ความหมายสิ่งแวดล้อม
ความหมายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต เห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมจะประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์นั่นเอง
- สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก (พืช และสัตว์) ฯลฯ
- สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สาธารณูปการต่างๆ เช่น ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ฯลฯ หรือระบบของสถาบันสังคมมนุษย์ ที่ดำเนินชีวิตอยู่ ฯลฯ
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ (สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน และกำลังแรงงานมนุษย์ เป็นต้น
โดยคำนิยามแล้ว จะเห็นได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่เป็นทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่า การที่จะจำแนกสิ่งแวดล้อมใดๆ เป็นทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ
- ประการแรกเกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง
- ประการที่สองการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ถ้ายังไม่นำมาใช้ก็เป็นสิ่งแวดล้อม แต่ถ้านำมาใช้ประโยชน์ได้ ก็จะกลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเวลานั้นๆ
- ประการที่สามสภาพภูมิศาสตร์และความห่างไกลของสิ่งแวดล้อม ถ้าอยู่ไกลเกินไปคนอาจไม่นำมาใช้ ก็จะไม่สามารถแปรสภาพเป็นทรัพยากรธรรมชาติได้
นอกจากนี้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มคละกันไป โดยอยู่ร่วมกันอย่างมีกฎ ระบบ ข้อบังคับ ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และทั้งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา การอยู่เป็นกลุ่มของสรรพสิ่งเหล่านี้ จะแสดงพฤติกรรมร่วมกันภายในขอบเขต และแสดงเอกลักษณ์ของกลุ่มออกมาอย่างชัดเจน กลุ่มของสรรพสิ่งเหล่านี้จะเรียกว่า ระบบนิเวศ หรือระบบสิ่งแวดล้อม นั่นเอง
การจัดการ (Management) หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด และการสงวนรักษา เพื่อให้กิจกรรมที่ดำเนินการนั้น สามารถให้ผลยั่งยืนต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติ โดยหลักการแล้ว “การจัดการ” จะต้องมีแนวทางการดำเนินงาน ขบวนการ และขั้นตอน รวมทั้งจุดประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจนแน่นอน
การจัดการสิ่งแวดล้อมหมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต นั่นก็คือ จะต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษ ที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ปลอดภัย นั่นเอง
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จะต้องยึดหลักการทางอนุรักษ์วิทยา เพื่อประกอบการดำเนินงานในการจัดการดังนี้ คือ
๑) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ใช้อย่างฉลาด หรือใช้ตาม ความจำเป็น ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย และไม่เกิดการสูญเปล่า หรือเกิดการสูญเปล่าน้อยที่สุด
๒) การประหยัดของที่หายาก และของที่กำลังสูญพันธุ์
๓) การปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งที่เสื่อมโทรมให้คืนสภาพก่อนนำไปใช้ เพื่อให้ระบบสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี
1. สารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงาน
สารเคมีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่อยู่ในรูปสิ่งของเครื่องใช้ และอาหารนั่นเอง ในเครื่องอุปโภคบริโภค ดังกล่าวแทบทุกชนิดนั้น จะมีสารเคมีเกี่ยวข้องอยู่แทบทั้งนั้น ทั้งที่เป็นวัตถุดิบส่วนประกอบ ตัวเร่งปฏิกิริยา สารพิษตกค้างหรือสิ่งปรุงแต่งรส สี และกลิ่น เป็นต้น สารเคมีที่นำเข้ามาใช้นั้นอาจจะมีเป็นก๊าซของ เหลว หรือของแข็งและเมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้ เครื่องอุปโภค บริโภคดังกล่าวจึงต้องเพิ่มขึ้นตลอดเวลานอกจากนี้คนเราก็มีความพยายามที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้สะดวกสบายและให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นการคิดค้นเพื่อนำสารเคมีใหม่ๆ มาใช้เพื่อสนองความต้องการดังกล่าวจึงไม่มีที่สิ้นสุด ในปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้อยู่มีไม่น้อยกว่า 60000 ถึง 70000 ชนิด ซึ่งรวมถึงที่เป็นตัวยาและสารปราบศัตรูพืช และในแต่ละปีจะมีการนำสารเคมีใหม่ๆ มาใช้ไม่น้อยกว่าปีละ 500-1000 ชนิด
ในการนำสารเคมีใช้เพื่อผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคนั้น จะพบทั้งในภาคเกษตรกรรมในรูปของปุ๋ยสารปราบศัตรูพืช และสารเร่งการ เจริญเติบโตของพืช และในภาคอุตสาหกรรมทุกสาขานับตั้งแต่ อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน อุตสาหกรรมเปโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารและยา และอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตเคมีและเกษตรกรรมนั้น จะต้องคลุกคลีอยู่กับสารเคมีที่แตกต่างกันออกไป ทั้งชนิดปริมาณ ลักษณะ และอันตรายของสารเคมีเหล่านั้น สารเคมีทั้งหมดที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นพบว่ามีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ที่อาจก่อให้ เกิดอันตรายต่อคนงานหรือผู้ใช้แรงงานที่เกี่ยวข้องได้ทั้งในรูปของการบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยขึ้นได้ สำหรับในเชิงของความเป็นพิษนั้น ยังมีสารเคมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถทราบถึงพิษภัยได้อย่างแน่ชัด อย่างไรก็ตามบางครั้งสารเคมีที่ใช้ในการผลิต ที่มีคนงานเกี่ยวข้องซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้นั้น บางครั้งก็ เรียกว่าสารเคมีอันตราย (dangerous materiaIs) ทั้งนี้ เพราะสาร เคมีดังกล่าว เมื่ออยู่ในภาวะหนึ่ง อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากคุณสมบัติของสารนั้นที่อาจเกิดการทำปฏิกิริยาขึ้น หรือเกิดภาวะไร้เสถียรภาพ หรือเกิดการสลายตัวในทันที หรือเกิดติดไฟง่ายหรือจากการระเหยขึ้น ซึ่งสารเคมีในกลุ่มนี้อาจจะประกอบด้วยสารที่ระเบิดได้ (explosives) สารที่กัดกร่อนได้ (corrosives) ของเหลวไวไฟ (flammable liquids) สารเป็นพิษ (toxic chemicals) สารที่เติมออกซิเจน (oxidizing materiaIs) และก๊าซอันตราย (dangerous gases)
1.1 ฝุ่น (dust) หมายถึงสาร เคมีที่เป็นอนุภาคของแข็งที่มีขนาด เล็กๆ เกิดขึ้นจากการที่ของแข็งถูกตี บด กระทบ กระแทก ระเบิด เช่น ฝุ่นของหินฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน ฝุ่นโลหะต่างๆ ฝุ่นแป้ง ฯลฯ เมื่อพิจารณาตามขนาดของอนุภาคฝุ่นจึงอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
1.1.1 ฝุ่นที่สามารถถูกหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (respirable dust) หมายถึง ฝุ่นที่มีขนาดของอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน (micron) ซึ่ง 1 ไมครอนมีค่าเท่ากับเศษหนึ่งส่วนหนึ่งหมื่น เซนติเมตร เนื่องจากฝุ่นพวกนี้ เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก จึงสามารถที่จะปะปนกับอากาศที่หายใจเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของร่างกายได้
1.1.2 ฝุ่นที่ไม่สามารถถูหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ (non-respirable dust) หมายถึงฝุ่นที่มีอนุภาคโตกว่า 10 ไมครอนขึ้นไป ฝุ่นพวกนี้เนื่องจากมีขนาดใหญ่จึงถูกระบบป้องกันอันตรายของร่างกาย เช่น ขนจมูกป้องกันไว้หมด โดยทั่วไปฝุ่นชนิดนี้จึงมีอันตรายน้อยกว่าฝุ่นชนิดแรก
1.2 ฟูม (fume) หมายถึงอนุภาคที่เป็นของแข็ง ซึ่งมีขนาดเล็กมากๆ โดยทั่วไปจะมีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1.0 ไมครอน เกิดจากการควบแน่นของไอโลหะ เมื่อโลหะได้รับความร้อนจนหลอมเหลว เช่น
ฟูมของตะกั่ว ฟูมของเหล็ก ฟูมของสังกะสี ฯลฯ (ฟูมของสังกะสีมีขนาดของอนุภาคประมาณ 0.005-0.4 ไมครอน) เนื่องจากฟูมมีขนาดของอนุภาคเล็กมากนั่นเอง จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้มาก เพราะสามารถเล็ดลอดผ่านระบบป้องกันอันตรายของระบบทางเดินหายใจจนลงไปถึงปอดและทำ อันตรายต่อร่างกายได้ในที่สุด
1.3 ละออง (mist) หมายถึงอนุภาคของเหลวที่มี >40 ไมครอนที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากการที่ของเหลว เมื่อได้รับแรงกดดัน จนเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาค เช่น ในการพ่นสารฆ่าแมลง ซึ่งจะใช้ปั๊มหรือกระบอกฉีดทำให้ของเหลวแตกตัวแล้วกลายเป็นละอองเล็กๆ หรือในบางครั้งละอองเล็กๆ นี้อาจเกิดจากการควบแน่นของไอ หรือของก๊าซให้กลายเป็นของเหลวที่เป็นละอองเล็กๆ ก็ได้ เช่น ละอองที่เกิดจากไอของกรดกำมะถัน เป็นต้น
1.4 ไอสาร (vapor) เป็นภาวะที่เป็นก๊าซของสารที่เป็นของเหลวหรือของแข็งที่อุณหภูมิ และความกดดันปกติ เช่น ไอสารของลูกเหม็น เบนซิน เป็นต้น ไอสารเหล่านี้สามารถจะเปลี่ยนรูปกลับเป็นของ เหลวหรือของแข็งตามสภาวะเดิมได้ โดยการเพิ่มความกดดัน หรือลดอุณหภูมิลง
1.5 ก๊าซ (gas) หมายถึง ของไหล (fluid) ซึ่งไม่มีรูปร่างที่แน่นอนขึ้นกับภาชนะที่ใช้บรรจุ สามารถเปลี่ยนเป็นของเหลว หรือเป็นของแข็งได้ โดยการเปลี่ยนอุณหภูมิและ/หรือเปลี่ยนความกดดัน เช่น ก๊าซหุงต้มตามบ้านเรือนเมื่อบรรจุลงในถังที่มีความกดดันสูงๆ จะกลายเป็นของเหลว เมื่อเราปล่อยออกมาสู่บรรยากาศ ของเหลวในถังก็จะกลายเป็นก๊าซ ตัวอย่างของก๊าซมากมาย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน คลอรีน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
1.6 ควัน (smoke) หมายถึง อนุภาคเล็กละเอียดที่ลอยอยู่ในอากาศซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งไมครอน ส่วนประกอบทางเคมีของควันนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน ปกติควันจะเป็นผลที่เกิดจากการ เผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัตถุที่มีธาตุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ เช่น ถ่านหิน และนํ้ามัน เป็นต้น
2. การเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี
ในการพิจารณาความเป็นพิษของสารเคมีนั้น ปกติจะต้องทราบว่าสารเคมีนั้น เข้าสู่ร่างกาย และเข้าสู่กระแสโลหิตได้อย่างไร เพราะสารเคมีจะไม่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เลย ถ้าหาก สารเคมีไม่สามารถเข้าสู่กระแสโลหิตได้ โดยทั่วไปสารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายคนงานที่ทำงานทั้งในอุตสาหกรรม เกษตรกรรม เหมืองแร่ และอื่นๆ ได้ 3 ทางด้วยกัน คือ โดยการหายใจ การกิน และการดูดซึมผ่านผิวหนัง เมื่อสารเคมีถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสโลหิตแล้ว สาร เคมีที่เป็นพิษนั้นก็จะก่อให้เกิดผลร้ายขึ้นหรือบางครั้งก็อาจทำให้ เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ได้ด้วย