ฟิสิกส์เป็นเรื่องของการอธิบายธรรมชาติ ดังนั้นการเรียนฟิสิกส์ที่ดีต้องเน้นการอธิบายธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือจากการทดลอง แล้วเสริมการอธิบายเพื่อให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้นด้วยคณิตศาสตร์
ธรรมชาติของวิชาฟิสิกส์
เทคโนโลยี (technology) หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการสร้าง ผลิตหรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง หรือสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ใช้สอยได้
วิทยาศาสตร์ (science)
หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) หมายถึง องค์ความรู้และวิธีการหาความรู้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) แบ่งเป็น
1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ(biological science) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ (physics science) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต โดยฟิสิกส์(physics) จัดอยู่ในวิทยาศาสตร์กายภาพ
ฟิสิกส์ ( physics)
ฟิสิกส์ ( physics) มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า ธรรมชาติ (nature)
ดังนั้น ฟิสิกส์ หมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลาย ความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงานโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดยศึกษาจากการสังเกต รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ จนสรุปเป็นทฤษฎีและกฎ นอกจากนี้ความรู้ทางฟิสิกส์ยังได้มาจากจินตนาการโดยการสร้างแบบจำลอง (model) ทางความคิดโดยใช้หลักการของฟิสิกส์ซึ่งนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีและมีการทดลองเพื่อตรวจสอบทฤษฎีนั้นๆ
ความรู้ทางฟิสิกส์เกิดจาก
1. คือจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและการทดลอง
2. การสร้างแบบจำลองทางความคิดหรือสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา เช่น แบบจำลองอะตอม การสร้างแบบจำลองของรถยนต์ประหยัดพลังงาน แล้วทดลองใช้จนได้ผล จึงนำไปประดิษฐ์หรือสร้างเป็นรถยนต์
ควรรู้ – ทฤษฎี คือสมมติฐานที่ได้พิสูจน์ไว้แล้วว่าเป็นจริงและมีความถูกต้องภายใต้
เงื่อนไขนั้น
– กฎ คือทฤษฎีที่ใช้ได้และเป็นจริงเสมอ เช่น กฎการสะท้อนแสง กฎการเคลื่อนที่
ของนิวตัน
ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์
ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ หมายถึง ความเชื่อถือได้ของความรู้ฟิสิกส์ในเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือ เช่น การใช้เครื่องชั่งมวลแบบดิจิตอลวัดมวลได้ละเอียดกว่าเครื่องชั่งสปริง
สาขาต่างๆทางฟิสิกส์อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. ฟิสิกส์แผนเดิม (classical physics) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นก่อนได้แก่ ความร้อน (heat) แสง (light) เสียง(sound) แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagneticsm)และกลศาสตร์
(mechanics)เป็นต้น
2. ฟิสิกส์แผนใหม่(modern physics) เช่นฟิสิกส์อะตอมและฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นต้น
ปริมาณทางฟิสิกส์
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาฟิสิกส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการบรรยายสภาพของสิ่งที่สังเกตได้ตามขอบเขตของการรับรู้ เช่น การระบุลักษณะรูปทรง ลักษณะพื้นผิว สี กลิ่น รส เป็นต้น
1.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) เป็นปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือทางอ้อม เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปริมาตร มวล น้ำหนัก ความเร็ว อุณหภูมิ เวลา เป็นต้น ปริมาณเหล่านี้จะต้องมีหน่วยกำกับชัดเจน เช่น ปริมาตรอาจมีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต ถัง ลิตร เป็นต้น
การบันทึกข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปริมาณการวัดตัวเลขแสดงผลการวัด และหน่วย ดังนี้
ปริมาณที่วัด |
ตัวเลข |
หน่วย |
ระยะทาง เวลา |
100 35 |
เมตร วินาที |
ปริมาณและหน่วยของปริมาณ
เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยเฉพาะวงการวิทยาศาสตร์ องค์กรระหว่างชาติเพื่อการมาตรฐาน ( International Organization for Standardization)ได้กำหนดได้กำหนดระบบหน่วยมาตรฐานที่เรียกว่า ระบบเอสไอ ( SI Unit ซึ่งย่อมาจาก Systeme Internationals Unit) ให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน ระบบเอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน หน่วยเสริม หน่วยอนุพันธ์ และคำอุปสรรค
1. ปริมาณฐาน ( base quantites ) และหน่วยฐาน (Base units) เป็นปริมาณที่ถูกกำหนดขึ้นเป็นพื้นฐาน การวัด มี 7 ปริมาณ 7 หน่วย ได้แก่
ความยาว , มวล , เวลา , กระแสไฟฟ้า , ปริมาณสาร , อุณหภูมิอุณหพลวัติ และความเข้มของการส่องสว่าง
ตาราง แสดงปริมาณฐานและหน่วยในระบบ SI
ปริมาณฐาน Base quantites |
ชื่อหน่วย Units |
สัญลักษณ์Symbols |
Length = ความยาว |
metre =เมตร |
m |
mass = มวล |
kilogram =กิโลกรัม |
kg |
time = เวลา |
second =วินาที |
s |
Electric current = กระแสไฟฟ้า |
ampere =แอมแปร์ |
A |
Thermodynamic temperature = อุณหภูมิ อุณหพลวัต |
kelvin =เคลวิน |
K |
Amount of substance = ปริมาณสาร |
mole =โมล |
mol |
Luminous intensity = ความเข้มของการส่องสว่าง |
candela =แคนเดลา |
cd |
2. ปริมาณอนุพัทธ์ (derived quantites) และหน่วยอนุพัทธ์ (Derived Units)
เป็นปริมาณที่เกิดจาก ปริมาณฐานคูณกัน หรือหารกัน เช่น พื้นที่ปริมาตร อัตราเร็ว ฯลฯ
ตาราง แสดงปริมาณอนุพัทธ์ และหน่วยในระบบ SI
ปริมาณ Quantity |
ชื่อหน่อย Unit |
สัญลักษณ์ Symbol |
หน่วยอื่นที่เทียบเท่า Equivalent units |
Frequency ความถี่ |
hertz เฮิรตซ์ |
Hz |
1 Hz = 1 s-1 |
force แรง |
newton นิวตัน |
N |
1 N = 1 m kg s-2 |
pressure ความดัน |
pascal พาสคัล |
Pa |
1 Pa = 1 m-1 kg s-2 = 1 N/m2 |
energy,work,quantity of headพลังงาน , งาน , ปริมาณความร้อน |
joule จูล |
J |
1 J = 1m2kgs-2=1Nm |
3. หน่วยเสริม (Suppilmentary Units) มี 2 หน่วยคือ
3.1 เรเดียน (Radian : rad)เป็นหน่วยวัดมุมบนระนาบ (plane angle)
3.2 สตีเรเดียน (steradian : sr) เป็นหน่วยวัดมุมตัน (solid angle)
ข้อสังเกต
– มุม 1 sr คือมุมที่รองรับพื้นที่ผิวของทรงกลม A ที่มีขนาดเท่ากับขนาดของรัศมีของทรงกลมกำลังสอง
– มุมตันรอบจุดศูนย์กลางของทางกลมทั้งหมดก็คือ 4π หรือ 12.56
สตีเรเดียน ( W = A/r2 = 4πr2/r2 = 4π สตีเรเดียน หรือประมาณ 12.56 sr)