แสงแดด (Sunlight )
ศัตรูอันดับหนึ่งของผิวสวย คือ แสงแดด ( Sunlight ) การหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดด เป็นคำเตือนที่เด็ดขาด เป็นสิ่งที่ทุกท่านต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาผิวสวย แสงแดดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมันจะทำให้ผิวหนังเหี่ยวและแก่เร็ว ( Skin Aging )
รังสีผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับหรือสะท้อนกลับ ทำให้มีรังสีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ผ่านเข้าสู่ผิวโลกได้ โดยทั่วไปเรามักนึกถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) แต่ทราบหรือไม่ว่า รังสีอัลตราไวโอเลตที่ผ่านเข้ามายังลกมีเพียง 8% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นรังสีอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งมีประมาณ 53% และที่เหลือเป็นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) ประมาณ 39% รังสีที่มีอันตรายต่อผิวหนังของเราคือ รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีอินฟราเรด ทั้งนี้รังสีอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นต่ำกว่า แต่มีความถี่และพลังงานสูงกว่าแสงที่มองเห็นได้และรังสีอินฟราเรด
รังสีสัมผัสกับผิวหนัง รังสีที่มีปริมาณพลังงานที่เหมาะสมจะถูกดูดซึมเพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมื ถึงแม้ UVA จะมีพลังงานต่ำกว่า UVB แต่สามารถผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกกว่า UVB โดย UVA สามารถผ่านชั้นผิวหนังได้ถึงหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นใน ส่วน UV8 จะถูกดูดซับอยู่ที่หนังกำพร้า (Epidermis ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นนอก ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานของ UVB มีปริมาณเหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาเคมื เมื่อสัมผัสกับผิวหนังจึงถูกดูดซึมเพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุหลักของผิวไหม้จากแสงแดด ขณะที่ UVA ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าจึงไม่เกิดปฏิกิริยาที่ชั้นหนังกำพร้าแต่สามารถผ่านไปสู่ชั้นหนั่งแท้ซึ่งเป็นผิวหนังที่อยู่ลึกกว่า แล้วจึงถูกดูดซึมเกิดเป็นสารอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวคล้ำ รวมทั้งก่อให้เกิดผลเสียระยะยาว เช่น รอยผิวหนังเหี่ยวย่น จุดต่างดำ นอกจากนี้ทั้ง UVA และ UVB ยังส่งผลกระทบต่อ DNA ของเซลล์ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
คุณสมบัติของรังสียูวีเอ
รังสียูวีเอมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
รังสียูวีเอจะกระตุ้นเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในเซลล์ผิวชั้นบน,ทำให้ผิวเป็นสีน้ำตาลในระยะสั้นรังสี UVA สามารถผ่านชั้นของเมฆ และหมอกควันได้อย่างไม่จำกัดรังสี UVA สามารถทะลุผ่านกระจกและหน้าต่าง รังสี UVA เจาะลึกผ่านลงไปในผิวชั้นล่าง (ชั้นหนังแท้) มีบทบาทสำคัญในการที่ผิวถูกทำร้ายจากแสงแดดในระยะยาวมากกว่าที่จะเกิดความเสียหายรุนแรง
-
ริ้วรอยผิวก่อนวัยอันควร
-
ภูมิแพ้แสงอาทิตย์, PLE และผิวไวต่อแดด
-
การกดภูมิคุ้มกัน
-
ตาและจอประสาทตาเกิดความเสียหาย
คุณสมบัติของรังสียูวีบี
รังสีมีความผันผวนตลอดทั้งวัน โดยจะมีความเข้มสูงในตอนเที่ยง
รังสีจะกระตุ้นการผลิตเมลานินใหม่ ที่มีสีน้ำตาลดำติดทนนาน และกระตุ้นการผลิตเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่หนาขึ้น
สามารถเผาไหม้ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน และพื้นที่สูง
สามารถเจาะลึกเข้าสู่ผิวได้น้อยกว่ารังสียูวีเอ แต่สามารถสร้างอนุมูลอิสระในทุกระดับของผิวชั้นหนังกำพร้า
ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอมากกว่ารังสี UVA และเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียหายของดีเอ็นเอ
รังสียูวีบีสามารถเจาะเข้าชั้นที่ลึกที่สุดของเซลล์ผิวหนังชั้นนอก และเป็นสาเหตุหลักการถูกทำร้ายจากดวงทิตย์แบบเฉียบพลัน
- ผิวไหม้แดด
- การทำร้ายดีเอ็นเอโดยตรง และโรคมะเร็งผิวหนัง
- ตาและจอประสาทตาเกิดความเสียหาย
ยาที่กระตุ้นให้เกิดผิวไวต่อแสง
ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต
หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต ที่ในปริมาณที่พอเหมาะจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามิ(D) ช่วยการเจริญเติบโตของร่างกาย และรังสีอัลตราไวโอเลตยังมีส่วนช่วยในด้านการแพทย์และทางการเกษตร ด้วยเช่นกัน
สำหรับค่าดัชนียูวีนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
- สีเขียว (0-2) Low : มีผลต่อผิวหนังต่ำ
- สีเหลือง (3-5) Moderate : เริ่มมีผลต่อผิวหนัง ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดด
- สีส้ม (6-7) High : ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชม.
- สีแดง (8-10) Very High : ปฏิบัติเช่นเดียวกับ ระดับสีส้ม แต่ความเข้มข้นระดับนี้เริ่มส่งผลเสียรุนแรงต่อผิวหนังและดวงตา
- สีม่วง (มากกว่า 11 ขึ้นไป) Extreme : ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด เพราะแสงอาทิตย์จะเผาไหม้ผิวหนัง และส่งผลเสียต่อดวงตาในเวลาไม่กี่นาที
-ขอบคุณข้อมูล https://www.alistfilm.com/ และ https://www.eucerin.co.th/
และ
บรรณานุกรม
ColorScience. What is PA+++? . Retrieved January 23, 2019, from https://www.colorescience.com/learn/what-is-pa.
Fahlman, B.D. (2018). Chemistry in Context: Applying Chemistry to Society. New York: McGraw-Hill Education.
International Commission on non-ionizing radiation protection. Infrared Radiation 780 nm – 1000 um. Retrieved January 16, 2019, from https://www.icnirp.org/en/frequencies/infrared/index.html.
https://www.scimath.org/