องค์ประกอบ ของดวงอาทิตย์

ทำความรู้จัก องค์ประกอบ ของดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จนทำให้ก๊าซไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นก๊าซฮีเลียม และแผ่พลังงานออกมาอย่างมหาศาล เป็นความร้อนและแสงสว่าง เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน” พลังงานความร้อน และแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์นี้เอง ที่เอื้อให้เกิดสิ่งมีฃีวิตบนโลกของเรา

กระจกนาฬิกา ( Watch glass )

การใช้งานกระจกนาฬิกา (Watch Glass)-ในการทดลองทางเคมี อุปกรณ์ห้องวิทยาศาสตร์

กระจกนาฬิกา (watch glass) คือชิ้นกระจกเว้าซึ่งใช้วางเพื่อให้ของเหลวระเหย ใช้ใส่ของแข็งเวลาชั่งน้ำหนัก ใช้เป็นที่ปิดบีกเกอร์ และใช้ใส่เพื่อให้ความร้อนแก่สสารจำนวนน้อย ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ การใช้ปิดเพื่อป้องกันฝุ่นหรือสสารอื่น ๆ ไม่ให้เข้าไปในบีกเกอร์ กระจกนาฬิกาไม่ได้ปิดบีกเกอร์อย่างสมบูรณ์ กระจกนาฬิกานั้นใช้สำหรับปิดบีกเกอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อป้องกันสารอื่น ๆ หรือฝุ่นละออง ตกลงไปในสารละลายที่บรรจุอยู่ในบีกเกอร์และใช้เพื่อป้องกันการกระเด็นของสารละลายออกจากบีกเกอร์เมื่อทำการทดลอง เช่น การต้มสาร

Biodiesel

มารู้จักกับน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel)

น้ำมันไบโอดีเซล                  ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีมากขึ้น และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากพืชมีราคาตกต่ำในช่วงที่มีผลผลิตเกินความต้องการของตลาดจึงมีผู้นำน้ำมันมะพร้าวดิบและน้ำมันปาล์มดิบมาผสมกับน้ำมันก๊าดและน้ำมันดีเซลในสัดส่วน ต่าง ๆ กัน แล้วนำออกจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กับรถยนต์และใช้ชื่อว่า “ไบโอดีเซล”

พันธะเคมี (Chemical Bonding)สรุปเรื่องพันธะโลหะ (Metallic Bond)-เคมี ม.ปลาย

พันธะโลหะ (Metallic Bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นภายในอะตอมของธาตุในกลุ่มโลหะ เกิดเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของกลุ่มโลหะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน จากการแบ่งปันอิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน โดยที่อิเล็กตรอนดังกล่าว ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ภายในสสารหรือก้อนโลหะดังกล่าวเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอยู่ตลอดเวลา

โครงสร้างของอะตอม ( Atomic Structure )

โครงสร้างของอะตอม ( Atomic Structure )-เคมี ม.ปลาย

โครงสร้างของอะตอมจะมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางโดยนิวเคลียสจะประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน  โดยนิวเคลียสจะมีประจุเป็นบวก และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบๆนิวเคลียสโดยการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะมีการเคลื่อนในหลายระดับพลังงานและ อิเล็กตรอนยังเคลื่อนที่สลับไปสลับมาระหว่างระดับพลังงานได้ด้วย

ไม่ใช่เรื่องยากถ้าอยากเรียนเก่งวิชาเคมี

ไม่ใช่เรื่องยากถ้าอยากเรียนเก่งวิชาเคมี

วิชาเคมี โดยเฉพาะน้องๆ สายวิทย์ ที่ต้องเรียนกันจนจบ ม.6 เลย ด้วยความยากก็เลยทำให้หลายคนไม่ชอบเรียนวิชานี้ซักเท่าไหร่ พี่มิ้นท์ก็เลยขอเอาเทคนิคดีๆ จากพี่หลายๆ คน ที่อาจจะช่วยให้การเรียนเคมีของน้องๆ เป็นเรื่องเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น…

เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)

สรุปเคมีไฟฟ้า (Electrochemistry) เคมี ม.5

สรุปเนื้อหาเรื่อง ไฟฟ้าเคมี ฟิตโค้งสุดท้ายก่อนสอบ PAT2 เลขออกซิเดชัน เลขออกซิเดชัน ย่อว่า ON.       คือค่าประจุไฟฟ้าที่สมมติขึ้นของไอออนหรืออะตอมของธาตุ โดยคิดจากจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้หรือรับหรือใช้ร่วมกับอะตอมของธาตุตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เลขออกซิเดชันส่วนใหญ่เป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือลบหรือศูนย์

ปริมาณสารสัมพันธ์-เรื่องโมล-เคมีม.ปลาย

ปริมาณสารสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบในปฏิกิริยาเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ระบบเปิดระบบปิด ระบบ ( System) หมายถึง สิ่งซึ่งอยู่ในขอบเขตที่ศึกษา

แรงระหว่างอะตอมหรือ โมเลกุลที่มีผลต่อจุดเดือด

แรงระหว่างอะตอมหรือ โมเลกุลที่มีผลต่อจุดเดือด แผนผังแสดงระดับความแข็งแรงของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมและโมเลกุล

พันธะไฮโดรเจน

พันธะไฮโดรเจน                พันธะไฮโดรเจนคือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสองโมเลกุล ซึ่งแต่ละโมเลกุลนั้นประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (en) สูงมากๆ เช่น F, O และ N ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีประมาณ 3.98, 3.44 และ 3.04 ตามลำดับ เช่น การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างอะตอม ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน