ผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านทาง Social Media ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจ E-Commerce ที่สนับสนุนการให้กับผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น โดยการทำธุรกรรมออนไลน์มีหลายรูปแบบ เช่น พรีออเดอร์ (การสั่งซื้อสินค้าต่างประเทศโดยจ่ายเงินก่อนนัดส่งสินค้า) การซื้อขายตาม Social Media เช่น Facebook , Instagram หรือ Line@ หรือ การทำธุรกรรมอื่น ๆ ทางออนไลน์ ซึ่งกลโกงมักแอบแฝงอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ หากไม่ระวัง ก็อาจตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจจฉาชีพได้ ยกตัวอย่างกลโกงที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้
-
ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วไม่ได้รับสินค้าตามกำหนด
มิจฉาชีพอาจสร้างบัญชีเพจร้านค้าตาม Social Media ต่างๆ เช่น Facebook , Instagram หรือ Line@ อาจมีการโพสรูปสินค้า ทำโปรโมชั่นลดราคาถูกเกินท้องตลาดเพื่อจูงใจ เหยื่อที่ไม่รู้หลงกลและโอนเงิน แต่เมื่อต้องการเลขพัสดุสินค้าก็ไม่มีการติดต่อกลับ หรือเมื่อติดต่อกลับไปไม่มีคนรับสาย ทำให้สูญเงินไปโดยไม่มีโอกาสได้คืน
วิธีสังเกตและวิธีป้องกัน
- สังเกตยอดไลค์แฟนเพจ การรีวิวได้รับสินค้าจากผู้ซื้อต่าง ๆ
- เช็คราคาจากเพจร้านค้าหลาย ๆ ที่ ว่าราคาใกล้เคียงกันหรือไม่
- เช็คชื่อและเลขที่บัญชีผู้ขายจาก Social Media ต่าง ๆ เช่น กระทู้ Pantip หรือ กลุ่มซื้อขายสาธารณะ Facebook ว่าเคยมีผู้โดนโกงหรือไม่
- ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ที่มีชื่อเสียง เพื่อหลีกเลี่ยงการโอนเงินให้กับผู้ขายโดยตรง เช่น Lazada , Shopee เป็นต้น
-
หลอกให้โอนเงินโดยใช้การสวมรอยบัญชีอีเมล หรือ Social Network
มิจฉาชีพจะส่งอีเมล Phishing แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการอีเมล เพื่อหลอกให้กรอกข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เพื่อนำมาสวมรอยเข้าใช้งานในบัญชีอีเมลของเจ้าของบัญชี หลังจากนั้นจะส่งอีเมลไปหาเพื่อนของเจ้าของบัญชีอีเมล เพื่อหลอกให้เพื่อนโอนเงินให้หรือถ้าเจ้าของบัญชี ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันใน Social Media ต่าง ๆ มิจฉาชีพอาจจะนำรหัสผ่านไป Login สวมรอยต่อใน Social Network ได้อีกด้วย
-
แอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กร หน่วยงานราชการ หรือ ชาวต่างชาติจากแอปหาคู่รัก (Romance Scam) ฯลฯ ซึ่งหลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของขวัญมาให้ พร้อมส่งหลักฐานโอนเงินปลอมเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ จากนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากเหยื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ค่าดำเนินการ ค่าภาษีศุลกากร ค่าทนาย โดยจะเรียกเก็บในจำนวนน้อยแล้วเพิ่มจำนวนเงินขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็อาจหมดเงินไปจำนวนมากแล้ว
-
โฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ผ่านโฆษณาเว็บไซต์ กลุ่ม Facebook สาธารณะ หรือส่งอีเมลหาเหยื่อโดยตรง ใช้คำจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บริการกู้นอกระบบ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร เมื่อเหยื่อหลงกลติดต่อไป แก๊งมิจฉาชีพจะส่งสัญญาและขอให้เหยื่อลงลายเซ็น พร้อมโอนเงินชำระค่าทำสัญญา ค่าเอกสาร ค่ามัดจำ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งเหยื่ออาจจะเสียรู้ด้วยความรีบร้อน เมื่อโอนและติดต่อกลับไปเพื่อต้องการเงินกู้กลับไม่สามารถติดต่อผู้ให้กู้อีกได้เลยและสูญเงินไปโดยไม่มีโอกาสได้คืน
-
โดนใช้บัญชีเป็นที่พักเงินจากมิจฉาชีพ
มิจฉาชีพจะประกาศรับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต หลอกเหยื่อว่าเป็นบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงขอให้เหยื่อทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินให้ โดยจ่ายเป็นค่านายหน้า เมื่อมีเงินโอนเข้าบัญชีของเหยื่อ บริษัทจะแจ้งเหยื่อให้หักค่าจ้างไว้ แล้วโอนเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่บริษัทแม่ในต่างประเทศทันทีผ่านบริการโอนเงินที่ไม่ต้องใช้เอกสารแสดงตน โดยที่เหยื่อไม่รู้เลยว่า เงินที่โอนเข้ามาในบัญชีเหยื่อนั้นเป็นเงินผิดกฎหมายที่มิจฉาชีพหลอกให้คนอื่นโอนมาให้ กว่าเหยื่อจะรู้ตัวก็เมื่อพนักงานธนาคารติดต่อเพื่ออายัดบัญชีของเหยื่อหรือถูกตำรวจจับแล้ว
โดยสรุปแล้ว กลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย แบ่งเป็นข้อ ๆ ตามนี้
- ขายสินค้าถูกกว่าท้องตลาดเกินไป
- ล่อลวงให้โอนเงินค่าสินค้าล่วงหน้า โดยไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงพอ
- เมื่อโอนเงินแล้วผู้ขายจะหายตัวไป ปิดช่องทางการติดต่อทุกทาง
- เปลี่ยนชื่อและเบอร์โทรฯ ไม่ซ้ำกัน
- นัดเจอเพื่อรับของก่อนแล้วโอนทีหลัง
- ปลอม SMS จากธนาคารเพื่อหลอกโอนเงิน หรือหลอกว่าให้โอนเงินคืน เพราะโอนเงินเกิน
- อ้างว่า เว็บซื้อขายสินค้า เป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า ให้เหยื่อติดต่อรับเงินจากคืนเว็บไซต์นั้น ๆ เอง
วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น
- เปิดเผยข้อมูลใน Social Network เท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปแอบอ้างใช้ทำธุรกรรม
- ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (password) ในการเข้าใช้บัญชีอีเมลหรือบัญชี Social Network เป็นประจำ
- เมื่อได้รับการติดต่อแจ้งให้โอนเงินให้ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนโอนเงิน หรือติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมศุลกากร โทร. 1164 ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยของหน่วยงานต่างชาติ
- ไม่โลภต่อเงินที่ไม่มีที่มา ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง หรือ ดอกเบี้ยต่ำ ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความเป็นไปได้ในความเป็นจริง
- ตรวจหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลการใช้งาน
- หากต้องการซื้อสินค้าทางออนไลน์ควรซื้อจากเว็บไซต์บัญชีทางการที่สามารถตรวจสอบได้
- ติดตามข่าวสารกลโกงอย่างสม่ำเสมอ
อ้างอิงที่มา:
- https://www.csdpolice.com/6946/
- https://www.facebook.com/csdthai/photos/a.259302661226717/396488087508173/?type=3&theater
- https://www.facebook.com/csdthai/photos/a.259302661226717/398333677323614/?type=3&theater
- https://www.1212occ.com/news/detail/index/itemid/155
- https://www.or.th/th/finfrauds/OnlineCrime/Pages/OnlineCrime.aspx