โครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์ (Cell Structure and Organelles)
รูปที่ 1 เเสดงผนังเซลล์พืชซึ่งเป็นสารประเภทเซลลูโลส
รูปที่ 2 เเสดงผนังเซลล์แบคทีเรียซึ่งเป็นสารประเภทเปปติโดไกลเคน
ผนังเซลล์ (cell wall)
– ป้องกันไม่ให้ของเหลวต่าง ๆ ภายในเซลล์ได้รับอันตราย
– พบในเซลล์พืช และแบคทีเรีย
– องค์ประกอบทางเคมีเป็น เซลลูโลส (cellulose) สำหรับพืช และ เปปติโดไกลเคน (peptidoglycan) สำหรับแบคทีเรีย
– เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่จะมี extracellular matrix (ECM) ประกอบด้วย สารพวก glycoproteinsเช่น collagen , proteoglycan complex และ fibronectin รวมทั้งคาร์โบไฮเดรทสายสั้นๆ ฝังอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์
รูปที่ 3 เเสดงโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)
– ลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ห่อหุ้มทุกสิ่งทุกอย่างภายในเซลล์
– เป็นสารประเภทฟอสโฟไลปิด 2 ชั้น (Phospholipid bilayer) โดยมีองค์ประกอบทางเคมี คือโปรตีน และไขมัน
– ทำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของสารประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ คัดเลือกสารอาหารและสารอื่นที่จะเข้าหรือออกจากเซลล์
ไซโตพลาสซึม (cytoplasm)
– เป็นของเหลวส่วนใหญ่เป็นโปรตีน กรดนิวคลีอิก สารอนินทรีย์
– แหล่งที่ปฏิกริยาทางเคมีเกิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
นิวเคลียส (nucleus)
– มีความสำคัญที่สุดของเซลล์
– เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมได้แก่ DNA
– ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน
รูปที่ 4 เเสดงตำแหน่งของ SER, RER และ nucleus
เอ็นโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER)
– มีลักษณะเรียบ
– อยู่ระหว่าง RER กับเซลล์เมมเบรน ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน
– ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารประเภท steroid ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้าง ฮอร์โมน จึงพบมากใน อัณฑะ รังไข่ ต่อมหมวกไตส่วนนอก
– เกี่ยวข้องกับกำจัดสารพิษจึงพบมากในตับด้วย
เอ็นโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER)
– มีลักษณะขรุขระเพราะมีไรโบโซมมาจับอยู่ที่เมมเบรน
– ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งไปทำงานบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์
– พบในเซลล์สัตว์เท่านั้น
รูปที่ 5 เเสดงโครงสร้างของกอลจิบอดี้
กอลจิบอดี้ (golgi body)
– โครงสร้างประกอบด้วยถุง ( vacuole) หุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ หลายๆถุงเรียงกันภายใน
– ทำหน้าที่เติมคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนที่ได้จาก RER แล้วบรรจุไว้ในรูป vesicle ที่จะกลายไปเป็นไลโซโซม
รูปที่ 6 เเสดงโครงสร้างเเละตำแหน่งของไลโซโซม
ไลโซโซม (lysosome)
– ลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก มีเยื่อหุ้มภายในถุง
– ประกอบด้วย hydrolytic enzymes ที่สามารถย่อยแป้ง ไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิค
– ย่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ (Autophagy) ทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือเชื้อโรค
รูปที่ 7 เเสดงโครงสร้างของไรโบโซม
ไรโบโซม (ribosome)
– มีขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
– พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
– พบในคลอโรพลาสท์และไมโตคอนเดรีย
– ประกอบไปด้วยสารโปรตีนรวมกับ rRNA (ribosomal RNA) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน
เซนตริโอล (centriole)
– ประกอบด้วยไมโครทูบูล (microtubule)
– ทำหน้าที่สร้างเส้นใยสบินเดิล (spindle fiber) ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์โดยการบังคับ
รูปที่ 8 เเสดงโครงสร้างของไมโตคอนเดรีย
ไมโตคอนเดรีย (mitochondria)
– พบเฉพาะในเซลล์ยูคาริโอต
– มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
– ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน DNA RNA และไรโบโซม
– เกี่ยวข้องกับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) โดยผลิตพลังงาน ATP ให้กับเซลล์ และเกิดขึ้นบริเวณ matrix และ inner membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Kreb’s cycle และ Electron transport chain
รูปที่ 9 เเสดงโครงสร้างของเเวคิวโอ
แวคูโอล (vacuole)
– ทำหน้าที่ได้แตกต่างกัน เช่น Food vacuole, Contractile vacuole, Central vacuole หรือ Tonoplast
– พบในเซลล์พืช ภายในจะมี น้ำ, สารอินทรีย์, สารอนินทรีย์ O2และ CO2
แฟลเจลลัม (flagellum)
– พบในแบคทีเรียบางชนิด ยูกลีนา และ อสุจิ
– ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ยืดหดได้ (contractile) ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์
โครงร่างของเซลล์ (Cytoskeleton)
– มีลักษณะเป็นเครือข่ายของเส้นใย ( network of fiber) ภายในเซลล์
– ประกอบไปด้วย microtubules , microfilaments และ intermediate filament ทำหน้าที่ค้ำจุน
– ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์ (Cell motility) และ vesicles-
ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูล https://www.scimath.org