อุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ทั้งยังไม่มีทีท่าว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดลง ยิ่งเมื่อได้เห็นถึงการเข้ามาของ AI, Blockchain ไปจนถึง Cryptocurrency ยิ่งทำให้หลายคนกังวลว่าบทบาทของสถาบันการเงินตั้งแต่ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์และผู้ให้บริการทางการเงินอันเป็นโครงสร้างหลักของการเงินในปัจจุบัน
Libra ซึ่งเป็น Cryptocurrency ที่เปิดตัวโดย Facebook แน่นอนว่าเมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คร่ำหวอดในวงการ Fintech คุณสุทธิชัยก็ได้โอกาสชวน Speaker ทั้ง 3 พูดคุยในประเด็นนี้
ทั้ง 3 ท่านเห็นตรงกันว่า ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นกับ Facebook ในช่วงที่ผ่านมาคือเรื่องของ Data Privacy ดังนั้น เมื่อ Facebook ได้ประกาศเปิดตัว Libra มันจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากังวลในฐานะ Cryptocurrency แต่น่ากังวลเพราะมันเป็น Coin ที่มาจาก Facebook เอง Sheel Mohnot ซึ่งเป็นผู้ที่ถือหุ้นของ Facebook อยู่ด้วยมองว่า Facebook มีปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์ในอดีตและสิ่งนี้จะขัดขวางการรับ Libra ไปใช้
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ Facebook เก่งมากเรื่องการ Aqcuire User แต่หลังจากเกิดเรื่อง Data Privacy ทำให้ Facebook ต้องพบกับมาตรการของแต่ละประเทศที่แตกต่างออกไป ยิ่งเป็นเรื่องการเงินแล้ว แม้ว่าบางคนอาจจะยินดีแชร์ข้อมูลบางส่วน แต่คงไม่ใช่ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินแน่นอน ดังนั้น การประสบความสำเร็จของ Libra คงขึ้นอยู่กับว่า Facebook จะกลับมาสร้างความน่าเชื่อถือในส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน
จากการอธิบายของ Neil ระบุว่า Libra เป็น Stable Coin คือเหรียญที่มีการยึดโยงมูลค่าให้คงที่ด้วยเงินสกุลที่ใข้จริง โดย Libra จะรับแลก Coin ด้วยสกุลเงินหลัก หลังจากนั้นก็เก็บเงินสกุลนั้นไว้เพื่อเป็นตัวยึดโยงคุณค่า แนวคิดนี้เป็นการเชื่อมโยง Cryptocurrency เข้ากับสกุลเงินจริง แน่นอนว่าหากเป็นประเทศสามารถทำได้ง่าย เพราะมีกลไกการถือครองสกุลเงินระหว่างประเทศที่ชัดเจน แต่หากผู้ทำแนวคิดนี้เป็นเพียงบริษัทเทคโนโลยีก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม Rishi กล่าวว่า Libra จะส่งผลดีกับ Ecosystem ของ Cryptocurrency เพราะ Facebook ถือเป็น Giant Tech Company สิ่งที่พวกเขาทำจะช่วยผลักดัน Ecosystem
Social Banking จึงเป็นเทรนด์ที่น่ากลัวสำหรับธนาคาร?
เทรนด์ที่น่ากลัวที่สุดของธนาคารแบบเก่าเรียกว่า Social Banking ซึ่ง Social Banking นี่คืออะไร ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างประเทศจีนมีแอปพลิเคชันคล้าย ๆ แอปสีเขียวบ้านเราชื่อว่า WeChat ซึ่ง WeChat ในช่วงเทศกาลตรุษจีน คนจีนเขาไม่ได้มานั่งใส่เอาเงินกระดาษ ใส่ซองแดงแล้วก็ให้กันเหมือนคนไทยอีกต่อไป ที่เมืองจีนเขาโอนสิ่งที่เรียกว่า อั่งเป่าอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน WeChat ปรากฏว่าช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา คนจีนโอนเงินผ่าน WeChat ให้กันถึง 8,000 ล้านดอลลาร์ภายในช่วงไม่กี่วัน ถ้า 8,000 ดอลลาร์เกิดขึ้นที่ไทยระบบล่มแน่นอน รับไม่ไหว เพราะธรรมชาติ ธนาคารไม่ใช่บริษัทที่ยืดหยุ่น เขาเป็นบริษัทการเงินเขาสร้างเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นที่สู้บริษัทเทคโนโลยีไม่ได้ แต่เท่านั้นไม่พอนะครับแอปนี้ยังทำให้ลูกค้าเรียกแท็กซี่ก็ได้ คุยกันก็ได้ ทำได้หมดแล้ว เราเรียกว่า “Super App”
Social Banking จะแซงหน้า Mobile Banking?
ทุกวันนี้เวลาคนไทยโอนเงินผ่าน Mobile Banking รู้ไหมครับว่าค่าเฉลี่ยเวลาจะโอนเงิน 1 ครั้งต้องเข้าออกแอปประมาณ 7 ครั้ง สมมติเวลาจะซื้อขายของออนไลน์ คุยกันผ่านเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม ตกลงกันซื้อเสื้อผ้า มาที่แอปโอนเงิน เช็กชื่อนี้จริงหรือเปล่า นามสกุลนี้จริงหรือเปล่า ไม่แน่ใจ กลับไปดูอีกทีหนึ่งยอดเท่านี้จริงหรือเปล่ากลับไปดูอีกทีหนึง เฉลี่ยนะครับ ต้องเข้าออกประมาณ 7 ครั้ง มันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีในยุคศตวรรษแห่งอินเทอร์เน็ต
3 แอปหลัก ๆ ที่คนใช้กันทั่วโลก คือ Facebook, Instagram, WhatsApp ทั้ง 3 แอปนี้รวมกันคนใช้ทั่วโลกประมาณ 3.3 พันล้านคนประมาณครึ่งโลก และถ้าสมมติเขาออกสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า Libra ออกมาเมื่อไร เขาทำให้คนโอนเงินกันได้ด้วย เขาจะกลายเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของโลกทันทีเลยครับ นี่คือพลังของ Social Banking
Social Banking มีข้อดีอะไรอีกบ้าง?
คนทั่วโลกตอนนี้ประมาณ 2.5 พันล้านคนเข้าไม่ถึงการมีบัญชีธนาคาร เราจะเรียกคนกลุ่มนี้เรียกว่า Unbanks สิ่งที่คนพวกนี้ไม่มี คือ บัญชีธนาคาร ไม่ใช่เพราะเขาขี้เกียจยืนยันตัวตน เขาอยากเปิดบัญชีแทบใจจะขาด แต่ธนาคารเลือกที่จะไม่รับเขาเป็นลูกค้า เพราะธนาคารเป็นบริษัทที่ต้องทำกำไร ค่าใช้จ่ายในการดูแลบัญชีกับคนกลุ่มนี้ มันสูงกว่าคุณค่าที่ธนาคารจะดึง มาจากการเป็นลูกค้าของธนาคารได้ ธนาคารเลยเลือกที่จะบอกว่า “ฉันไม่รับคุณเป็นลูกค้า” เพราะมันไม่ทำกำไร อย่าลืมนะว่าเขาเป็นคนเหมือนพวกเรา มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงบริการด้านการเงิน ทั้งหมดเลยไม่ว่าจะรวยหรือจน
อย่างคนทั่วไปเราบ่นว่ากู้เงินดอกเบี้ยธนาคารคิด 7% ต่อปี แพงมากเลย รู้ไหมครับว่าคนที่ไม่มีบัญชีหรือ Unbanks เวลาเขาไปกู้เงินนอกระบบเขาโดนชาร์ตอยู่ประมาณ 20% ดอกเบี้ยต่อเดือนนะครับ ไม่ใช่ต่อปี เพราะว่าเขากู้ธนาคารไม่ได้ เพราะว่าธนาคารไม่มี Bank Statement ไม่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของคนพวกนี้ได้เลย แต่พอเรามี E-Wallet ต่าง ๆ อย่างบ้านเรามี true money, mPAY เริ่มเข้ามาในปี 2013
อย่าง Facebook ก็ประมาณตัวเองว่ามีคนอีก 1 พันล้านคนที่มีโทรศัพท์มือถือแต่ไม่มีบัญชี เขาก็เลยจะเปลี่ยนมือถือให้เป็นธนาคาร ให้คนโอนเงินได้ผ่าน Facebook Messenger ทำให้คนที่ไม่มีบัญชีสามารถเข้าถึงการบริการทางด้านการเงินได้เหมือนกับพวกเรา นี่คือสิ่งที่เรียกว่า E-Wallet
เดือนตุลาคมล่าสุด บริษัทแอปสีเขียวที่ให้คนเรียกรถแท็กซี่ เขาได้รับใบอนุญาตกับทางธปท.แล้ว ให้ปล่อยกู้ได้เลย เวลาเรียกรถแท็กซี่ เขาจะมีประวัติว่าคนขับคนนี้รายได้เท่าไร รายได้เท่าไร ได้รับเป็นเงินสดต่อวันเท่าไร เขาเรียกว่า Non Traditional Data เป็นฐานข้อมูลที่ธนาคารไม่มี เขาก็สามารถใช้ข้อมูลตรงนี้ปล่อยกู้ได้เองเลยว่าคนขับคนไหนเสี่ยงน้อย คนไหนเสี่ยงมาก คนไหนปล่อยกู้ได้เลย ซึ่งเป็นเครดิตของคนขับรถ ซึ่งคนพวกนี้ เขาไม่สามารถกู้ธนาคารได้ เพราะเขาไม่มีทรัพย์สินค้ำประกัน Bank statement ก็ไม่มีเป็นกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารไม่เคยบริการคนพวกนี้ได้เลย
แหล้งข้อมูล https://techsauce.co/
https://www.beartai.com/article/interview/388303
และ บทสัมภาษณ์ จาก คุณ ท๊อป