ทันทีที่เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัว Libra สกุลเงินดิจิทัล ที่จะเริ่มต้นใช้อย่างเป็นทางการในปี 2020 ก็สร้างแรงกระเพื่อมไปทั้งวงการเทคโนโลยี สถาบันการเงิน รวมไปถึงผู้ใช้งาน
เฟซบุ๊กเองก็ให้ความสนใจว่า Libra จะเขย่าแวดวงการเงินได้อย่างที่ Bitcoin
สกุลเงินที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก
Global Currency หรือสกุลเงินที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก คือหนึ่งในจุดประสงค์หลักของ Libra คือการทำธุรกรรมการเงินควรเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนเข้าถึงได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน โดยที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด ลดความยุ่งยากของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และเสริมศักยภาพให้กับคนทั้งโลกได้เข้าถึงบริการ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในประเทศที่กำลังพัฒนา มีประชากรส่วนหนึ่งที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือในบางวัฒนธรรมที่มีข้อกำหนดการใช้งานธนาคารของพลเมืองเพศหญิง แต่พวกเธอเหล่านี้ยังมีสมาร์ทโฟนและมีอินเทอร์เน็ตให้ใช้งาน ก็สามารถใช้ Libra ได้
นอกจากนี้สกุลเงินที่เราใช้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจระดับประเทศ และง่ายต่อการจัดการงบปริมาณควบคุมเงิน แต่ Libra ทำหน้าที่เป็นสกุลเงินกลางที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ประเทศไหนก็ใช้ร่วมกันได้ ยังไม่นับว่าการทำธุรกรรมการเงิน โอนเงินไปต่างประเทศ ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งผู้โอนและผู้รับ
มูลค่าคงที่
จุดแข็งของ Libra คือการเป็นเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่ (Stable Coin) โดยทุก ๆ เหรียญที่ใช้ จะยึดโยงกับสินทรัพย์ที่หนุนหลัง คือ Libra จะมีค่าก็ต่อเมื่อมีสินทรัพย์มาค้ำประกัน แล้วค่อยผลิตเงินออกไปตามมูลค่านั้น เพราะฉะนั้นสินทรัพย์ของ Libra จะต้องมีความมั่นคง ผันผวนต่ำ และมีสภาพคล่องสูง เช่น เงินฝากในธนาคารและพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นของรัฐบาลในแต่ละประเทศ ซึ่งนี่เป็นข้อแตกต่างจากเหรียญคริปโตประเภทอื่น Libra เป็นเหมือนตะกร้าของสินทรัพย์ในสกุลเงินต่าง ๆ เพื่อประกันความเสี่ยงจากการผันผวนของสกุลเงิน
นอกจากนี้กระบวนการส่งรับเงิน Libra ทำงานอยู่บน Libra Blockchain ซึ่งเป็นระบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บและแชร์บนระบบทั้งหมด และมี Smart Contract ที่เขียนโค้ดด้วยภาษา Move ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความปลอดภัยสูง รองรับการให้บริการในระดับ 1 พันล้านคนต่อวัน
นักวิเคราะห์ทางการเงินคาดว่ารายได้หลักของ Libra และ Calibra จะมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้งานและผู้ประกอบการที่ร่วมลงทุนด้วย ในอนาคต Libra อาจจะถูกนำไปใช้กับบริการอื่น ๆ ของเฟซบุ๊ก เช่น การซื้อโฆษณา การ Boots Post ก็เป็นได้
การคิดค้น Libra นับว่าเป็นก้าวใหญ่สำคัญของเฟซบุ๊ก แน่นอนว่าย่อมมีผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบจากนวัตกรรมนี้ ที่เห็นได้ชัดคือเฟซบุ๊กได้ขยายเครือข่ายจากการเป็นแพล็ตฟอร์มโซเชียล สู่ธุรกิจการเงินออนไลน์ระดับโลก โดยมีข้อได้เปรียบจากการมีผู้ใช้งานหลายล้านคน อันนำไปสู่โอกาสการใช้บริการของ Libra ได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การจะเข้าข่ายความเป็น “เงิน” ที่ใช้ได้อย่างแพร่หลายตามวัตถุประสงค์นั้น ลิบร้าจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่ 1) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) 2) เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (store of value) หรือการมีมูลค่าไม่ผันผวน และ 3) มีหน่วยวัดทางบัญชี (unit of account) หรือพูดง่ายๆ คือ มีการคิดราคาสินค้าและบริการเป็นหน่วยสกุลลิบร้าหรือไม่ ดังนั้น คงจะเป็นการด่วนสรุปเกินไป หากจะตัดสินในตอนนี้ว่า ลิบร้ามีหรือไม่มีคุณสมบัติของความเป็นเงินอย่างครบถ้วน เพราะมองไปข้างหน้า ยังคงมีคำถามอีกมากมายที่ลิบร้าต้องตอบและรอการพิสูจน์ในประเด็นดังต่อไปนี้
1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ลิบร้าจะต้องเป็นที่ยอมรับในวงกว้างเพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และจะต้องสามารถใช้ชำระหนี้ได้จริงตามกฎหมาย คำถามสำคัญที่ตามมาคือ ภาครัฐในแต่ละประเทศจะยอมประกาศให้ลิบร้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายหรือไม่? (ล่าสุดเริ่มมีทางการจากหลายประเทศ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เริ่มแสดงท่าทีต่อต้านลิบร้า)
2) การเก็บรักษามูลค่า: ลิบร้าจะต้องมีมูลค่าไม่ผันผวนจนเกินไป จึงจะสามารถเก็บรักษามูลค่าหรือความมั่งคั่ง (wealth) ของผู้ถือลิบร้าได้ ทำให้มีคำถามว่า การมีสินทรัพย์หนุนหลังจะช่วยให้ลิบร้ามีความน่าเชื่อถือและทำให้มูลค่ามั่นคงมากน้อยเพียงใด? หน่วยงานที่กำกับดูแลจะมีการทำงานอย่างรัดกุมแค่ไหน?
3) การเป็นหน่วยวัดมูลค่า: การตั้งราคาสินค้าและบริการจะต้องใช้ลิบร้าเป็นหน่วยวัดมูลค่า เช่น ร้านอาหารพิมพ์เมนูโดยใช้หน่วยลิบร้าเป็นตัววัดมูลค่า (menu cost) คำถามที่ตามมาคือ ลิบร้าจะได้รับความไว้วางใจ (trust) จากร้านค้าและผู้บริโภคมากเพียงพอที่จะนำลิบร้ามาเป็นหน่วยวัดมูลค่าโดยตรงหรือไม่?
ขอบคุณข้อมูลจาก
mgronline.com,
positioningmag.com,
libra.org,
bot.or.th,
blognone.com,
medium.com,
nuuneoi.com,
calibra.com
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_24Jun2019.aspx