การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์-เมทริกซ์ (Matrix)
การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น
ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ
การบวกเมทริกซ์
เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน
ตัวอย่าง 1 แสดงถึงเมทริกซ์ใดที่สามารถบวก ลบกันได้
ให้ A = [1 2 3]
B =
C = [7 8 9]
จะเห็นว่าเมทริกซ์ที่สามารถบวกลบกันได้นั้น มีเมทริกซ์ A กับ C เท่านั้นเพราะว่าเมทริกซ์ A กับ C มีมิติเดียวกัน คือ 1×3 ซึ่งสัญลักษณ์สำหรับการบวก ลบ คือ + –
ดังนั้น
A+C = [1 2 3] + [7 8 9]
A+C = [ 1+7 2+8 3+9 ]
สมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน สามารถ บวกกันได้เช่นสมาชิก 1,7 อยู่ในตำแหน่งเดียวกันคืออยู่ที่แถวที่ 1 และสดมภ์ที่ 1
= [ 8 10 12 ]
A-C = [1 2 3] – [7 8 9]
A-C = [ 1-7 2-8 3-9 ]
สมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน สามารถ ลบกันได้
= [ -6 -6 -6 ]
จากการบวกลบเมทริกซ์ สามารถเขียนเป็นรูปทั่วไปของการบวกลบได้ดังนี้
ให้ A = [aij] และ B = [bij] ที่เป็นเมทริกซ์มิติ mxn แล้วผลบวกของเมทริกซ์ A กับเมทริกซ์ B เป็น A+B ซึ่งมีค่าเป็น [aij + bij] มิติ mxn ผลลบของเมทริกซ์ A กับเมทริกซ์ B เป็น A-B ซึ่งมีค่าเป็น [aij – bij] มิติ mxn
เช่น
1.)
2.)
การลบเมทริกซ์
การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย คือ มิติของเมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันจะต้องเท่ากัน แต่ต่างกันตรงที่สมาชิกข้างในเมทริกซ์จะต้องนำมาลบกัน เช่น
1.)
2.)
สมบัติการบวกเมทริกซ์
- สมบัติปิดการบวก คือ เมทริกซ์ที่มีมิติเดียวกันบวกกันแล้วผลลัพธ์ยังเป็นเมทริกซ์เหมือนเดิมและมิติก็เท่าเดิมด้วย
- สมบัติการสลับที่การบวก คือ ให้ A และ B เป็นเมทริกซ์ จะได้ว่า A +B = B +A
- สมบัติการเปลี่ยนหมู่ คือ (A + B) + C = A + (B + C)
- สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก ซึ่งเอกลักษณ์การบวกของเมทริกซ์ คือ เมทริกซ์ศูนย์ (สมาชิกทุกตำแหน่งเป็น 0) เขียนแทนด้วย
- สมบัติการมีตัวผกผัน คือ ถ้า A เป็นเมทริกซ์ใดๆแล้วจะได้ว่า (-A) เป็นเมทริกซ์ผกผันของ A ซึ่งเมื่อนำ A มาบวกกับ -A แล้วจะได้เมทริกซ์ศูนย์
การคูณเมทริกซ์ ด้วยจำนวนจริง
การคูณเมทริกซ์ด้วยจำนวนจริงคือ การนำจำนวนจริงค่าหนึ่งคูณกับเมทริกซ์ ซึ่งวิธีการคูณแบบนี้น้องๆสามารถนำจำนวนจริงนั้นเข้าไปคูณกับสมาชิกในตำแหน่งในเมทริกซ์ (ต้องคูณทุกตัวแหน่ง) และเมทริกซ์นั้นจะเป็นกี่มิติก็ได้ เช่น
สมบัติการคูณเมทริกซ์ด้วยจำนวนจริง
ให้ A, B เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติ และ c, d เป็นจำนวนจริง
- (cd)A = c(dA) = d(cA) เช่น
- c(A + B) = cA + cB
- (c + d)A = cA + dA
- 1(A) = A และ -1(A) = -A
การคูณเมทริกซ์ด้วยเมทริกซ์
เมทริกซ์ที่จะคูณกันได้ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.) จำนวนหลักของเมทริกซ์ตัวหน้าต้อง เท่ากับ จำนวนแถวของเมทริกซ์ตัวหลัง
2.) มิติของเมทริกซ์ผลลัพธ์จะเท่ากับ จำนวนแถวของตัวหน้าคูณจำนวนหลักของตัวหลัง
การคูณเมทริกซ์ด้วยเมทริกซ์
ถ้า A และ B เป็นเมทริกซ์ 2 เมทริกซ์ใด ๆ การนำเมทริกซ์ A มาคูณกับเมทริกซ์ B จะเกิดผลขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่างต่อไปนี้
1. ไม่สามารถหาผลคูณได้
2. สามารถหาผลคูณได้
ปัญหาที่เราจะต้องทราบก็คือ ถ้าหาผลคูณได้ต้องมีเงื่อนไขอย่างไร และสมาชิกของเมทริกซ์ที่เป็นผลคูณจะหามาได้อย่างไร ให้นักเรียนดูหลักการต่อไปนี้
1. มิติของเมทริกซ์ที่นำมาหาผลคูณ
ถ้า A เป็นเมทริกซ์
B เป็นเมทริกซ์
ผลคูณ AB จะเกิดขึ้นได้เมื่อ และ AB จะมีมิติ
ข้อสังสังเกตในการคูณ ถ้าใช้แถวใด คูณ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นแถวนั้นถ้าคูณหลักใดก็ได้หลักนั้น ของเมทริกซ์ผลลัพธ์ เช่น
– แถวที่ 1 คูณหลักที่ 1 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 1 หลักที่ 1 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
– แถวที่ 1 คูณหลักที่ 2 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 1 หลักที่ 2 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
– แถวที่ 1 คูณหลักที่ 3 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 1 หลักที่ 3 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
– แถวที่ 2 คูณหลักที่ 1 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 2 หลักที่ 1 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
– แถวที่ 2 คูณหลักที่ 2 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 2 หลักที่ 2 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
– แถวที่ 2 คูณหลักที่ 3 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ตำแหน่ง แถวที่ 2หลักที่ 3 ของเมทริกซ์ผลลัพธ์
อ้างอิง :
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/niracha_p/mathm_5/sec02p05_1.html
http://th.wikipedia.org/wiki/เมทริกซ์_(คณิตศาสตร์)