป็นไปได้ในอดีตแต่ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถนั้นเสีย เช่น
I could have lent you the money.
Why didn’t you ask me?
( ฉันสามารถให้คุณยืมเงินได้ ทำไมคุณจึงไม่ขอฉัน? )
5. หน้าที่ของ May สำหรับ May และ Might นั้นเป็นคำกริยาจำพวก Anomalous Verb ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น รูปอดีตของ May ก็คือ Might รูปปฏิเสธคือ may not ( mayn’t ) และ might not ( mightn’t ) และ may นำมาใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้
5.1 ใช้เพื่อแสดงความมุ่งหมาย ( Purpose ) และจะอยู่หลัง so that หรือ in order that เสมอ เช่น
I study hard so that I may pass the test.
( ฉันเรียนอย่างหนัก เพื่อว่าจะสอบผ่าน )
5.2 ใช้เพื่อแสดงความปรารถนา ความหวัง หรือการอวยพรให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องประสงค์ ( may อยู่ต้นประโยคเสมอ ) เช่น
May you be happy for ever.
( ขอให้คุณประสบแต่ความสุขตลอดไป )
May he succeed in his new job.
( ขอให้เขาประสบความสำเร็จในงานใหม่ของเขา )
5.3 ใช้ช่วยเพื่อแสดงการอนุญาต หรือการขออนุญาต ( Permission ) ที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
May I use your dictionary? Yes, you may.
( ฉันขอใช้พจนานุกรมของคุณได้ไหม? ได้ เชิญเลย )
5.4 ใช้ช่วยเพื่อแสดงความคาดคะเนว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เช่น
Linda may come next Sunday.
( ลินดาอาจมาวันอาทิตย์หน้า )
5.5 ใช้ช่วยเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจของผู้พูดที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ เช่น
You may talk to everybody but you can’t force him to listen to you.
( คุณอาจจะพูดกับทุกคนได้ แต่คุณไม่สามารถบังคับให้เขาฟังคุณ ( ทุกครั้ง ) ไปได้ )
5.6 ใช้ช่วยเพื่อแสดงความเป็นไปได้ ( Possibility ) สำหรับการกระทำนั้น ๆ เช่น
It may rain this afternoon.
( ฝนอาจจะตกในตอนบ่ายนี้ )
6. Might มีวิธีใช้ดังต่อไปนี้
6.1 ใช้เป็นอดีตของ may ในประโยคที่เปลี่ยนมาจาก Direct Speech เช่น
Direct :
He said, “I may drive your car for you today.”
( เขาพูดว่า “ฉันอาจจะขับรถของคุณให้คุณวันนี้” )
Indirect :
He said that he might drive my car for me that day.
( เขาพูดว่าเขาอาจจะได้ขับรถของฉันให้ฉันวันนั้น )
6.2 ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่นอนใจว่า เขาจะทำอย่างนั้นอย่างนี้จริง ( แต่หากมั่นใจอย่างแน่นอนให้ใช้ may แทน ) เปรียบเทียบจากตัวอย่างประโยค 2 ประโยคนี้ เช่น
A : I don’t know where Jim is. He might be at his office.
B : I think Jim may be at his office.
ประโยคแรก : A ไม่ทราบว่าจิมอยู่ที่ไหนกันแน่ เพียงคาดการณ์ว่าเขาอาจจะอยู่ที่ทำงานของเขาก็ได้ เมื่อพูดออกไปโดยไม่แน่ใจเช่นนั้น จึงใช้ might มาเป็นกริยาช่วย
ประโยคที่สอง : B รู้แจ้งประจักษ์กับตัวเองอย่างเต็มที่ว่า จิมจะต้องทำงานอยู่ที่ทำงานไม่ได้ไปไหน เพราะเห็นมาด้วยตาตัวเองแล้ว จึงเกิดความมั่นใจ 100% ว่า จิมจะต้องอยู่ที่ทำงานของเขา จึงใช้ may มาเป็นกริยาช่วยอันแสดงถึงความมั่นใจ
6.3 might + have + Verb ช่อง 3 นำมาใช้เพื่อแสดงถึงความไม่แน่นอนใจขณะที่พูดถึงสิ่งที่เป็นอดีต เช่น
I can’t imagine why she was late. She might have been delayed by the traffic or she might have had an accident.
( ฉันก็ไม่คิดไม่ออก ( เหมือนกัน ) ว่า ทำไมหล่อนถึงมาสายหล่อนอาจมาสายเพราะการจราจรทำให้ล่าช้า หรือว่าหล่อนได้รับอุบัติเหตุ )
ข้อสังเกต : การคาดคะเนในลักษณะไม่แน่ใจถึงสิ่งที่เป็นอดีตเช่นนี้ ต้องใช้ might + have + Verb ช่อง 3 เพราะผู้พูดพูดไปในลักษณะวิเคราะห์เหตุการณ์ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ประจักษ์กับตัวเองแล้ว
7. การใช้ Must
Must เป็นกริยาจำพวก Anomalous Verb อย่างแท้จริง ไม่มีรูป Infinitive, Participle เช่นกริยาธรรมดาทั่วไป และไม่ต้องเติม s ถึงแม้ประธานจะเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ ซึ่งมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้
7.1 ใช้เป็นกริยาที่แสดงคำสั่งหรือความจำเป็นที่จะต้องทำ ( Necessity ) เช่น
We must obey the laws of the country.
( เราจะต้องเชื่อฟังกฎหมายของประเทศ )
7.2 ใช้แสดงการบอกเล่าที่ต้องการเน้นให้หนักแน่น แต่ไม่ใช่แสดงความจำเป็น เช่น
You must know that my father is very busy.
( คุณจะต้องรู้ว่า พ่อของฉันยุ่งมาก )
7.3 ใช้แสดงความตั้งใจหรือความแน่ใจของผู้พูด เช่น
I must finish this before I go to bed.
( ฉันจะต้องทำสิ่งนี้สำเร็จก่อนที่จะเข้านอน )
7.4 ใช้แสดงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการของผู้พูด เช่น
Every time I call on him, he must be busy.
( ฉันไปหาเขาทีไร เขาเป็นต้องไม่ว่างสักที )
7.5 ใช้แสดงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์หรือกับสิ่งอื่นใด ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น
Man must die.
( คนเราต้องตาย )
7.6 ใช้แสดงการกระทำที่เป็นหน้าที่โดยตรง เช่น
We must pay taxes to our government
( เราจะต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลของเรา )
7.7 ใช้แสดงการขอร้อง ( ในสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ) เช่น
You must forgive me for that matter.
( คุณจะต้องให้อภัยฉันสำหรับเรื่องนั้น )
หมายเหตุ : must เป็น Present Tense ( ปัจจุบันกาล ) อย่างเดียว ไม่มีรูปอดีตหรืออนาคตเป็นของตนเอง แต่เมื่อต้องการใช้เป็นอดีตกาล ( Past Tense ) ให้ใช้ had to แทน หรือต้องการให้เป็นอนาคตกาล ( Future Tense ) ให้ใช้ will have to หรือ shall have to เช่น
ปัจจุบัน : I must study the American History.
อดีต : I has to study the American history.
อนาคต : I shall have to study the American history.
( ฉันต้องศึกษาประวัติศาสตร์อเมริกา )
8. การใช้ Need
Need เป็นกริยา Anomalous Verb ที่ออกจะพิเศษอยู่นิดหน่อยนั้นคือ ใช้เป็นกริยาแท้ ( Finite Verb ) ก็ได้ ใช้เป็นกริยาช่วย ( Helping Verb ) ก็ได้ ดังจะได้อธิบายถึงรายละเอียดของการใช้ดังนี้
8.1 Need ใช้อย่างกริยาแท้
( a ) Need ถ้านำมาใช้อย่างกริยาแท้ทั่ว ๆ ไป ตามด้วยคำกริยารูป Infinitive With “to” และเมื่อประธานของ need เป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาล need ต้องเติม s และเมื่อเป็นอดีตให้เติม ed ที่ need ได้เลย เช่น
Linda needs to go to see a doctor when she is sick.
( ลินดาต้องไปหาหมอเมื่อหล่อนไม่สบาย )
( b ) need ที่ใช้อย่างกริยาแท้ ( Finite Verb ) เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธต้องใช้ Verb to do เข้ามาช่วย เช่น
ประโยคบอกเล่า :
He needs to work to earn his living.
( เขาจำเป็นต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเขาเอง )
ประโยคปฏิเสธ :
He doesn’t need to work to earn his living.
( เขาไม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีพของเขา )
ประโยคคำถาม :
Does he need to work to earn his living?
( เขาจำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพของเขาหรือ? )
8.2 Need ที่ใช้อย่างกริยาช่วย
( a ) Need ที่ใช้อย่างกริยาช่วย ( Helping Verb ) คำกริยาตัวอื่นที่ตามหลังต้องเป็น Infinitive Without “to” และเมื่อประธานเป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาล need ก็ไม่ต้องเติม s ( หรือ ed, ing อะไรทั้งนั้น ) เช่น
She need hardly do have work.
( เธอแทบจะไม่ได้ทำงานหนักเลย )
( b ) Need ที่ใช้อย่างกริยาช่วย ไม่นิยมนำไปแต่งประโยคหรือพูดในข้อความที่เป็นบอกเล่า ( Affirmative ) แต่นิยมนำมาใช้ในประโยคคำถาม ( Interrogative ) หรือประโยคปฏิเสธ ( Negative ) หรือในประโยคที่มีข้อความเป็นกึ่งปฏิเสธ ( Negative Implication ) เท่านั้นเช่น
ประโยคคำถาม :
Need you continue your studies abroad?
( คุณจำเป็นต้องเรียนต่อต่างประเทศหรือ? )
ประโยคปฏิเสธ :
They needn’t smoke.
( พวกเขาไม่จำเป็นต้องสูบบุหรี่ )
ประโยคคำถาม :
Need you marry her next month?
( คุณจำต้องแต่งงานกับหล่อนในเดือนหน้าหรือ? )
ประโยคกึ่งปฏิเสธ :
Sam need rarely go to see the movie.
( แซมแทบจะไม่ค่อยได้ไปดูหนังเลย )
9. การใช้ Dare
Dare แปลว่า “กล้า, ท้า” เป็นกริยา Anomalous Verb ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ Need นั่นคือจะใช้อย่างกริยาแท้ ( Finite Verb ) ก็ได้หรือจะใช้อย่างกริยาช่วย ( Helping Verb ) ก็ได้ ซึ่งมีรายละเอียดการใช้ดังต่อไปนี้
9.1 ใช้อย่างกริยาแท้มีหลักดังนี้
( a ) Dare ที่ใช้อย่างกริยาแท้ กริยาตัวอื่นที่ตามหลังต้องเป็นรูป Infinitive With “to” และตัวกริยา dare นั้นหากประธานเป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาลต้องเติม s หรือเติม ed เมื่อเป็นอดีตกาล เช่น
I dare to swim across this river.
( ผมกล้าว่ายข้ามแม่น้ำสายนี้ได้ )
( b ) Dare ที่นำมาใช้อย่างกริยาแท้ เมื่อต้องการทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธให้ใช้ Verb to do เข้ามาช่วย เช่น เดียวกับที่ไปช่วยกริยาแท้ตัวอื่น ๆ เช่น
ประโยคบอกเล่า
Sam dares to work hard every day.
( แซมกล้าทำงานหนักทุก ๆ วัน )
ประโยคคำถาม
Does he dare to work hard every day?
( เขากล้าทำงานหนักได้ทุกวันหรือ? )
ประโยคปฏิเสธ
He doesn’t dare to work hard every day.
( เขาไม่กล้าที่จะทำงานหนักได้ทุกวัน )
9.2 ใช้อย่างกริยาช่วยมีหลักดังนี้
( a ) Dare ใช้อย่างกริยาช่วย กริยาตัวอื่นที่ตามหลังเป็น Infinitive Without “to” และ dare ที่นำมาใช้ตามความหมายนี้ ไม่ต้องเติม s แม้ประธานจะเป็นเอกพจน์ปัจจุบันกาล เช่น
We dare walk to school without a bus.
( เรากล้าเดินไปโรงเรียนโดยไม่มีรถประจำทาง )
( b ) Dare ที่ใช้อย่างกริยาช่วย เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธให้เอา dare ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้เลย เช่น
ประโยคบอกเล่า
John dare go to be near a snake.
( จอห์นกล้าเข้าไปใกล้งูได้ )
ประโยคคำถาม
Dare John go to be near a snake?
( จอห์นกล้าเข้าไปใกล้งูได้หรือไม่? )
ประโยคปฏิเสธ
John daren’t go to be near a snake.
( จอห์นไม่กล้า เข้าไปใกล้งูหรอก )
10. วิธีการใช้ Ought to
Ought to แปลว่า “ควรจะ” เป็นกริยาช่วยอย่างเดียว และมีรูปเดียว ( ไม่มีรูป Past ) แต่ถ้าต้องการจะใช้ Past ต้องตามด้วย Perfect Infinitive ( คือ ought + to have +Verb ช่อง 3 อนึ่ง ought to จะใช้ should ( ที่แปลว่า “ควรจะ” ) แทนก็ได้ แต่ความหมายของคำว่า “ควรจะ” อ่อนกว่านิดหน่อย การใช้มีดังนี้
10.1 ใช้แสดงถึงการกระทำอันเป็นหน้าที่หรือสมควรที่จะกระทำ เช่น
You ought to start your job at once. ( Present )
( คุณควรจะเริ่มงานของคุณเดี๋ยวนี้ได้แล้ว )
You ought to have told me that yesterday. ( Past )
( คุณควรจะได้บอกเรื่องนั้นให้ฉันรู้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ )
10.2 ใช้แสดงความคาดคะเนว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น ๆ ได้ เช่น
Our team ought to win the match for today.
( ทีมของเราควรจะชนะการแข่งขันสำหรับวันนี้ )
10.3 เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธให้เอา ought ขึ้นไว้ต้นประโยคและหรือเติม not ข้างหลัง ought ได้ เช่น
He ought to forgive me for my fault.
( เขาควรจะให้อภัยฉันสำหรับความผิดของฉัน )
11. การใช้ Used to
Used to แปลว่า “เคย” มีรูปเป็น Past Tense เพียงรูปเดียวจะนำ used to มาใช้ก็ต่อเมื่อกล่าวถึงการกระทำที่เป็นปกตินิสัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ในอดีต แต่ปัจจุบันการกระทำที่กล่าวถึงนั้นมิได้กระทำหรือเกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้น used to จึงต้องใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นอดีตเสมอ การใช้มีดังต่อไปนี้
11.1 ใช้ used to + Verb 1 เสมอ เมื่อกล่าวถึงการกระทำที่เคยทำในอดีต เช่น
There used to be a cinema hall on this street.
( เคยมีโรงหนังบนถนนสายนี้ )
11.2 Used to เมื่อต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธให้ใช้ did not use to , never used to หรือ used not to + Verb 1 ได้ทั้งนั้น