ปี ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) จาก โครงการ ARPANET : Advanced Research Projects Agency Network ซึ่งเป็นเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense หรือ DOD) กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผลการศึกษาทดลองพบว่า …คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อผ่านเครือข่ายกันได้โดยใช้ Internet protocal (IP)
ด้วยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบกระจาย (Decentralized) แต่ละเครือข่ายสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แม้บางส่วนของเครือข่ายจะถูกตัดขาดลง แต่การติดต่อสื่อสารก็ยังคงถูกส่งอยู่ในเครือข่ายส่วนที่เหลือ ซึ่งต่อมา นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการเชื่อมต่อเป็นโปรโตคอลแบบ TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ระบบ ARPANET ประสบความสำเร็จอย่างมาก … จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานของเอกชนต่างๆ สหรัฐอเมริกา ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย
การทำงานของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกันซึ่งก็คือ โพรโทคอล(Protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ทรานมิสชันคอนโทรโปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆหรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนี่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยากถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงเกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS:Domain Name Server) ซึ้งประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อและโดเมน ดังนี้
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
1.โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เตรื่อข่ายตั้งอยู่
ทั้งนี้กรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร
2.โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทขององค์กร
3.การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up Connection) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อมีดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
2.เว็บเบราว์เซอร์เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจักเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
3.หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งในการต่อเชื่อม
4.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (digital) ให้เป้นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
5.บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูปโดยคิดค่าใช้นริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ เป็นต้น
การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์มีข้อดี คือ สะดวกและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านความเร็ว และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์
- ใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบว่าส่วนไหนของพื้นที่ในโชว์รูมเป็นที่นิยมมากที่สุด และส่วนไหนที่ลูกค้าใช้เวลาอยู่นานที่สุด
- เจาะลึกลงในข้อมูลการขายที่พร้อมใช้งา นเพื่อระบุผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขายได้เร็วที่สุด
- จัดเรียงข้อมูลการขาย พร้อมด้วยแหล่งจ่ายอัตโนมัติ เพื่อจัดการกับคลังสินค้า