เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็นหลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค = เครื่องเอกซเรย์ , เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์ ,เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเร โซแนน์อิมเมจ ,เครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี, เครื่องอุลตราซาวด์ ,เครื่องตรวจการทำงานของหัวใจ ,เครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล = มีดผ่าตัดเลเซอร์ ,เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง ,เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง , เครื่องฉายรังสี , เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด , เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ , แว่นตา คอนแทกเลนส์ , การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค = เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ ,การใช้รังสี ,เครื่องฉายรังสี ,อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย ,การสร้างเด็กหลอดแก้ว ,การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ,อุตสาหกรรมการผลิตยา ,การผลิตเซรุ่ม ,การผลิตวัคซีนป้องกันโรค
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เป็นการตรวจวัดความสามารถในการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้างด้วยเครื่องวัดสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer) เพื่อหาระดับเริ่มได้ยิน (Hearing threshold) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน
1. ระดับความเข้มของเสียง (Intensity) คือ ระดับความดังของเสียง มีหน่วยวัดเป็น ?เดซิเบล (dBA)? เสียงที่ดังมากย่อมก่ออันตรายต่อหูมากกว่าเสียงที่ดังน้อย
2. ความถี่ของเสียง (Frequency) มีหน่วยวัดเป็น ?เฮิรตซ์ (Hz)? เสียงที่มีความถี่สูง คือ เสียงแหลม จะทำลายประสาทหูได้มากกว่าเสียงชนิดความถี่ต่ำ
3. ระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดัง ผู้ที่สัมผัสเสียงดังมานานย่อมมีโอกาสเกิดหูเสื่อมมากกว่า ซึ่งจะขึ้นกับจำนวนชั่วโมงที่รับเสียงต่อวัน และจำนวนปีที่ทำงานมา
4. ลักษณะของเสียง เสียงชนิดที่กระแทกไม่เป็นจังหวะ จะทำลายประสาทหูได้มากกว่าเสียงชนิดที่ดังต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. ความไวต่อการเสื่อมของหูของแต่ละบุคคลเอง เป็นลักษณะเฉพาะของคนที่ไม่เหมือนกัน บางคนสามารถทนต่อเสียงได้ดี แต่บางคนจะมีความไวต่อการเสื่อมของประสาทหูมาก ก็จะเกิดปัญหาเร็วกว่า
การเตรียมตัวสำหรับผู้รับการตรวจการได้ยิน
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังที่บ้านหรือที่ทำงานก่อนรับการตรวจการได้ยิน 14-16 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะหูตึงชั่วคราว (Temporary threshold shift) ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาด
2. กรณีระหว่างรอตรวจจำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติงานสัมผัสกับเสียงดังก่อน จะต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันที่สามารถลดเสียงที่หูของผู้ปฏิบัติงานสัมผัสได้ (85 เดซิเบล เอ) ตลอดระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดัง และอนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
3. ออกจากที่มีเสียงดังก่อนถึงเวลาตรวจการได้ยินอย่างน้อย 15 นาที
4. ให้ถอดสิ่งของใดๆ ที่จะขัดขวางการได้ยิน เช่น แว่นตา หมวก ตุ้มหู เป็นต้น
การส่องกล้อง
การส่องกล้อง ตรวจทางเดินอาหารคืออะไร..? คือ การสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นสายงอพับได้ตามต้องการ ลงไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น และลำไส้ใหญ่
ระวัง..! มะเร็งทางเดินอาหาร ท่านทราบหรือไม่ว่า..!
– ผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกและเสียชีวิตกว่า 5 แสนคนในแต่ละปี
– ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงเป็นลำดับ 3 ในเพศชายและลำดับ 5 ในเพศหญิง
– และพบว่ามะเร็งของกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ติดอันดับ 1 ใน 10 ของมะเร็งทั้งหมด
ใคร..! คือผู้ที่ควรส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร
1. ผู้ที่มีการบ่งชี้ว่าอาจจะมีปัญหา หรือโรคของหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือ ลำไส้ใหญ่ได้แก่
– ปวดท้องเป็นๆ หายๆ
– มีแผลในกระเพาะอาหาร
– ถ่ายอุจาระดำ หรือมีเลือดปน
– ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องบ่อยๆ
– เลือดออกในทางเดินอาหาร
– ท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย
2. มีประวัติของญาติสนิทในครอบครัวเดียวกันเป็นมะเร็งในทางเดินอาหาร ในกรณีนี้ควรตรวจอย่างน้อยปีละ1-2 ครั้ง แม้ไม่มีอาการ
3. อายุมากกว่า 50 ปี
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวของผู้ป่วยเพื่อให้ผลของการส่องกล้องนั้นถูกต้องและปลอดภัยที่สุด โดยการส่องกล้องทางเดินอาหารแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น(Gastroscope,EGD)
การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm
ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงและส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
การส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
– กลืนลำบาก
– อาเจียนเป็นเลือด
– ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่
เพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น มีการอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้
เพื่อการรักษา โดยการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางกล้องส่องตรวจ เช่น เครื่องมือขยายหลอดอาหาร อุปกรณ์ฉีดยา หรือรัดหลอดเลือดโป่งพองของหลอดอาหารในการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวของผู้ป่วยเพื่อให้ผลของการส่องกล้องนั้นถูกต้องและปลอดภัยที่สุด
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม. ก่อนเข้ารับการตรวจ ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออกก่อนควรมีญาติมาด้วย
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กโค้งงอได้ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงแล้วส่งภาพมายังจอรับภาพส่องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลางส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย
การส่องกล้องตรวจควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
–มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
– ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
– เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
– มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
– มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
– ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ 3-5 ปี
สิ่งที่ตรวจพบจากการส่องกล้อง
– ริดสีดวงทวาร
– ลำไส้อักเสบ
– ติ่งเนื้อ
– ถุงโป่งจากลำไส้ใหญ่ (Diverticulum)
– เนื้องอก
ในการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวของผู้ป่วยเพื่อให้ผลของการส่องกล้องนั้นถูกต้องและปลอดภัยที่สุด
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
ENDOSCOPIC RETROGRADE CHOLANGIOPANCREATOGRAPHY ( E.R.C.P.)
เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็กแล้วฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้ เพื่อตรวจ หาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รักษา การอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน โดยใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้
ในกรณีที่มีนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี โดยการคล้อง หรือขบนิ่วออก ถ้ามีนิ่วทั้งในถุงน้ำดีและในท่อทางเดินน้ำดี หลังการส่องกล้องคล้องหรือขบนิ่วในท่อทางเดินน้ำดีแล้วคุณจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อเอาถุงน้ำดีออกด้วย
โรคหรืออาการที่ต้องตรวจรักษา
–ดีซ่าน
-นิ้วในท่อทางเดินน้ำดี
-ท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อนอุดตัน
– เนื้องอกของท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน
– ตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี
– เพื่อการวินิจฉัยก่อนการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
KG หรือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นั้น เป็นที่คุ้นหูในหมู่ประชาชนทั่วไป แต่ก็ยังมีหลายท่านที่ไม่เข้าใจความหมายและประโยชน์ของการตรวจที่แท้จริง EKG คืออะไรกันแน่ มีประโยชน์อย่างไร ?
– EKG บางทีก็มีผู้เรียกว่า ECG ก็คือ การตรวจหัวใจด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrocardiogram) ซึ่งตัว K นั้นเป็นภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า Kardiac แปลว่า หัวใจ เหมือนกับตัว C ในภาษาอังกฤษ คือ Cardiac จึงใช้ได้ความหมายเหมือนกัน
ท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมท่านหรือคนรู้จักป่วยเป็นโรคหัวใจมานาน แต่ทำไมผลการตรวจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับอ่านผลการตรวจออกมาว่าปกติดี ท่านเคยสงสัยไหมว่าเพราะอะไร การตรวจคลื่น
ไฟฟ้าหัวใจบอกให้เราทราบข้อมูลของหัวใจค่อนข้างจำกัด เช่น จังหวะการเต้น ความสม่ำเสมอ การนำไฟฟ้าในหัวใจ และข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือ
ในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้า หัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ
ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณีที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน แม้ว่าจะไม่มีอาการของโรคหัวใจ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น จึงควรที่จะรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือตรวจพบความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที
ดังนั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจในเวลานั้น ส่วนคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจแต่อย่างใด และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ครื่องอัลตราซาวด์
เครื่องอัลตราซาวด์ คือ การนำคลื่นเสียงความถี่สูงมาใช้ประโยชน์ในการตรวจอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
– ดูความผิดปกติทั่วๆ ไป เช่น นิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี, ก่อนเนื้อในตับ เป็นต้น
– เพื่อยืนยันกับการตรวจอื่นๆ ว่าพบก้อนเนื้อ
– ก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อประเภทใด เป็นส่วนของอวัยวะใด หรือติดต่อกับอวัยวะใดบ้าง
– ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของรอยโรค
– เพื่อช่วยในการเจาะอวัยวะที่สงสัย เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
– เพื่อดูเพศ, ความผิดปกติ, ขนาดของทารกในครรภ์
– ดูความผิดปกติของเส้นเลือดดำ, เส้นเลือดแดง ว่ามีการอุดตัน, โป่ง หรือขอด เป็นต้น
– ดูกล้ามเนื้อ ดูเอ็น
ข้อจำกัดของการอัลตร้าซาวด์
– อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะอากาศจะไม่สะท้อนคลื่นสัญญาณกลับ ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณมาสร้างภาพได้
– อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูก หรือถูกกระดูกบังได้ เพราะกระดูกจะสะท้อนคลื่นกลับหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปยังอวัยวะต่างๆ ได้
การตรวจร่างกายด้วยอัลตราซาวด์ มีดังนี้
( 1.) การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
เป็นการตรวจดูอวัยวะช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี, ไต และช่องท้องทั่วๆ ไป ตลอดจนเส้นเลือดต่างๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ก้อนที่ผิดปกติ หรือถุงน้ำดี นิ่วที่ไตหรือถุงน้ำดี เป็นต้น
การตรวจนี้ผู้ป่วยต้องงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดประมาณ 4-6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) เพราะถ้ารับประทานอาหาร ถุงน้ำดีจะหดตัว ทำให้เห็นถุงน้ำดีไม่ชัดเจน
(2.) การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องด้านล่าง ได้แก่ มดลูก, รังไข่ (ในหญิง), ต่อมลูกหมาก (ในชาย), กระเพาะปัสสาวะ, ไส้ติ่ง, และบริเวณช่องท้องส่วนล่างอื่นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่, ก้อนเนื้อในมดลูก, ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
การตรวจช่องท้องส่วนล่างทำได้ 2 วิธีคือ
– การตรวจโดยใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผิวหน้าท้อง การตรวจวิธีนี้ต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร ทั้งนี้ เพราะปกติลมในลำไส้จะบังมดลูก และรังไข่ในหญิง หรือบังต่อมลูกหมายในชาย ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพอวัยวะได้ชัดเจน เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำเต็ม ก็จะช่วยดันลำไส้ออกไป ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมากนิ่วใน กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
– ตรวจโดยใส่หัวตรวจผ่านไปยังช่องทางเฉพาะ เช่น ใส่หัวตรวจผ่านทางช่องคลอด วิธีนี้ไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะ นอกจากนี้ภาพที่ได้จะชัดเจนกว่า โดยเฉพาะการตรวจดูขนาด และปริมาณไข่สุกในรังไข่ แต่จะทำการตรวจแบบนี้ให้เฉพาะสตรีที่แต่งงานแล้วเท่านั้น
( 3.) การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB system)
เป็นการตรวจดูระบบปัสสาวะ อันประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่มีอาการของไตวาย สงสัยมีก้อนที่ไตจากการคลำ หรือจากการตรวจ IVP สงสัยมีนิ่วที่ไต หรือทางเดินปัสสาวะ สงสัยมีการฉีกขาดเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ดูไตที่ได้รับการปลูกถ่าย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะลำบาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การตรวจต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร เพื่อจะได้เห็นกระเพาะปัสสาวะอย่างชัดเจน
( 4. )การตรวจเต้านม (Ultrasound Breasts)
เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพของเต้านม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ก้อนที่ตรวจพบใน Mammogram หรือก้อนที่คลำได้เพื่อแยกว่าเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำดี
( 5.) การตรวจต่อมธัยรอยด์ (Ultrasound of thyroid)
เป็นการตรวจเพื่อดูว่าก้อนในต่อมธัยรอยด์และในบริเวณใกล้เคียงที่คลำได้เป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำดี การตรวจนี้สามารถตรวจได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวใดๆ
( 6.)การตรวจทารกในครรภ์ (Obstretics)
เพื่อตรวจดูขนาดและอายุครรภ์ เพศ ความผิดปกติของอวัยวะสำคัญใหญ่ๆ ของทารกในครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำ ตำแหน่งของรก เป็นต้น ข้อจำกัดในการตรวจที่ทำให้เห็นไม่ชัดเจน เช่น มีปริมาณน้ำคร่ำในส่วนที่ต้องการดูน้อย ทารกอยู่ในท่าทางที่ไม่สามารถเห็นส่วนที่ต้องการตรวจได้ หรือมารดาอ้วนมาก ทำให้เห็นภาพที่ได้ไม่ชัดเจน
การตรวจ 2 มิตินี้ในรายที่ท้องอ่อนๆ (น้อยกว่า 12 สัปดาห์) ต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร เพื่อจะได้เห็นทารกในครรภ์ชัดเจนขึ้น หรือตรวจผ่านทางช่องคลอด ในรายที่อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ สามารถตรวจได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ปวดปัสสาวะการตรวจ 3 มิติ หรือ 4 มิติ เหมาะสำหรับรายที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 24 – 32 สัปดาห์