ช่วงเปิดเทอมใหม่ ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ เริ่มมีการวางแผนทบทวนบทเรียนกันบ้างรึยังเอ่ย? อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่าแล้วไปท่องจำ 1-2 อาทิตย์ก่อนสอบกันเลยนะคะ นอกจากจะทำให้เกิดความเครียด ทำให้เกิดความกังวลในช่วงระยะเวลาก่อนสอบไม่กี่วัน แล้วก็ยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจำลดน้อยลงไปอีกด้วย เพราะฉะนั้นในช่วงเวลานี้
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า
- เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน
- เวลาที่ว่างจากงานอื่น
- เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ
- หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด
เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
ลงมือทำ
ยังไงถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะจะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุ
บทสรุป การจัดตารางการอ่านหนังสือ
1. ออกแบบตารางตามความชอบ สร้างสรรค์และออกแบบตารางอ่านหนังสือตามที่เราสนใจ และชื่นชอบ ไม่จำเป็นต้องเป็นตารางสี่เหลี่ยมคล้ายปฏิทินแบบที่พบได้ทั่วไป เพื่อนๆ อาจจะทำในรูปแบบวงกลมหรือวาดรูปที่ชื่นชอบ เช่น ตัวการ์ตูน ดอกไม้ จากนั้นทำการตกแต่งตามความพึงพอใจของตัวเราเอง
Trick: สาเหตุที่ออกแบบตารางตามความชอบนั้น มาจากหลักจิตวิทยาที่ว่าถ้าเราเห็นในสิ่งที่เราชอบจะทำให้เราสนใจกับสิ่งๆ นั้น และอยู่กับสิ่งนั้นได้นานมากกว่าปกติ
2. กำหนดเวลาในการอ่านหนังสือ หลังจากทำตารางในรูปแบบเฉพาะตัวเรียบร้อยแล้ว ให้เพื่อนๆ กำหนดช่วงเวลาที่จะอ่านหนังสือในแต่ละวัน ใช้เวลาในการอ่านกี่ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้การเลือกช่วงเวลาควรเลือกช่วงที่เพื่อนๆ สะดวกและพร้อมที่จะอ่านหนังสืออย่างจริงจัง
3. ลำดับวิชาในการอ่าน การลำดับวิชานั้นให้ดูว่าเราถนัดและไม่ถนัดในวิชาไหน ควรเริ่มทบทวนจากวิชาที่เราไม่ถนัดก่อนเพื่อที่จะมีเวลาในการทำความเข้าใจ เนื้อหาให้มากขึ้น จากนั้นจึงไล่ไปยังวิชาที่เราถนัดตามลำดับ
4. จัดเตรียมหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง หลังจากกำหนดเวลาและวิชาลงในตารางเรียบร้อยแล้ว ให้ดูว่าแต่ละวิชานั้นต้องอ่านหนังสือเล่มไหนบ้าง รวมถึงสมุดจดระหว่างเรียน ชีท หรือแบบทดสอบที่อาจารย์แจกระหว่างเรียน ให้นำมาจัดวางโดยแยกแต่ละวิชาออกจากกันเพื่อความเป็นระเบียบและไม่เสียเวลา ในการค้นหาหนังสือครั้งต่อไป
ขอบคุณข้อมูล https://campus.campus-star.com/