จากวิกฤติ โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา ทว่าเราจะตั้งรับได้อย่างไร แนวโน้มของการศึกษาไทยในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง กับความท้าทายของโลก (การศึกษา) ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบจาการระบาดครั้งใหญ่นี้ และส่งผลกระทบการศึกษาในระยะยาวอย่างไร เรารวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากหลาย ๆ แหล่งไว้ในบทความนี้
การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคลมากมาย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดที่คุณครูก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ นักเรียนก็ไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่าจะสนับสนุนคุณครูนับแสนคนอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ก็คือการพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคบ้าง แต่ อ.อรรถพลบอกว่า “วิกฤติในครั้งนี้ทำให้สถาบันการศึกษา ทั้งผู้เรียนผู้สอนได้ปรับตัวให้ชินกับการเรียนออนไลน์ หลายวิชาเริ่มเห็นทิศทางความเป็นไปได้ในการเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยพยายามสนับสนุนมาโดยตลอด และนี่อาจเป็นโอกาสในการต่อยอดการศึกษาในอนาคต”
ด็กได้เรียนรู้พลังแห่งความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของโลก สภาเศรษฐกิจโลกวิเคราะห์ว่า นี่เป็น 4 บทเรียนที่เราต้องเตรียมรุ่นต่อไป
1. สอนให้รุ่นต่อไปอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกัน
การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) เปลี่ยนแปลงโลก ทำให้เห็นภาพว่าโลกเราเชื่อมต่อกันขนาดไหน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า พฤติกรรม “โดดเดี่ยว” อีกต่อไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จในทศวรรษต่อไป ต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน
2. คำจัดกัดความใหม่ของ “นักการศึกษา”
ความคิดที่ว่า นักการศึกษาเป็นผู้กำความรู้ที่จะสร้างสติปัญญาของนักเรียน ไม่ใช่ความคิดที่ตรงกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป เมื่อนักเรียนสามารถเสาะหาความรู้ หรือทักษะได้ทางออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ เราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของนักการศึกษาในห้องเรียนและห้องบรรยาย นี่อาจหมายถึงบทบาทของนักการศึกษาต้องเดินหน้าเขาสู่การเป็นแรงสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่พัฒนาตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม
3. สอนทักษะชีวิตที่จำเป็นในอนาคต
ในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะหาเส้นทางฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ มองไปในอนาคต หนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่นายจ้างจะมองหา คือความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คนที่จะสามารถทำงานร่วมกับคนที่แตกต่าง
4. ปลดล็อกเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษา
การระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโลก ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อการเรียนทางไกลให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น นักการศึกษาทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะได้ทำอะไรที่แตกต่าง และแตกต่างด้วยความยืดหยุ่น ที่จะเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทั่วโลก (ขอบคุณข้อมูล บทความจากสภาเศรษฐกิจโลก
(ข้อมูลอ้างอิงจาก BBC Thai : เมื่อการเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป https://www.bbc.com/thai/thailand-51975231) และ https://www.aksorn.com/learningviaonline