GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organism หมายถึง จุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยใช้หลักการและเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์ คือกระบวนการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกัน และยีนที่ถูกถ่ายทอดไปนั้นสามารถทำงานสร้างโปรตีนได้เช่นเดิม ดังนั้นการถ่ายยีนจึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับยีนนั้นเข้าไปสามารถแสดงลักษณะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ พืชที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไป เรียกว่า พืชตัดต่อยีน (Transgenic plant) และสัตว์ที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไปเรียกว่า สัตว์ตัดต่อยีน.
พืช GMO หรือ พืชดัดแปรพันธุกรรม
คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ พืชดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาจเป็นข้อดีคือ มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปรพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง
จีเอ็มโอคืออะไร มีอันตรายหรือไม่
จีเอ็มโอ (GMOs) มาจากภาษาอังกฤษ Genetically Modified Organisms หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรม (ยีน) เป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิคการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ
สรุปว่า จีเอ็มโอคือการตัดแต่งเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบ
หลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ
หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ
มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
มีสารเคมีเกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอหรือไม่
จีเอ็มโอคือการนำสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะ ที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม ทำให้ขั้นตอนการดัดแปรพันธุกรรม ย่อมมีสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านี้ จะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาด ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น
เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต
กินอาหารจีเอ็มโอในระยะยาวมีผลกับร่างกายหรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงผู้ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอเข้าไปแล้วอาหารจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เพราะการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผล ข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม
จีเอ็มโอกับประเทศไทย
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ นอกจากอนุญาตให้นำเข้ามาเป็นพันธุ์ทดลอง เพื่อการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งต้องไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคน สัตว์ และพืช เช่นเดียวกันกับที่ไม่อนุญาตให้นำไปปลูกในพื้นที่การเกษตรใดๆ จำนวน 40 รายการ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง แตงไทย ถั่วลันเตา มะเขือเทศ มะละกอ เป็นต้น จากทุกแหล่ง
ยกเว้นอาหารสำเร็จรูป นับเป็นสิ่งต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ภายหลังออกประกาศในปี พ.ศ.2538 มีผู้ขออนุญาตนำเข้ามาทดลองและทดสอบ 8 รายการ เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ ข้าวโพด มะละกอ
การปรับปรุงพันธุ์ต่างกับการดัดแปรพันธุกรรมอย่างไร
การปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้ให้พืชผสมข้ามสายพันธุ์แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดมาใช้แต่ตำแหน่งและการเรียงลำดับพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของพืชยังคงสภาพเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จะมีการถ่ายสายพันธุกรรมจากพืชพันธุ์หนึ่งไปสู่พืช อีกพันธุ์หนึ่งก็ตาม
สำหรับการตัดแต่งพันธุกรรมคือ การนำเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เช่น พืช สัตว์ เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ใส่ลงไปในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เพื่อให้การแสดง ออกของยีนของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับยีนของสิ่งมีชีวิตที่ใส่เข้าไปใหม่
ตัวอย่างเช่น การนำยีนของเชื้อไวรัสใส่เข้าไปในพืชเพื่อให้สามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ หรือต้านทานสารเคมีได้ เป็นต้น แต่ทำให้ตำแหน่งและลำดับของพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การตัดแต่งสายพันธุกรรมอาจทำให้เกิดผลที่ไม่สามารถคาดคิดได้ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดธรรมชาติ ซึ่งทำให้ระบบการทำงานของสิ่งมีชีวิตผิดปกติไปจากเดิมการแสดงออกของยีนอาจทำให้เกิดปัญหาต่อลักษณะของพืชได้ เช่น เมื่อนำเอายีนที่สามารถต้านทานยาปฏิชีวนะใส่เข้าไปในพืชแทนที่พืชจะสามารถต้านทานโรคได้ดี ในทางตรงข้ามอาจทำให้พืชรับเชื้อโรคได้มากกว่าเดิมเพราะยีนที่ใส่เข้าไปรบกวนการทำงานระบบต้านทานโรคของพืช
ถ้าเทียบเทคนิคการปรับปรุงสายพันธุ์ซึ่งเป็นการเลียนแบบการคัดเลือกแบบธรรมชาติ ต้องอาศัยเวลานาน 10 ปี กว่าจะได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดและมีความแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี โดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบต่อระบบการทำงานของพืช
ตำแหน่งและลำดับของยีนมีความสำคัญมากหากมีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนการทำงานของมันผิดธรรมชาติอาจทำให้การทำงานผิดแปลกไปและเกิดผลที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ที่มาที่ไปของ GMOs
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้คำจำกัดความของ GMOs หรือในอีกชื่อ LMOS (Living Modified Organisms) ว่า สถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม คำจำกัดความนี้มีความหมายถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นับแต่ที่มีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงคน สัตว์ พืช ซึ่งล้วนแต่มีหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะประจำตัว เช่น ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้าของมนุษย์ ดอกสีม่วงของกล้วยไม้ ขนหาง สีดำของวัว เป็นต้น
ประโยชน์และความเสี่ยง
เทคโนโลยีเมื่อมีประโยชน์ก็อาจเป็นโทษได้หากการพัฒนาและการนำไปใช้ไม่เป็นไปตามวิธีการที่บ่งบอกอยู่บนฉลาก หรือไม่ระมัดระวังเท่าที่ควร พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม เป็นสิ่งมีชีวิตแปลงพันธุ์ที่อาจมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญๆ เช่น แหล่งสารพันธุกรรมที่ได้มา ถ้าได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น จากพืชถ่ายให้พืช จากสัตว์ถ่ายให้สัตว์ ย่อมมีปัญหาน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย
ในทางตรงกันข้าม ถ้าการถ่ายสารพันธุกรรมมาจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อและสาเหตุของโรคเข้าไป ในพืชหรือสัตว์ ก็ย่อมจะมีความเสี่ยงสูงมาก ขณะที่พืชพันธุ์ใหม่หลายตัวที่ได้มา ยังถ่ายแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะกินเข้าปากไป และก็นี่ไม่ ใช่ “ยา” แต่เป็นพันธุวิศวกรรมที่นำ “ยีน” จากพืชหรือ แมลง ไปใส่ในอาหารซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเองในธรรมชาติไม่สามารถแนะนำการผสมพันธุ์ในแบบที่เข้าใจได้ง่าย หรือในแบบธรรมดาๆ ได้ และยังทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีผลต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัวซึ่งอาหารจีเอ็มโอทั้งหมดควรมีการตรวจสอบก่อนนำอาหารดังกล่าวมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ในวงการวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ จะมีฉันทมติ อย่างกว้างขวางว่า พืชตัดต่อสารพันธุกรรม ในปัจจุบันปลอดภัย แต่กลุ่มต่อสู้เพื่ออาหารในยุโรปเรียกเจ้าพืชพันธุ์จีเอ็มโอนี้ว่า “แฟรงเกนสไตน์”หรือพืชผีดิบ แม้จะไม่ปฏิเสธว่า การตัดต่อทางพันธุกรรม ดังกล่าวเป็นประโยชน์หลายทาง เช่น ทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายเบื่ออาหาร ไม่มากัดกินดอกฝ้ายจนตายไป ไม่ต้องใช้สารเคมี และสารพิษฆ่าแมลงที่เกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและราคาจำหน่ายถูกกว่ามาก แต่จีเอ็มโอก็ยังถูกต่อต้านและถูกปฏิเสธผู้คนมากมายเกลียดเจ้าพืชผีดิบตัวนี้ ไม่เฉพาะประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เป็นที่นิยมบริโภคทั่วไป
ไม่ใช่แค่เหตุผลที่พวกมันไม่ปลอดภัย แต่ความกังวลว่า DNA ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ ไม่ก่อให้เกิดโรค จะมีโอกาสกลายเป็น DNA ที่เกิดโรคหรือไม่ ที่สำคัญ ปัญหาการผูกขาด พันธุ์พืชหรือ พันธุ์สัตว์ที่คิดค้นขึ้นมาได้โดยมีสหรัฐฯ เป็นประเทศ ผู้นำทางเทคโนโลยีชีวภาพนี้ ย่อมเสียเปรียบอย่าง ยิ่งแก่ประเทศอื่นๆ บนเวทีการค้าโลก ที่ไม่สามารถ พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทัน
สิทธิผู้บริโภค
⇒ รูปลักษณ์ภายนอกของพืชจีเอ็มโอกับพืชปกติ ดูแล้วแทบไม่แตกต่างกันเลย ผู่บริโภคจึงไมาสามารถรับรู่ ได่ด่วยตาเปลาาวาาอาหารชนิดใดมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
⇒ การติดฉลากอาหารที่มีจีเอ็มโอจึงเป็นกระบวนการที่ให่สิทธิแก่ผู้บริโภคในการรับรู้ข้อมูลและสิทธิในการเลือกปฏิเสธอาหารที่มีจีเอ็มโอซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
⇒ 77 ประเทศทั่วโลกมีกฎข้อบังคับเรื่องการติดฉลากที่เข้มงวดที่สุดคือในสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีจีเอ็มโอมากกว่าร้อยละ .09 ในส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่ง ไม้ว่าจะตรวจพบ ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือไม่จะต้องแสดงฉลาก
⇒ ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้กฎกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546แต่ข้อกำหนดที่ใช้นั้นหละหลวมมาก คือบังคับใช้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นส่วนผสมอยู่ในสามอันดับแรกของอาหารและต้องมีปริมาณร้อยละ 5 ขึ้นไป จึงจะต้องแสดงฉลาก เท่ากับว่าทำให้อาหารหลายชนิดไม่ต้องแสดงฉลากทั้งๆ ที่มีจีเอ็มโอ
ป้องกันไว้ก่อน
⇒ หลีกเลี่ยงการกินอาหารจีเอ็มโอ
⇒ เลือกซื้ออาหารที่ผลิตด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ
⇒ ห้ามปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด ไม่ว่าจะเป็นในแปลงทดลองหรือในไร่นาเกษตรกร
⇒ ผู้ผลิตจีเอ็มโอควรเป็นผู้รับภาระในการทดสอบว่า จีเอ็มโอปลอดภัยอย่างแท้จริงเสียก่อน จึงค่อยนำออกมาขาย มิใช้ให้ผู้บริโภคและเกษตรกรต้องแบกรับภาระที่ตัวเองไม่ได้สร้าง
แหล่งข้อมูล https://www.doctor.or.th/article/detail/4318