gdp หมายถึงอะไร? สำคัญอะไรกับนักลงทุน?
“gdp” หรือ Gross Domestic Product หรือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ” หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะประมาณการล่วงหน้าไว้ และจะทยอยประกาศออกมาให้ประชาชนทั่วไปทราบเป็นรายไตรมาส โดยเขียนเป็นสมการ Y = C + I + G + (X – M) และแต่ละตัวมีความหมายคือ
- C = Consumption คือการบริโภคของบริษัทและประชาชนทั่วไป โดยดัชนี CPI หรือ Consumer Price Index เป็นตัวชี้วัดอันประกอบด้วย
- I = Investment คือการลงทุนจากภาคเอกชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต หรือภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะมีดัชนี MPI หรือ Manufacturing Production Index เป็นตัวชี้วัด
- G = Government Spending คือค่าใช้จ่ายของรัฐบาล/การลงทุนภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินนโยบายต่างๆทางด้านคมนาคม เงินเดือนของข้าราชการ แต่ไม่ได้รวมสวัสดิการสังคม
- X – M = Export ลบด้วย Import คือ ตัวเลขการส่งออกลบด้วยการนำเข้าถึงจะเห็นอัตราการบริโภคสุดท้ายที่แท้จริง
gdp เกิดขึ้นได้อย่างไร?
gdp เกิดขึ้นจากการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายของภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือกล่าวง่ายๆว่า gdp เป็นตัวเลขที่รวบรวมมาจากผลผลิตของภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคธุรกิจทั้งประเทศ มันจึงเป็นการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆด้วย
gdp สำคัญต่อนักลงทุนอย่างไร?
หาก gdp เป็นบวกยิ่งมากเท่าไรก็แสดงว่าเศรษฐกิจดี คนมีเงินจับจ่ายใช้สอย นักลงทุนก็อยากมาลงทุนเพราะยังไงสินค้าก็ขายได้แน่ แต่ถ้าตัวเลข gdp ติดลบ ก็จะบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงัก ชะลอตัว หรือไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกลางประมาณการ การจ้างงานอาจจะต่ำกว่าคาด การลงทุนภาคอุตสาหกรรมลดลง แม้แต่การบริโภคของประชาชนก็ลดลงด้วย ที่สำคัญตัวเลข gdp ที่ติดลบนี้ จะทำให้นักลงทุนอาจเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังประเทศที่มีเสถียรภาพมากกว่า และสิ่งที่ตามมาเมื่อระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องก็จะทำให้รัฐต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ ทางที่ดีให้ผลgdp เป็นบวกดีที่สุด
EIC ปรับลดประมาณการ GDP ไทยปี2563 เป็นหดตัวที่ -5.6% จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3% โดยมีสาเหตุหลักจากพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 4 ข้อ ได้แก่
1) เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการหยุดลงแบบฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) เป็นผลจากปัญหา Covid-19 และมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัวมากที่ -12.9% ในปีนี้
2) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีแนวโน้มจะลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่คาด โดยจะลดมาอยู่ที่ 13.1 ล้านคนในปีนี้ หรือหดตัวที่ -67% จากปีก่อนหน้า เป็นผลจากความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาโรคที่ได้ผล และจากรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้
3) การประกาศปิดเมืองในหลายส่วนของไทย ซึ่งแม้เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นในการควบคุมการระบาดของโรค แต่จะส่งผลให้การบริโภคสินค้าและบริการของภาคครัวเรือนโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบที่เพิ่มเติมจากความกังวลของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มีลักษณะ face-to-face ในช่วงโรคระบาดอยู่แล้ว
และ 4) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและการคลังที่คาดว่าจะมีออกมาเพิ่มเติม จะมีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจไทย โดย EIC ได้เพิ่มสมมติฐานของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการออก พรก. กู้ฉุกเฉิน จำนวน 200,000 ล้านบาทไว้ในการประมาณรอบนี้ด้วย
จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ทำให้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีแนวโน้มหดตัวที่ -2.1% ในปี 2563
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://masii.co.th
และ https://www.prop2morrow.com/