สารและการเปลี่ยนแปลง เคมี ม.ปลาย

สารและการเปลี่ยนแปลง สาร และ สมบัติของสาร         สสาร ( Matter ) หมายถึงสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายในสสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร ( Substance ) สาร ( Substance ) คือ สสารที่ทราบสมบัติ หรือ สสารที่จะศึกษา ดังนั้นจึงเป็นสสารที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีสมบัติของสาร

ปริมาณสัมพันธ์ คลังความรู้ เคมี ม.ปลาย

ปริมาณสารสัมพันธ์  คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบในปฏิกิริยาเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ  

ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี-เคมี ม.ปลาย

ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ประเภทของสารเคมีสารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการกําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้

ความหมายของพันธะเคมี (Chemical compound) เคมี ม.ปลาย

ความหมายของพันธะเคมี พันธะเคมีคือ แรงยึดเหนี่ยวที่อยู่ระหว่างอะตอมซึ่งทำให้อะตอมต่าง ๆ เข้ามาอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลได้ การสร้างพันธะเคมีของอะตอมเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอะตอมต้องการจะปรับตัวให้ตนเองมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 หรือให้ใกล้เคียงกับการครบ 8 ให้มากที่สุด (ตามกฎออกเตต) ดังนั้นจึงต้องอาศัยอะตอมอื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยให้อิเล็กตรอนเข้ามาเสริม หรือเป็นตัวรับเอาอิเล็กตรอนออกไป และจากความพยายามในการปรับตัวของอะตอมเช่นนี้เองที่ทำให้อะตอมมีการสร้างพันธะเคมีกับอะตอมอื่น ๆ

ความแรงของกรดและเบส เคมี -ม.ปลาย

ความแรงของกรดและเบส คู่กรด – เบส คือ สารที่เป็นคู่กรด-เบสกัน H + ต่างกัน 1 ตัว โดยที่ คู่กรดจะมี H + มากกว่าคู่เบส 1 ตัว

ทฤษฏี กรด-เบส ในเรื่อง สารละลายอิเล็กทรอไลต์และนอนอิเล็กทรอไลต์ เคมี ม.5

อิเล็กทรอไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีไอออนเคลื่อนที่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กทรอไลต์นี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3 เป็นต้น โดยในสารละลายดังกล่าวประกอบด้วยไอออน H+ , Cl– , OH– , K+ และ NO3– ตามลำดับ

ติวเนื้อหาเคมี-พอลิเมอร์ ม.ปลาย

พอลิเมอร์ 1 พอลิเมอร์ธรรมชาติ และ พอลิเมอร์สังเคราะห์          พอลิเมอร์  (Polymer)  เป็นสารที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีลักษณะเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่

มาดูว่าแมกมากับลาวา ต่างกันอย่างไร? ในทางวิทยาศาสตร์

เมื่อพูดถึงแมกมานักธรณีวิทยาหมายความถึงหินหลอมเหลวที่อยู่ใต้เปลือกโลกของเรา แต่หากหินร้อนเหล่านั้นไหลออกมาจากเปลือกโลกนั่นคือลาวา

4 ธาตุใหม่เติมเต็มตารางธาตุ

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ’ (IUPAC) ยืนยันการค้นพบ 4 ธาตุสังเคราะห์ใหม่ ได้แก่ 115 , 117 และ 118 ซึ่งค้นพบโดยการค้นพบร่วมของศูนย์วิจัยรัสเซียและสหรัฐฯ รวมถึงธาตุ 113 ซึ่งถูกค้นพบโดยสถาบันวิจัย RIKEN ในญี่ปุ่น พร้อมที่จะบรรจุในตารางธาตุคาบ 7