การเรียนในระดับมหาลัย เป็น เรื่องที่น่าท้าทายและตื่นเต้น หลายคนคิดว่าต้องมีสติปัญญา ที่ดีเลิศบางคนเครียดเป็น หนอนหนังสือ จนไม่มีเวลาทำกิจกรรมอื่น บางทำกิจกรรมจนลืมการเรียน บางคนสติปัญญาปานกลาง แต่เรียนและทำกิจกรรมได้ดี ประสบความสำเร็จก็มีมาก
การประสบความสำเร็จในการเรียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สติปัญญา ความรู้ และเทคนิคการเรียน จากการวิจัยพบว่า 75% ของความล้มเหลวเกิดขึ้นจากเทคนิคในการเรียนและการสอบที่ไม่ดี สิ่งที่จะแนะนำในที่นี้มี 3 ประเด็นคือ
1.กระบวนการเรียนรู้
2.การทำความเข้าใจ
3.การวางแผนและจะตารางเวลาเสียเดี๋ยวนี้
1.กระบวนการเรียนรู้
ทัศนะคติของเราต่อการเรียนมีผลอย่างมาก มีคำพูดที่บอกว่า การเริ่มต้นที่ดี เท่ากับทำสำเร็จแล้วครั้งหนึ่ง ทัศคติเหล่านี้ประกอบไปด้วยเราเรียนไปเพื่ออะไร มีจุดประสงค์อะไร จะจบด้วยผลการเรียนอย่างไร จบแล้วจะเป็นและทำอะไร
ปัญญาด้านอารมณ์ก็สำคัญ มีผลมากต่อทัศนคติในการเรียนคนที่มีปัญหาใน การเรียน เรียนไม่เก่ง เรียนซ้ำ ขี่เกียจ ไม่ใช้ว่าเขาไม่เก่งแต่เข้าเริ่มมีปัญหาเรื่องทัศนคติต่อตนเอง การเรียน เพื่อน วิชาที่เรียน อาจารย์ที่สอนและอื่นๆ เมื่อปัญหานั้นเรื้อรัง และไม่ได้รับการแก้ไขจึงส่งผลกระทบต่อการเรียน
สมาธิ การจดจ่อ เอาใจใส่ในการเรียนช่วยเราให้เรียนดีขึ้น เราต้องกำจัดปัญหา ใจลอย ใจฟุ้งซ่าน ใจแตก ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวชอบฝันกลางวัน
เราต้องตั้งเป้าหมายเพื่อให้เกิดความพากเพียรในการเรียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลายคนหัวดีแต่พอเข้ามาเรียนแล้วแทบเอาตัวไม่รอดแบ่งเวลาไม่เป็น ไม่จดจ่อต่อเวลาเรียน ให้เราตั้งเป้าหมายในการเรียนเพื่อเราจะมีใจปรารถนาเอาจริงเอาจัง รับผิดชอบ ทำหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้น การเรียนเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน ให้เราวิ่งอย่างสม่ำเสมอ เก่งไม่กลัว กลัวขยัน
1.ต้องบังคับตัวเองให้ทำ แม้ว่าจะขี่เกียจ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเข้าเรียน ทำการบ้าน
2.อย่าขาดสมาธิ ถ้ามีเหตุที่ทำให้ขาดสมาธิ จงกำจัดสาเหตุนั้น
3.ตั้งเป้าหมายส่วนตัวในการเรียนที่ชัดเจน
4.จดเวลาให้ดี ให้เวลาแต่ละวิชาอย่างเหมาะสม รักษาเวลาอ่านหนังสือให้ดี หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่รบกวนสมาธิ
2. การทำความเข้าใจ
เรียนด้วยความเข้าใจ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนรู้แสดงความคิดเห็น อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ และประเมินผลอยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่การเปลี่ยนความคิดเห็นของเรายังอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง อย่ากลัวที่จะวิจารณ์สิ่งที่กำลังเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนความคิดเป็นกับคนอื่น
3. การวางแผนและจัดตารางเวลาเสียเดี๋ยวนี้
มีคำกล่าวว่า “ถ้าคุณพลาดที่จะวางแผน คุณก็วางแผนที่จะพลาด” การวางแผนดูเหมือนจะทำให้เราเคร่งเครียด ต้องทำตามตารางเวลา แต่มันจะช่วยทำให้ไม่เครียดกันตอนวันสอบ หัดเป็นคนวางแผน รู้ว่าต้องทำอะไร รู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ ก่อนเปิดเทอมให้ทำตารางเวลา จันทร์-อาทิตย์ เติมสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงนอน ลงบันทึกวันสำคัญในการเรียน เช่น เปิดเทอม สอบกลางเทอมสอบปลายเทอม ปิดเทอม เป็นต้น แม้จะเครียดในการทำตามแผน แต่ตารางเวลาช่วยในการบังคับตัวเอง ว่างแผนการทำการบ้าน อ่านหนังสือ มีเวลาเรียน มีเวลาทำกิจกรรม หลายคนอาจจะคิดว่า เครียด แต่ลองคิดเอาเองว่าจะเครียดตอนต้นแล้วหัวเราะทีหลังดังกว่า หรือจะไปวิ่งวุ่นตอนก่อนสอบหรือวันส่งงาน
ใช้ชีวิตให้สนุก
ในถานะที่เป็นนักศึกษาหลายคนเรียนอย่างเดียวจนไม่มีเวลาทำกิจกรรม เราต้องสมดุลทั้งการเรียนและกิจกรรม
ก.การรักษาสุขภาพให้แข่งแรง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ออกกำลังกาย พักผ่อน กินอาหารที่ดี
ข.รักษาสติปัญญาให้ดี ต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ ทำงานได้อย่างมีสมรรถภาพ ใช้วิชาความรู้ที่มีอย่างถูกต้อง วัดความสำเร็จได้โดยการนำสิ่งที่เรียนรู้มาประยุกต์ใช้เป็นการช่วยสังคมให้พัฒนามากขึ้น
ค.พัฒนาชีวิตด้วยการทำกิจกรรม เราต้องมีสมดุลในการทำกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาชีวิตให้มีทักษะส่วนตัวในการดำเนินชีวิตในสังคม ใช้ชีวิตดำเนินอย่างสอดคล้องระหว่างการเรียนกับกิจกรรม