ปริมาณสารสัมพันธ์ (Stoichiometry)-สูตรเคมีและสมการเคมี

สูตรเคมีและสมการเคมี จำนวนโมลหาได้จากกฎของเกย์- ลูสแซกและกฎของอาโวกาโดร การหาจำนวนโมลโดยวิธีนี้เป็นการหาจำนวนโมลของสมการเคมี กฎของเกย์- ลูสแซกสรุปว่า “ปริมาตรของก๊าซที่ทำปฏิกิริยากันและที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นอัตราส่วนลงตัวน้อย ๆ ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน”

4 ธาตุใหม่ในตารางธาตุ

ธาตุชนิดใหม่ทั้ง 4 ชนิดที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นทางสหภาพเคมีฯได้ทำการเพิ่มธาตุเหล่านี้เข้าไปอยู่ในตารางลำดับที่ 113, 115, 117 และ 118 ธาตุทั้ง 4 ตามที่ได้กล่าวไปนั้นไม่สามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติแต่อย่างใด ซึ่งมันจะเป็นธาตุที่ได้รับการสังเคาระห์ดังนั้นในเวลานี้ก็เท่ากับว่าเรามีธาตุชนิดใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 4 ชนิดให้ต้องทำการจดจำกันโดยเฉพาะน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาก็คงจะต้องมีการเพิ่มความจดจำกันใหม่อีกนิด

เคมีโครงสร้างอะตอม-การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน

อิเล็กตรอนในอะตอมที่อยู่ ณ ระดับพลังงาน (energy levels หรือ shell) จะมีพลังงานจำนวนหนึ่ง ส้าหรับอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะมีพลังงานน้อยกว่าพวกที่อยู่ไกลออกไป ยิ่งอยู่ไกลมากยิ่งมีพลังงานมากขึ้น โดยกำหนดระดับพลังงานหลักให้เป็น n ซึ่ง n เป็นจ้านวนเต็มคือ 1, 2, … หรือตัวอักษรเรียงกันดังนี้ คือ K, L, M, N, O, P, Q ตามล้าดับ เมื่อ n = 1 จะเป็นระดับพลังงานต่ำสุด หมายความว่า จะต้องใช้พลังงานมากที่สุดที่จะดึงเอาอิเล็กตรอนนั้นออก

อนุภาคมูลฐานของอะตอม

อนุภาคมูลฐานของอะตอม   ทุกอะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญคือ  โปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน  โดยมีโปรตอนกับนิวตรอนอยู่ภายในนิวเคลียส  นิวเคลียสนี้จะครอบครองเนื้อที่ภายในอะตอมเพียงเล็กน้อย  และมีอิเล็กตรอนวิ่งรอบๆนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง  คล้ายกับมีกลุ่มประจุลบปกคลุมอยู่โดยรอบ

ผลที่เกิดจากการผลิตและใช้พอลิเมอร์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

 การประเมินผลกระทบด้านบวกต่อสภาวะแวดล้อมของการนำพลาสติกย่อยสลายได้มาใช้งานทดแทนพลาสติกทั่วไปในบางโอกาส สามารถทำได้โดยการใช้วิธีประเมินวัฏจักรชีวิต (Life cycle assessment) ของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เปรียบเทียบกับพลาสติกทั่วไปที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อประเมินผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ เช่น แหล่งวัตถุดิบ ซึ่งอาจเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ปลูกหรือผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปริมาณการใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิต การใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และการปล่อยแก๊สเรือนกระจก เป็นต้น หากมีการนำพลาสติกย่อยสลายได้มาใช้งาน และมีการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังต่อไปนี้

โมล(Mole)และสูตรเคมี-เคมีคลังความรู้ ม.ปลาย

โมลและสูตรเคมี โมล เป็นหน่วยฐานสำหรับวัดปริมาณสสารในหน่วยเอสไอ เป็นปริมาณที่ไม่มีมิติ หนึ่งโมลคือปริมาณของสสารที่มี Elementary entities อย่างแน่นอนเท่ากับ 6.022 140 76 × 1023

พันธะเคมี (Chemical Bonding) เคมี ม.ปลาย

พันธะเคมี (Chemical Bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือจะปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก หรือพันธะโลหะ ได้ อนึ่ง การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้   กฎออกเตด ( Octet rule ) จากการศึกษาเกี่ยวกับธาตุก๊าซเฉื่อย เช่น He Ne Ar Kr พบว่าเป็นธาตุที่โมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว คือในหนึ่งโมเลกุลของก๊าซเฉื่อยจะมีเพียง 1 อะตอม แสดงว่าเป็นธาตุที่เสถียรมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจที่จะค้นคว้าถึงเหตุผลที่ทำให้ธาตุเฉื่อยมีความเสถียร และจากการศึกษาโครงสร้างอะตอมของธาตุเฉื่อยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนวงนอกสุดเหมือนกัน คือมี 8 อิเล็กตรอน(ยกเว้น He มี 2 อิเล็กตรอน) เช่น      2He = 2      10Ne = 2 , 8      18Ar = 2 , 8 , 8        36Kr = 2 ,…

สารและการจำแนก เคมี ม.ปลาย

สมบัติของสาร เรื่องที่ 1 สมบัติของสาร สาร หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ มีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ตัวอย่างเช่น เงิน (Ag) และเกลือแกง (NaCl) เป็นของแข็ง น้ำ (H2O) และเอธานอล (C2H5O) เป็นของเหลว คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นก๊าซ เป็นต้น สมบัติของสาร สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น

สารละลาย (solution) สารละลายคืออะไร ?เคมี ม.ปลาย

สารละลายคืออะไร ? สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ ตัวทำละลาย : สารที่มีความสามารถในการทำให้สารอื่นๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมี ตัวละลาย : สารที่ถูกตัวทำละลายทำให้ละลาย

บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์ ในปัจจุบัน และขยะวัสดุสังเคราะห์ที่รีไซเคิลได้

บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์ บรรจุภัณฑ์พลาสติก        พลาสติกนับวําเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะในชีวิตประจําวันของผู้บริโภคต้องการความสะดวก รวดเร็ว ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคผู้ประกอบการจึงให้ความสําคัญในการใช้วัสดุพลาสติกมาเป็นภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ มากมาย มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของพลาสติกเป็นสารสังเคราะห์จําพวกโพลิเมอร์ประกอบด้วยสารหลายอย่างโดยใช้กรรมวิธีดัดแปลงให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่ใช้ เช่น กันการซึมของอากาศ น้ำ หรือไขมัน ทนต่อความร้อนหรือเย็น ทนกรดหรือด่าง โดยทั่วไปพลาสติกมีน้ำหนักเบา ไม่นําความร้อน ไม่นําไฟฟ้า ทําให้มีรูปร่างและขนาดต่างๆ ได้