ไวรัส (Virus) หมายถึง สารที่เป็นพิษ ต่อมาได้ให้ความหมายใหม่ว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นอนุภาคมีสารพันธุกรรมเป็น DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง มีการสืบพันธุ์ภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตโดยใช้สารประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ เพื่อการสังเคราะห์ไวรัสใหม่ขึ้นมา และสามารถถ่ายทอดไปสู่เซลล์อื่น ๆ ได้ ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากไม่จัดเป็นโพรทิสต์เพราะไม่จัดเป็นเซลล์ไวรัสเป็นเพียงอนุภาคที่เรียกว่า ไวริออน (Virion) ซึ่งประกอบด้วย กรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง (DNA หรือ RNA) ไม่มีกระบวนการเมแทบอลิซึม จึงต้องอาศัยพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่น
ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีสมบัติของเซลล์ เพราะไม่มีทั้งเยื่อหุ้มเซลล์และโปรโตพลาสซึมจึงถือว่าไวรัสเป็นอนุภาคเรียกว่าไวริออน(virion) แต่ละไวริออนของไวรัส ประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกชนิด DNA หรือ RNA ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น และอาจเป็นชนิดสายคู่ (double strand) ก็ได้ และมีโปรตีนเรียกว่าแคปสิด (capsid) หุ้มห่อโดยรอบกรดนิวคลีอิกแคปสิดประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า แคปโซเมอร์ (capsomer) ส่วนของกรดนิวคลีอิกและโปรตีนนี้รวมเรียกว่า นิวคลีโอแคปสิด (nucleocapsid) ไวริออนของไวรัสบางชนิดพบว่ามีสารพวกไลปิคหรือไลโปโปรตีนหุ้มอยู่รอบนอกของแคปสิดอีกชั้นหนึ่ง
ไวริออนของไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่พบว่ามีเอนไซม์ที่ช่วยจําลองกรดนิวคลีอิกเมื่อไวริออนนั้นจะเพิ่มจํานวน ดังนั้นการเพิ่มจํานวนของไวรัสจึงต้องอาศัยเอนไซม์และเมตาบอไลต์ทั้งหมดจากเซลล์ที่ไวรัสอาศัยอยู่ เพื่อใช้จําลองกรดนิวคลีอิกของตัวไวรัสเองและเพื่อสร้างโปรตีนมาเป็นแคปสิด จากนั้นโปรตีนที่สร้างขึ้นจะไปหุ้มกรดนิวคลีอิกที่สร้างใหม่เป็นไวริออนใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมากมายอยู่ภายในเซลล์ที่ไวรัสอาศัยอยู่รูปร่างของไวรัสมี 3 ชนิด คือ
1. helical symmetry รูปร่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงหรือโค้งงอ 2. cuboidal symmetry เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์หรือหลายเหลี่ยม 3. binal symmetry เป็นรูปร่างที่มี 2 ส่วน คือ ส่วนหัวละส่วนหาง
การจัดจําแนกไวรัส
จําแนกไวรัสตามหลักของ เอ ลูฟฟ์ และผู้ร่วมงาน (A. Lwoff et al. 1962)
1. ในระดับไฟลัมใช้ชนิดของกรดนิวคลีอิกว่าเป็น DNA หรือ RNA เป็นลักษณะสําคัญ
2. ในระดับคลาสใช้รูปร่างของไวรัส ซึ่งอาศัยการเรียงตัวของแคปสิด เป็นลักษณะสําคัญ
3. ในระดับออร์เดอร์พิจารณาการมีหรือไม่มีเปลือกหุ้ม เป็นลักษณะสําคัญ
4. ในระดับแฟมิลี่ พิจารณาขนาดของไวริออน หรือจํานวนแคปโซเมอร์ต่อไวริออนเป็นลักษณะสําคัญ
5. ในระดับจีนัสและสปีชีส์พิจารณาจํานวนการเรียงลําดับของไนโตรเจนเบสในกรดนิวคลีอิกและจํานวน
นิวคลีไอไทด์ รวมทั้งสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของแคปโซเมอร์เป็นลักษณะสําคัญ
การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ของไวรัส
ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคกับพืชนิยมเรียกตามชื่อพืชที่ไวรัสอาศัย และอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสนั้น (host-symptom system) เช่น TMV ทําให้เกิดอาการใบด่างของยาสูบไวรัสที่ทําให้เกิดโรคในสัตว์นิยมเรียกตามอาการของโรคแล้วต่อท้ายด้วยคําว่าไวรัส เช่น pox virus คือไวรัสที่ทําให้เกิดโรคฝีดาษ อาการเป็นตุ่มมีนํ้าเหลือง (pox) หรือเรียกตามวิธีการแพร่ของโรคไวรัสนั้น เช่น Arbovirus คือไวรัสที่มีสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโปดาเป็นพาหะช่วยแพร่โรคไวรัสที่อาศัยในแบคทีเรีย นิยมเรียกชื่อแบคทีเรียนั้นต่อด้วยคําว่า phage เช่นcoliphageคือ ไวรัสที่อาศัยอยู่ในเซลล์ Escherichia coli