ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์อย่าง Shopee หรือ Lazada บางทีก็ซื้อผ่าน Social Media อย่าง Facebook หรือ IG ซึ่งเราสามารถติดต่อกับพ่อค้าแม่ค้าได้โดยตรง การซื้อขายสินค้าแบบนี้เรียกว่า E-Commerce อย่างที่ทราบกันดีว่าธุรกิจแบบ E-Commerce ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยอัตราการเติบโตของตลาด E-Commerce จากข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.); Electronic Transactions Development Agency หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ได้เปิดเผยออกมาว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเติบโตอย่างมากเมื่อเทียบระหว่างปี 2560 – 2561 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 14.04% คิดเป็นมูลค่า 3,150 ล้านบาท
รูปแบบของ Digital Lending
- Online Lender คือการปล่อยกู้ผ่านช่องทาง Digital ทั้งกระบวนการ แบบ End-to-End เช่น Lidya Tala Branch
- P2P Lending Platform คือการจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยมี platform เป็นตัวกลางทำธุรกรรมระหว่างกัน เช่น CreditEase KwikCash
- E-Commerce and Social Platform คือการที่ platform E-Commerce หรือ Social Media ปล่อยกู้ให้กับผู้ใช้งานแอปพริเคชั่นของตัวเอง โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของลูกค้าเป็นเครื่องประเมิน ความเสี่ยง เช่น Amazon WeChat
- Marketplace Platform มีลักษณะคล้าย P2P Platform แต่จะต่างกันตรงที่ผู้กู้และผู้ให้กู้จะมาเจอกันและทำธุรกรรมการกู้เงินระหว่างกันโดยตรง เช่น LoanFrame
- Supply Chain Lender คือการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อจุดประสงค์ในการซื้อวัตถุดิบจาก Supplier ของตน เช่น M-Kopa Solar
- Mobile Money Lender คือการเข้าเป็นพันธมิตรกับบริษัทเครือข่ายมือถือเพื่อปล่อยกู้ให้กับฐานลูกค้าของเครือข่าย โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้ามาเป็นเครื่องประเมินความเสี่ยง เช่น Kopo Kopo
- Tech-Enabled Lender คือการที่บริษัทผู้ให้บริการกู้ยืมเงินทั่วไป มีการนำ technology มาใช้ในบางขั้นตอนของการปล่อยสินเชื่อ เช่น Aye Finance
อีกส่วนหนึ่งที่ต้องจับตาคือการเข้ามาของ Big Tech Company อย่าง Alibaba, Google หรือแม้แต่ Facebook ที่มีทั้งเงินสดและ Data ของผู้ใช้บนระบบ ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงการสร้างช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคผ่าน E-Commerce รวมถึงการจับมือกับสถาบันการเงินต่างๆ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/article-technology/item/11210-digital-lending
และ http://dv.co.th