มีอะไรในดิน (soils)

ดิน (soils) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่าง ๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบาง ๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบ่งชั้น (horizon) มนุษย์สามารถแบ่งแยกดินออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป การเกิดขึ้นของดินเป็นผลที่มาจากการกระทำร่วมกันของปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อวัตถุต้นกำเนิดของดินในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น “ดิน” ในพื้นที่หนึ่งจึงอาจเหมือนหรือต่างไปจากดินในอีกพื้นที่หนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ที่มีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณพื้นที่ส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว และเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป ดินจะมีลักษณะหรือสมบัติต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน โดยดินยังประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ         1. อนินทรียวัตถุ หรือแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ซึ่งอยู่ในดินเป็นลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่าอนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 มิลลิเมตร) 1.2…

WHO ประกาศภาวะหมดไฟ (Burn-out) ในการทำงาน หรือเรียน

ผู้ที่ดิ้นรนเพื่อรับมือกับความเครียดในที่ทำงาน และไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติของสภาวะทางจิตใจที่เรียกว่า ภาวะหมดไฟ (Burn-out) ในการทำงาน โดยอาการของคนหมดไฟจะรู้สึกเบื่อหน่ายอ่อนล้า ว่างเปล่า ไม่มีใจ และไม่สามารถรับมือกับความต้องการของชีวิตได้ นอกจากนี้ภาวะหมดไฟยังมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่หลากหลาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้ความสามารถของการทำงานในชีวิตประจำวันถดถอยลง

ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) ตอนที่ 3

การแบ่งเซลล์ (CELL pISION) การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ 2 ขบวนการ คือ การแบ่งตัวของนิวเคลียส (KARYOKINESIS) และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม (CYTOPLASM) เมื่อการแบ่งตัว ของนิวเคลียสสิ้นสุด ขบวนการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที

ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) ตอนที่ 2

โครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์ (Cell Structure and Organelles) รูปที่ 1 เเสดงผนังเซลล์พืชซึ่งเป็นสารประเภทเซลลูโลส รูปที่ 2 เเสดงผนังเซลล์แบคทีเรียซึ่งเป็นสารประเภทเปปติโดไกลเคน ผนังเซลล์ (cell wall) – ป้องกันไม่ให้ของเหลวต่าง ๆ ภายในเซลล์ได้รับอันตราย – พบในเซลล์พืช และแบคทีเรีย – องค์ประกอบทางเคมีเป็น เซลลูโลส (cellulose) สำหรับพืช และ เปปติโดไกลเคน (peptidoglycan) สำหรับแบคทีเรีย – เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่จะมี extracellular matrix (ECM) ประกอบด้วย สารพวก glycoproteinsเช่น collagen , proteoglycan complex และ fibronectin รวมทั้งคาร์โบไฮเดรทสายสั้นๆ ฝังอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ รูปที่ 3 เเสดงโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) – ลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ…

ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) ตอนที่ 1

ประเภทของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 1. โปรคาริโอติค เซลล์ (prokaryotic cell) – ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้มสารพันธุกรรม (genetic material) – มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ได้แก่ ไรโบโซม ขนาด 70S ไม่มี Cytoskeleton – เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อยู่เป็นเซลล์เดียว หรือ colony – DNA ไม่มีโปรตีน เป็นแบบวงปิด ประกอบด้วย Structural DNA 1 ชุด Plasmid DNA หลายชุด – ผนังเซลล์ไม่เป็น Peptidoglycan – Asexual Reproduction แบบ Binary fission – ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ในอาณาจักโมเนอรา (K. Monera) Prokaryoteแบ่งเป็น 2 กลุ่ม…

สรุปเนื้อหาชีววิทยา ม.4 เทอม 1 “ชีววิทยาของเซลล์”

ความหมายเซลล์และประวัติการศึกษาเซลล์ ความหมายของเซลล์ เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่หรือกระบวนการต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ซึ่งรูปร่างของเซลล์แต่ละอย่างจะแตกต่างกันมากแต่จะมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน ประวัติของเซลล์ ประมาณ พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) Zaccharias Janssen และ Hans Janssen ในการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับส่องและขยายภาพของสิ่งที่มีขนาดเล็กให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า “กล้องจุลทรรศน์” พ.ศ. 2216 อันตน ฟัน เลเวนฮุก (Anton Van Leeuwenhoek) นักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลันดา ผลงานประดิษฐ์แว่นขยายธรรมดา ให้มีกำลังขยายมากขึ้น และใช้ส่องดูสิ่งต่างๆ เช่นเลืด อสุจิ น้ำจากแหล่งน้ำ พบแบคทีเรีย สาหร่าย โพรโตซัวเป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์เป็นคนแรก โรเบิร์ตฮุค พ.ศ.2208 ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้นตรวจดูชิ้นไม้คอร์คที่ฝานบางๆ พบว่าชิ้นไม้คอร์กประกอบด้วย ช่องขนาดเล็มมากมายเขาจึงตั้งชื่อแต่ละช่องว่าง เรียกว่าเซลล์ (CELL) ชิ้นไม้คอร์ก เป็นเซลล์ที่ตายแล้วเหลืออยู่แต่ผนังเซลล์(cell wall) ที่แข็งแรงประกอบไปด้วยสารพวก เซลลูโลส และ ซูเบอริน ธีออร์ดอร์ ชวานน์(Theodor Schwan)…

เนื้อหาบทเรียนชีววิทยาระดับมัธยมศึกษา (ม.4,ม.5,ม.6)

บทเรียนชีววิทยา ม.4,ม.5 และ ม.6 จัดทำเพื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของนักเรียน และเนื้อหาชีววิทย ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยามัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งระดับชั้นม.4,ม.5 และ ม.6 ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป