คอลลาเจน (collagen)คืออะไร ?
คอลลาเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบหลักของผิวหนัง โดยมีสัดส่วนสูงถึง 80 % ทำหน้าที่คล้ายกับกาวและเป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ เล็บ เอ็น และข้อ โดยคอลลาเจนจะอยู่ที่ผิวหนังชั้นล่าง (ชั้นหนังแท้ หรือ dermis) ฉะนั้นการทาครีมทั่วไปจะไม่มีผลโดยตรงถึงคอลลาเจนในผิวหนัง โดยในร่างกายคนเรามีคอลลาเจนมากถึง 16 ชนิด โดยชนิดที่เราจะสามารถพบได้บ่อย คือ
ความสำคัญของ คอลลาเจน (collagen) เป็นโปรตีนชนิดเส้นใยที่ประสานกันอยู่นอกเซลล์ (extracellular matrix) ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ในชั้นผิวหนังแท้ (dermis) และมีอยู่ทั่วไปในร่างกาย คอลลาเจนที่พบในร่างกายมีหลายชนิด ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ กระดูก และเอ็น
คอลลาเจน 4 ชนิดที่สามารถพบได้บ่อยในร่างกาย
- คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในร่างกาย ช่วยในการเสริมความยืดหยุ่น การสมานแผล สามารถพบได้ในผิวหนัง เส้นผม กระดูก เนื้อเยื่อ และผนังหลอดเลือด
- คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นชนิดที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าชนิดที่ 1 พบมากในกระดูก กระดูกอ่อน และข้อต่อ มีหน้าที่ช่วยในการสร้างกระดูกอ่อน
- คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen Type III) เป็นชนิดที่มักจะพบในผิวหนัง กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด
- คอลลาเจนชนิดที่ 5 (Collagen Type V) สามารถพบได้ในบริเวณเดียวกันกับชนิดที่ 1 หรือใต้ชั้นผิวหนัง และในเนื้อเยื่อของทารกในระหว่างตั้งครรภ์
แหล่งคอลลาเจนจากอาหารและอื่น ๆ
การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสม หรือมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบ แต่จำไว้ว่าไม่อาจให้ประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับการรับประทานคอลลาเจนที่มาในรูปแบบของสารสกัดที่วางขายในห้างสรรพสินค้าทั่วไป เป็นเพียงวิธีการกินคอลลาเจนที่เสริมการทำงานระหว่างกันและกันเท่านั้น โดยมีอยู่ในอาหารจำพวกปลาแซลมอน ปลาทูน่าที่มีทั้งโปรตีนและเป็นแหล่งผลิตคอลลาเจนชั้นดี อโวคาโดที่ช่วยปกป้องอนุมูลอิสระ เป็นแหล่งคอลลาเจนหน้าใส และรักษาริ้วรอย มะกอกดำ และมะกอกเขียว ช่วยรักษาผิวที่หย่อนคล้อย แครอท ช่วยผลิตคอลลาเจนให้กับร่างกาย ถั่วต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยสังกะสี กรดไฮยาลูรอนิกเป็นแหล่งคอลลาเจนผิวใส ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และมะเขือเทศที่ช่วยป้องกันยูวี และสังเคราะห์คอลลาเจน
ประโยชน์ของคอลลาเจน
หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าถ้ากินคอลลาเจนไปแล้วจะมีผลดีอย่างไร ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับคอลลาเจนแสดงให้เห็นว่าคอลลาเจนมีประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น ความฟู และลดความหยาบกร้านของผิว
- ช่วยทำให้ริ้วรอยที่เห็นได้ชัดดูจางลง
- ลดการเปราะแตกของเล็บ
- ช่วยชะลอการสลายของมวลกระดูก เมื่อกินคู่กับแคลเซียมและวิตามิน ดี
- ช่วยเรื่องสุขภาพของข้อต่อในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น ลดอาการปวดข้อต่อ เป็นต้น
การเสื่อมสลายของคอลลาเจน
การเสื่อมสลายของคอลลาเจนที่เรียกว่า โปรตีโอไลซิส (proteolysis) จะทำให้คอลลาเจนที่อยู่ในเนื่อเยื่อเกี่ยวพันแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ เกิดขึ้นโดยเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเนส (matrix metalloprotenase หรือ MMPs) ที่ถูกคัดหลั่งออกจากเซลล์ เอนไซม์ที่สามารถตัดย่อยคอลลาเจน (collagenases) ได้ ตัวอย่างเช่น MMP-1 (Collagenase-1) คัดหลั่งจากเซลล์ fibroblast สามารถย่อยสลายคอลลาเจนชนิกที่ 1, 2, 3, 7, 8, 10 และเจลาติน, MMP-9 คัดหลั่งจากเซลล์ leucocyte สามารถย่อยสลายคอลลาเจนชนิดที่ 4, 5, 7, 10 และ 14 ได้ และ MMP-13 (Collagenase-3)
วิตามินซี
วิตามินซี มีชื่อทางเคมีที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid) มีบทบาทต่อการสร้างคอลลาเจนในปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชั่น (hydroxylation) ซึ่งเป็นการเติมหมู่ไฮดรอกซีบนโมเลกุลของกรดอะมิโนโพรลีน (proline) และไลซีน (lysine) ในโปรคอลลาเจน โดยเอนไซม์โพรลิลไฮดรอกซีเลส (prolyl hydroxylase) และไลซิลไฮดรอกซีเลส (lysyl hydroxylase) จะใช้กรดแอสคอร์บิกเป็นปัจจัยร่วม
ปริมาณวิตามินซีในผลไม้บางชนิด (มิลลิกรัมต่อน้ำหนักผลไม้สด 100 กรัม)
รายการผลไม้ |
สภาวะ |
L-ascorbic acid |
Dehydroascorbic acid |
รวม |
กล้วย |
สด |
15.3 |
3.3 |
18.6 |
แบล็คเบอร์รี่ |
สด |
18.0 |
3.0 |
21.0 |
|
แช่เย็น |
16.5 |
3.0 |
19.5 |
แบล็คเคอร์เร็นท์ |
สด |
86.0 |
6.0 |
92.0 |
|
แช่เย็น |
61.0 |
3.0 |
64.0 |
แคนตาลูป |
สด |
31.3 |
3.0 |
34.3 |
องุ่น |
สด |
21.3 |
2.3 |
23.6 |
ผลกีวี |
สด |
59.6 |
5.3 |
64.9 |
|
แช่เย็น |
39.4 |
12.1 |
51.5 |
มะนาว |
สด |
50.4 |
23.9 |
74.3 |
ส้มแมนดาลิน |
สด |
34.0 |
3.7 |
37.7 |
ส้ม (แคลิฟอร์เนีย) |
สด |
75.0 |
8.2 |
83.2 |
ส้ม (ฟอริด้า) |
สด |
54.7 |
8.3 |
63.0 |
พลับ |
สด |
110.0 |
100.0 |
210.0 |
|
แช่เย็น |
122 |
87 |
209 |
ราสเบอร์รี่ |
สด |
27.0 |
2.0 |
29.0 |
|
แช่เย็น |
22.0 |
5.0 |
27.0 |
แตงโม |
สด |
8.0 |
1.7 |
9.7 |
สตรอเบอร์รี่ |
สด |
60.0 |
5.0 |
65.0 |
|
แช่เย็น |
27.0 |
34.0 |
61.0 |
ที่มา Postharvest Biology and Technology 20 (2000) หน้า 209
ปริมาณวิตามินซีในผักบางชนิด (มิลลิกรัมต่อน้ำหนักผักสด 100 กรัม)
รายการผัก |
สภาวะ |
L-ascorbic acid |
Dehydroascorbic acid |
รวม |
บรอคโคลี่ |
สด |
89.0 |
7.7 |
96.7 |
|
ต้ม |
37.0 |
2.6 |
39.6 |
กระหล่ำปลี |
สด |
42.3 |
– |
42.3 |
|
ต้ม |
24.4 |
– |
24.4 |
กระหล่ำดอก |
สด |
54.0 |
8.7 |
62.7 |
ผักกระหล่ำใบ (collards) |
สด |
92.7 |
– |
92.7 |
|
ต้ม |
40.7 |
– |
40.7 |
มาสตาร์ดเขียว |
สด |
36.2 |
– |
36.2 |
|
ต้ม |
4.8 |
– |
4.8 |
พริกแดง (red peppers) |
|
151.0 |
4.0 |
155.0 |
พริกเขียว (green peppers) |
|
129.0 |
5.0 |
134.0 |
ผักขม (spinach) |
สด |
62.0 |
13.0 |
75.0 |
|
ต้ม |
12.0 |
18.0 |
30.0 |
สวิสชาร์ด (swiss chard) |
สด |
– |
45.0 |
45.0 |
|
ต้ม |
– |
9.0 |
9.0 |
มะเขือเทศ |
สด |
10.6 |
3.0 |
13.6 |
ที่มา Postharvest Biology and Technology 20 (2000) หน้า 209
แนะนำอาหาร ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน
เราสามารถเลือกการกินอาหารที่ช่วยชะลอการสลายและมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนให้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และนี่คือ 6 เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คอลลาเจนในร่างกายอยู่กับเราไปนาน ๆ
- กินโปรตีนต่อวันต้องเพียงพอ ทำให้สร้างคอลลาเจนได้อย่างเต็มที่ อย่างที่รู้กันแล้วว่าคอลลาเจนคือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ดังนั้นการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือ ธัญพืชต่าง ๆ ให้เพียงพอความต้องการต่อวัน หรือ 1 – 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าหากเรามีน้ำหนักตัวที่ 50 กรัม แสดงว่าเราต้องกินโปรตีนให้ได้ 50 – 60 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับการเลือกกินเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่ ปลา ให้ได้รวม ๆ กันประมาณ 200 – 250 กรัม การกินโปรตีนที่เพียงพอ ร่างกายจะย่อยเป็นกรดอะมิโนเพื่อนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนไปใช้ประโยชน์ต่อสภาพผิว ข้อเข่า หรือมวลกระดูก นอกเหนือจากการนำไปปรับสมดุลของโปรตีนในร่างกายนั่นเอง
- กินอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามิน ซี เพราะวิตามิน ซี ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่ช่วยชะลอการสลายของคอลลาเจน โดยแหล่งของวิตามิน ซี คือ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ฝรั่ง ผักคะน้า บรอกโคลี สตรอเบอร์รี่ ส้ม แอปเปิ้ลแดง มะนาว เบอร์รีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
- กินอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามิน เอ เพราะวิตามิน เอ ช่วยกระตุ้นการเติบโตของไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) ที่มีหน้าที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสตินของร่างกาย ที่ทำให้ผิวพรรณยังเต่งตึง โดยแหล่งอาหารที่มีวิตามิน เอ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอทมะละกอสุก เป็นต้น
- กินอาหารที่เป็นแหล่งวิตามิน อี เพราะวิตามิน อี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำงานคู่กับวิตามิน ซี โดยแหล่งของวิตามิน อี คือ น้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังพบใน ถั่วอัลมอนด์ อาโวคาโด มะม่วง กีวี เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เพราะน้ำตาลจะทำให้เกิดกระบวนการไกลเคชัน (glycation) ที่จะส่งผลให้คอลลาเจนเสียรูปร่างและไม่ยืดหยุ่นแบบที่ควรเป็น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 – 10 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน น้ำเปล่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
ขอบคุณข้อมูล https://www.watsons.co.th/ , https://www.scimath.org/ และ https://www.nestle.co.th/