“หากข้อมูลที่เราเข้าไปรักษาในโรงพยาบาล จะสามารถคาดการณ์ หรือจำลองระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ เพื่อหาทางป้องกันรักษา โรคที่เราจะเกิดขึ้นในอนาคตได้” นี่คือตัวอย่างของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ได้เกิดขึ้นกับภาคส่วนต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ การบริการ การเกษตร เป็นต้น เทคโนโลยีนี้ จะช่วยคาดการณ์ หรือทำนาย ภาวะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ระบบดิจิทัล หรือเรียกว่า ดิจิทัลทวิน (Digital Twin) หรือฝาแฝดดิจิทัล นั่นเอง
ภาพประกอบบทความ ฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin)
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/th/ , geralt
Digital Twin เป็นการสร้างสำเนา หรือแบบจำลองที่เหมือนกันปรากฏออกมาเป็นข้อมูล ภาพ รวมไปถึงรวบรวมข้อมูลสถานะ โดยติดตั้ง sensor ไว้ ซึ่งจะเก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยี เช่น Big Data Analytic, IoT, Machine Learning, Cloud, 3D Modeling และ VR/MR โดยนำข้อมูลที่เก็บได้มาวิเคราะห์ มาใช้ในการสร้างแบบจำลอง เพื่อคาดการณ์ประเมินสภาพของสิ่งนั้น Digital Twin จะมีสองส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนของรูปแบบทางกายภาพ (Physical) ซึ่งมีลักษณ์ต่าง ๆ และจับต้องได้ เช่น มนุษย์ เครื่องจักรกล เครื่องบิน ระบบซอฟต์แวร์ เป็นต้น และ ส่วนที่สอง เป็นฝาแฝดดิจิทัลหรือที่เรียกว่า “Digital twin” ที่มีลักษณะเป็นซอฟต์แวร์แบบจำลองของวัตถุทางกายภาพ ที่เป็นระบบดิจิทัล และเพื่อให้มีคุณสมบัติและพฤติกรรมที่เหมือนกันจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลจากสิ่งที่จับต้องได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้าน sensor ระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้การประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ สามารถคาดการณ์ แนวโน้ม ข้อบกพร่อง ข้อดี หรือการปรับปรุงระบบงาน ให้ดีขึ้น
การทำงานของ Digital Twin
ในการพัฒนา Digital Twin ขึ้นมาใช้งานนั้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
- Integrate เป็นการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น sensor ให้กับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการจัดเก็บข้อมูลการทำงานหรือข้อมูลสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อสร้าง Digital Twin
- Connect sensor จะทำหน้าที่เชื่อมต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์จริง และระบบดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อทำการดึงข้อมูลจากอุปกรณ์หรือกระบวนการมาวิเคราะห์ต่อไป
- Analyze นำข้อมูลที่ได้จัดเก็บมาจาก sensor ในจุดต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ สร้างโมเดลเพื่อจำลองการทำงานของ Digital Twin นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เทคนิคMachine Learning ในการทำนายเหตุการณ์ผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
- Leverage องค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำมาใช้พัฒนาในกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่น การสร้างแบบจำลองการผ่าตัดหัวใจที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ด้วยภาพ 3 มิติ ร่างกายและอวัยวะของผู้ป่วย ในรูปแบบดิจิทัล และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อทดสอบค่าต่าง ๆ ทำให้การรักษาและการวิเคราะห์สุขภาพผู้ป่วยในอนาคตได้ การคาดการณ์การทำงานของเครื่องจักรว่าอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนใดจะสึกหรอในอนาคตอันใกล้ เพื่อการเตรียมแผนการสั่งซื้อ เพื่อไม่กระทบกับกระบวนการผลิต ทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของ Digital Twin ในภาคอุตสาหกรรม
การออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อมีข้อมูลของลูกค้าในมือมากเพียงพอการวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลนี้สามารถช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง โดยใช้กระบวนการทำนาย คาดการณ์ ในด้านการออกแบบวัสดุการให้บริการและคุณสมบัติอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าชื่นชอบ จึงจะทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ตรงใจ โดนใจ และสร้างคุณค่าให้กับลูกค้ามากขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ แม้จะมีการออกแบบและวิศวกรรมที่ดีที่สุดอุปสรรคก็สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่ผลิตสินค้า Digital Twin ช่วยในการระบุปัญหาการผลิตต่าง ๆ เช่นข้อผิดพลาดในการทำงานของส่วนประกอบหรือข้อผิดพลาดในขณะที่ประกอบชิ้นส่วนด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลกับ Digital Twin ทำให้สามารถขจัดข้อบกพร่องในการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
บริการผลิตภัณฑ์ ด้วย Digital Twin สามารถให้บริการผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า เพราะจะสามารถคาดการณ์ความล้มเหลวของชิ้นส่วนเครื่องจักร และเริ่มการบริการเชิงรุกเพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ได้วางแผนไว้ และพัฒนาการบริหารที่ดีขึ้น
ลดความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ การจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งที่น่ากังวล ในภาคอุตสาหกรรม แต่ด้วย Digital Twin มีวิธีการลดความเสี่ยงที่เชื่อถือได้ เพราะสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดความเสียให้ได้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรม มีการป้องกัน หรือแก้ไขได้ทันท่วงที ทำให้ Digital Twin เป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
Digital Twin มีประโยชน์อย่างมากด้วยการบูรณาการจากหลากหลายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Big Data Analytic, IoT, Machine Learning, Cloud, 3D Modeling และ VR/MR ที่จะช่วยให้เทคโนโลยีสามารถคาดการณ์ ทำนาย หรือสร้างแบบจำลองได้แม่นยำ เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร อีกทั้งเป็นการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ๆ ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้โดยใจตามพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นต้น จึงนับว่าเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มนุษย์จะสามารถใช้เทคโนโลยีคิด คาดการณ์ พยากรณ์ แทนมนุษย์ได้ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นในโลกปัจจุบัน
แหล่งที่มา
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561, 24 มิถุนายน). Digital Twin เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก https://www.mreport.co.th/news/trend-and-innovation/1806310086
กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร. (2560, 6 กันยายน). แฝดเสมือน : ธุรกิจพอดีคำ. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_52418
ปรเมศวร์ กุมารบุญ. (2561, 7 กรกฎาคม). Digital Twins ฝาแฝดดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก https://www.gotoknow.org/posts/648756
นิตยสารดิจิทัล เอจ. (2561, พฤศจิกายน). Digital Twin เทคโนโลยีสร้างจำลองภาพ 3 มิติ. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก http://www.digitalagemag.com/digital_twin-3d-virtual
วิลาศ สมิทธิฤทธา. (2562, 2 เมษายน). ฝาแฝดดิจิตอล (Digital Twin). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก https://broadcast.nbtc.go.th/bcj/2561/doc/2561_02_3.pdf
Panita Pongpaibool. (2561, 16 ตุลาคม) Digital twin สืบค้นเมื่